srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562

งาน "ไหมแท้ที่แม่ทอ"ครั้งที่ 2 ณ.บ้านไหมทองสะเร็น บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์  ในวันที่ 10-12 สิงหาคม 2562                                                                                         นายนิวัติ  น้อยผาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธี โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์  หัวหน้าส่วนราชการ และผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน

   หมู่บ้านท่องเเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านกระทมร่วมกับบ้านไหมทองสะเร็น จัดงาน  "ไหมแท้ที่แม่ทอครั้งที่ 2 " ในระหว่างวันที่ 10-12 สิงหาคม 2562 เนื่องในโอกาส "วันแม่แห่งชาติ"และเพื่อเป็นการเทิดพระเกีรยติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระมารดาแห่งผ้าไหมไทย โดยมีวัตถุประสงค์            เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณของแม่ผู้เป็นชาวนาผู้ถักทอผ้า ตามบทกวีชีไรค์ ไพรรินทร์  ขาวงาม       เพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP     นวัตวิถี บ้านกระทม     เพื่อประชาสัมพันธ์เรื่องราวและความรู้ในด้านต่างๆของผ้าไหมสุรินทร์  เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสำหรับสำหรับคนที่ชื่นชมและชื่นชอบของผ้าไหมสุรินทร์ โดยใช้บ้านไหมทองสะเร็น บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นสถานที่จัดงาน  กิจกรรมในงานประกอบไปด้วย 




                                                                                                                     การประกวดผ้าไหมโบราณผ้าอัมปรม      ประกวดนุ่งผ้าที่สวยงาม   การประกวดแข่งขันมัดหมี่   การแข่งขันสาวไหม  การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิสัมมาชีพ  สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์  กลุ่มไดนามิกสุรินทร์  ชาวบ้านกระทม  และบ้านไหมทองสะเร็น  ศูนย์เรียนรู้วิถีชุมชนคนกับไหม สส.ปกรณ์  มุงเจริญพร  บริษัทโรงโม่หินสุรินทร์เทพศิลา  นายพันธ์เทพ  ฐานุพงศ์ชรัช








                                                                       

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562

กรมประชาสัมพันธ์จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างคู่มือ แนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤตครั้งที่ 5 ในระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2562 ณ.โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเต็ล แอน คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์  จังหวัดขอนแก่น

  ในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 เวลา 14.00-15.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ชี้แจงการประชุมเชิงปฏิบัติการการรับฟังความคิดเห็นฯ และแบ่งกลุ่มรับฟังความคิดเห็นการปฏิบัติงานด้านสื่อสารมวลชนในภาวะวิกฤต                    กรมประชาสัมพันธ์จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤต ครั้งที่ 5 โครงการถอดบทเรียนกรณีถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จริยธรรมของสื่อ ณ.โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเต็ล แอน คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น   
                                                                                               วันที่ 7 สิงหาคม 2562 เวลา 09.00 น.นายชัยวัฒน์  บุญชวลิต  ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ กล่าวรายงาน   นาง ปรีห์กมล  ถนอมศักดิ์ชัย  ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 1 เป็นประธานกล่าวเปิดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤต ครั้งที่ 5 โครงการถอดบทเรียนกรณีถ้ำหลวง-ชุนน้ำนางนอน จริยธรรมของสื่อ ณ.โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเต็ล จ.ขอนแก่น โดยมีนายชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ผู้อำนวยการส่วนข่าวและรายการภูมิภาค  จากกรณีเยาวชนทีมฟุตบอลหมู่ป่าอะคาเดมี่ และผู้ช่วยฝึกสอน รวม 13 คน ได้เข้าไปในบริเวณถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย  จังหวัดเชียงราย และขาดการติดต่อตั้งแต่ วันที่ 23 มิถุนายน จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 เป็นที่สนใจไปทั่วโลก มีทั้งสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามารายงานข่าว และพบปัญหาอุปสรรคต่างๆด้านการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารในภาวะวิกฤต และสื่อสารมวลชน อันเป็นบทเรียนที่มีค่ายิ่ง 
                                                                                                              

                            คณะกรรมการการปฏิรูปประเทศด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและกรมประชาสัมพันธ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแนวทาง ปฏิบัติ  งานด้านการสื่อสารมวลชนในภาวะวิกฤต  จึงได้จัดโครงการถอดบทเรียนกรณีถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จริยธรรมของสื่อ  เพื่อสนับสนุนรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชนฯด้านแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนตลอดจนการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของนักสื่อสารมวลชนซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจ่ายเสียง  กิจการโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ  กสทช. กรมประชาสัมพันธ์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างแนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤต โดยมี นายชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี  ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เป็นประธาน ได้ดำเนินการยกร่างแนวทางการปฏิบัติของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤต  จัดกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มบรรณาธิการและกลุ่มผู้สื่อข่าว จัดทำเป็นร่างคู่มือแนวทางการปฏิบัติของสื่อมวลชน ในภาวะวิกฤต โดยกำหนดจักการประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นร่างคู่มือฯ  จำนวน 6 ครั้ง ณ.กรุงเทพมหานคร  เชียงใหม่ สงขลา  กาญจนบุรี  ขอนแก่น และพิษณุโลก ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นร่างคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤต ครั้งที่ 5 ในวันนี้ประกอบด้วย ผู้แทนสื่อมวลชนและหน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน  ภาคประชาชน จำนวน 160 คน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น  นครราชสีมา ชัยภูมิ  เลย หนองคาย  มหาสารคาม  กาฬสินธ์ุ  สกลนคร  อุดรธานี  หนองบัวลำภู  บึงกาฬ  อุบลราชธานี  ร้อยเอ็ด  ยโสธร  นครพนม  สุรินทร์  ศรีสะเกษ  มุกดาหาร  อำนาจเจริญ  และบุรีรัมย์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในภาวะวิกฤตและสื่อมวลชนในทุกภูมิภาคของประเทศได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงร่างคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤตให้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น         
        

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                         



   

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ทริปตะลอนทัวร์อีสานใต้ เที่ยวสุรินทร์เมืองช้าง เมืองรองต้องไม่พลาด เป็นอีกเมืองหนึ่งที่น่าเที่ยว เพราะมีเรื่องราวกับผ้าไหมที่สวยงามที่สุดในโลกและก็แพงที่สุดเช่นกัน

    หมุดหมายแรกของทริปท่องเที่ยวตะลอนทัวร์อีสานใต้คราวนี้ ตั้งเข็มมุ่งตรงไปที่บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือของตัวจังหวัดประมาณ 10 กิโลเมตร เพื่อไปชมความงามของผ้าไหมสุรินทร์ อันเลื่องชื่อ โดยเฉพาะแหล่งผลิตทอและตัดเย็มชุดฉลองพระองค์ถวายแด่เจ้านายทุกพระองค์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ที่ผ่านมา  การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทเชื้อสายกูย ระบุว่า  ผ้าไหมทุกผืนที่ใช้สำหรับฉลองพระองค์งานพระราชพิธีล้วนทอโดยชาวบ้านจากจังหวัดสุรินทร์ โดยฉลองพระองค์รัชกาลที่ 10 ปักโดยช่างฝีมือหมู่บ้านท่าสว่าง นั้นเป็นแรงบันดาลใจให้เดินทางมาไกลถึงขนาดนี้ ซึ่งคุ้มค่ามากๆกับการได้มาชมความงามของผ้าไหมยกทองชอง กลุ่มทอผ้าจันทร์โสมา ที่มี อ.วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ครูศิลปของแผ่นดินด้านผ้าทอไหมยกทอง เป็นหัวหน้ากลุ่ม

เพิ่มคำอธิบายภาพ

 สำหรับงานทอผ้าไหมที่บ้านท่าสว่างนี้ จะเรียกว่าเป็นอะเมซิ่งไทยแลนด์ก็ว่าได้ เพราะกี่ที่ใช้ทอผ้านั้นไม่ธรรมดาใช้คนทอแต่ละผืนประมาณ 4-5 คน ได้รับการขนานนามในการทอผ้าว่า เป็นแหล่งทอผ้าไหม 1,416 ตะกอ ในการทอผ้าไหมแต่ละผืนทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามลำดับตะกอที่เก็บลายไว้ ผิดไม่ได้แม้แต่เส้นเดียวและต่อวันจะทอได้แค่ 5-7 เซนติเมตรเท่านั้น โดยผ้าผืนที่ยาวขนาด 2 เมตร จะใช้เวลาทอประมาณ 2 เดือน  ส่วนไหมที่นำมาทอนั้น ก็ละเอี่ยดนุ่มนวลย้อมสีธรรมชาติ ด้วยแม่สีสามสี คือ สีแดงจากครั่ง  สีเหลืองจากแก่นแก หรือแก่นขนุน สีครามจากเมล็ดคราม ราคาผ้าไหมถ้าทอแบบ 700-800 ตะกอ ราคาจะอยู่ที่เมตรละ 30,000 บาท ถ้าทอ 1,000 ตะกอขึ้นไป ราคาต่อเมตรอยู่ที่ 150,000-200,000 บาท ซึ่งต้องบอกว่าคนอย่างเราๆสูงเกินเอื้อมที่จะได้ใช้                                       
ออกจากบ้านท่าสว่างดูผ้าไหมเสร็จแล้วที่พลาดไม่ได้คือ หมู่บ้านเครื่องเงินเขวาสินรินทร์ หรือกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินบ้านโชค เป็น  หมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการผลิตลูกประคำที่ทำด้วยเงิน เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านที่เรียกกันว่า ลูกประเกีอม ซึ่งมีลักษณะกลมๆคล้ายลูกประคำของไทย เพียงแต่ลูกประเกือมจะทำมาจากเม็ดเงินมีรูปทรงกลมและมีหลายขนาด เป็นภูมิปัญญาของชาวกัมพูชาที่ตกทอดกันมากว่า 200 ปี ส่วนใหญ่นิยมนำประเกือมมาร้อยเป็นเครื่องประดับ เช่นสร้อยคอ สร้อยข้อมือโดยมีลายหลากหลายรูปแบบ    นอกจากมีผ้าไหม เครื่องเงินแล้วจังหวัดสุรินทรยังมีแหล่งท่องเที่ยวในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีกมากมาย คือวนอุทยานพนมสวายสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ร่องรอยอารยธรรมของชาวขอมโบราณหลอมรวมกลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น  คำว่า"พนมสวาย"เป็นภาษาพื้นเมืองของสุรินทร์มีความหมายว่าภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกที่หนึ่งของสุรินทร์ เขาสวายเป็นภูเขาเตี้ยๆประกอบด้วยเขาสามลูก เขาชายหรือเขาพนมเปราะ มีบันไดก่ออิฐถือปูนยาวเหยียดขึ้นไปถึงด้านบนยอดเขาระหว่างทางขึ้นเป็นบันไดนั้นมีระฆัง 1,080 ใบแขวนอยู่ตลอดสองข้างทางขึ้นภูเขา ส่วนเขาอีกลูกหนึ่งคือ เขาหญิง หรือเขาพนมสรัย เป็นที่ตั้งของวัดพนมศิลารามซึ่งประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคลพระพุทธรูปปางประทานพรประจำเมืองสุรินทร์ สวนยอดเขาดอก หรือเขาพนมรอล เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองซึ่งย้ายมาจากยอดเขาชายบริเวณใก้ลกันมีสถูป สถานที่เก็บอัฐิธาตุพระราชวุฒาจารย์ หรือที่รู้จักในชื่อ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล พระเกจิชื่อดังสายวิปัสสนา                                         
ระฆัง 1,080 ใบ
 ผอ.ททท.สำนักงานสุรินทร์ น.ส.ธมลวรรณ  เจริญวงศ์พิสิฐ  นำพาไปต่อที่ปราสาทศีขรภูมิดูปราสาทขอมโบราณที่มีอายุนับพันปีถ้าใครได้ไปกราบไห้วขอสิ่งใดก็จะสมหวัง จึงมีผู้คนเดินทางมากราบไห้วไม่เคยขาดสาย และ อีกอย่างที่อยากให้ไปขมมาดูกันคือผ้าไหมผ้าผกาโชค หรือดอกบัว ซึ่งเป็นผ้ามัดหมี่ที่มีองค์ปราสาทศีขรภูมิดอกบัวและช้าง ย้อมด้วยสีธรรมชาติจากไม้มงคล 9 ชนิด หมักด้วยโคลนใต้ดอกบัวราคาต่อผืนก็ประมาณ 500,000 บาท ไม่มากสำหรับคนที่มีเงินเหลือครับ