srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2567

อำเภอบัวเชด ขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาและ เศรษฐกิจพอเพียง

 












อำเภอบัวเขด ขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ 5 .มกราคม. 6 7 09:00 น ที่ศาลากลางหมู่บ้าน จบก ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชดจังหวัดสุรินทร์

นายสมชาย วงศ์จริยะเกษม นายอำเภอบัวเชด มาเป็นประธาน บันทึกข้อตกลง 7 ภาคีเครือข่าย เรื่อง การขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่

รับผิดชอบในการ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ของประชาชน โดยขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ภายใต้

แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ "ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศ

พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"

อำเภอบัวเขด จังหวัดสุรินทร์ มีภารกิจในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม

ของประชาชน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ รวมทั้งเสริมสร้าง

ความสามารถ และควาพมเข้มแข็งของชุมชน สนับสนุนและพัฒนาระบบสารสนเทศชุมชนให้คนในชุมชนมีงาน มีอาชีพ

มีรายได้ และคุณภาท ชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการบูรณาการความร่วมมือ

จากทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ที่เป็นรูปธรรมและสามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาและ

ความต้องการของประชาชน โดยใช้พื้นที่ตำบลเป็นฐานการพัฒนา ภายใต้กลไกเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ระดับตำบล และกลไก 7 ภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ จึงขอประกาศเจตนารมณ์

ในการขับเคลื่อน ตำบลดาวัง เพื่อพัฒนาให้เป็น "ตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ให้มี

ขีดความสามารถในการบริหารจัดการดำบลสู่ตำบลจัดการตนเองที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ผู้นำ กลุ่ม องค์กร

ภาคีเครือข่าย และประชาชนได้เรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต และ

นำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนตำบลข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความเข้มแข็งใน 3 มิติ คือ

มิติที่ ㆍ ด้านความมั่นคง : ตำบลมีความสามารถในการบริหารจัดการตำบล มีความมั่นคงทางด้านอาหาร

ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคง และอยู่ร่วมกันอย่างรู้รัก สามัคคี เกื้อกูล ประชาชนมีส่วนร่วมตามหลักประชาธิปไดย

มีระบบติดตามแก้ไขปัญหาของตำบล และพมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

มิติที่ _ ด้านความมั่นคั่ง : ตำบสมีการผลิต การจำหน่าย และการบริโภค ที่ใช้ทุนชุมชนในการเสริมสร้าง

เศรษฐกิจชุมชน มีการสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนชุมชนที่มีธรรมาภิบาล

และมีกลุ่มหรือเครือข่ายด้านเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง

มิติที่ 3 ด้านความยั่งยืน : ประชาชนในตำบลน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

จนเป็นวิถี มีสุขภาพที่ดี มีการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะสัมฤทธิ์ ผล

เป็นรูปธรรมจะต้องเติมเต็มในส่วนที่ประชาชนขาด โดยอาศัยกลไกทุกภาคส่วนในการบูรณาการการขับเคลื่อน

ตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการและพัฒนาตนเอง

สู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง คนในชุมขนมีงาน มีอาชีพ มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ด้วยหลักปรัชญาของเศรษกิจพอเพียง จึงขอประกาศให้การขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป็น "วาระอำเภอ" ที่จะต้องดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมและสามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหา

และความต้องการของประชาชน ได้อย่างแท้จริง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น