srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2565

งานสืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ

งาน “สืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ” ประจำปี 2565 ได้จัดให้มีขึ้นในระหว่างเทศกาลงานแสดงช้างของทุกปี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ รวมทั้งเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อสร้างจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นหวงแหนและเห็นคุณค่าของโบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยกำหนดจัดกิจกรรม 4 กิจกรรม คือ การแสดงประกอบแสง สี เสียง สืบตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ ขบวนแห่ชาวพื้นเมือง กูย ลาว เขมร และจีน นิทรรศการจำลองวิถีชีวิตชุมชนของชนเผ่า กูย ลาว เขมร และจีน การแสดงพื้นบ้าน และการแสดงดนตรี ชมพิธีบวงสรวงองค์ปราสาทศีขรภูมิ การแสดงจากสถานศึกษา/ชุมชน การจัดนิทรรศการ การจำหน่ายสินค้าของฝากของที่ระลึกและของดีศีขรภูมิ การแสดงดนตรีไทย การแสดงจากสถานศึกษา การจัดแสดงแสง สี เสียง จะมีขึ้นในวันที่ 18-19 พ.ย.2565 เวลา 17.00น. เป็นต้นไป ณ.ปราสาทศีขรภูมิ ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565

พิธีมอบสิ่งของพระราชทาน ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดให้ นายบัญชา เตชะสกุล รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เชิญสิ่งของพระราชทานมอบแก่ผู้ประสบอุทกภัย วันที่ 27 ต.ค 65 ที่ห้องประชุม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงห่วงในความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนจังหวัดสุรินทร์ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยและน้ำไหลหลากจากแม่น้ำมูลเข้าท่วมในอำเภอท่าตูม จึงพระราชทานความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น โดยมีพระดำรัสรับสั่งให้เชิญสิ่งของพระราชทาน ซึ่งประกอบด้วยเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ จำนวน 300 ชุด มอบให้แก่ นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และนายอำเภอท่าตูม เป็นผู้แทนในการรับมอบ เพื่อนำไปส่งต่อให้กับผู้ประสบอุทุกภัยในพื้นที่ต่างๆ ของอำเภอท่าตูม นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ รายงานสรุปสถานการณ์อุทกภัยของ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์อุทกภัย น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมขังในพื้นที่นับตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2564 เป็นต้นมา ทำให้มีพื้นที่ประสบภัยอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 7 ตำบล 72 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,963 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกข้าว 128,700 ไร่ ซึ่งทางจังหวัด อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ และภาคเอกชน ได้เข้าไปดำเนินการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ และให้ความช่วยเหลือตามระเบียบของทางราชการ นายบัญชา เตชะสกุล รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ผู้แทนพระองค์ กล่าวว่า ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงห่วงใยถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่วันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา จึงโปรดให้กระผม และคณะเชิญสิ่งของพระราชทาน จำนวน 300 ชุด ประกอบด้วย เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และทรงห่วงใยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงมีพระเมตตาพระราชทานวัคซีนซิโนฟาร์ม โดยโปรดให้หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โรงพยาบาลท่าตูม ออกหน่วยให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มพระราชทานแก่ประชาชนในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ กลุ่มพระสงฆ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส จำนวน 285 คน ในพื้นที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ให้สามารถเข้าถึงวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้นกันโดยเร็ว เพื่อป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามพระประสงค์ขององค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงมุ่งหวังให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งจากสถานการณ์อุทกภัยและจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้มีขวัญและกำลังใจ ให้สามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างเข้มแข็งต่อไป

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

มหัศจรรย์งานช้างจังหวัดสุรินทร์ประจำปี 2565

มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ปี 2565 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 20 พฤศจิกายน 2565 17 พฤศจิกายน 2565 ซ้อมใหญ่การแสดงช้าง ณ สนามแสดงช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 18 พฤศจิกายน 2565 โต๊ะจีนช้าง (งานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง) ณ อนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภัคดีศรีณรงค์จางวาง 19 - 20 พฤศจิกายน 2565 งานแสดงช้าง ณ. สนามแสดงช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กลางวัน มีบูธจำหน่ายสินค้านานาชนิด ให้ประชาชนได้รับเลือกซื้อหากันได้ตลอดงาน ในช่วงกลางคืนมีการแสดงดนตรีให้ชมตลอดคืน @ อย่าลืมเที่ยวงานช้างสุรินทร์ วันที่ 9-20 พฤศจิกายน 2565 นี้ ##

กฐิน สามัคคี ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด

กฐินสามัคคี 4 หมู่บ้าน วันที่ 23 ตุลาคม 65 ณบ้านสะพาน หมู่ 6 ตำบลจรัสอำเภอ บัวเชดจังหวัดสุรินทร์ นำโดยผู้ใหญ่ จันทร์สมี สมทอง ผู้ใหญ่บ้านสะพาน หมู่ 6 ผู้ใหญ่หมู่ 1 ผู้ใหญ่หมู่ 2 ผู้ใหญ่หมู่ 8 พร้อมด้วยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแพทย์สารวัตรกำนัน คณะกรรมการหมู่บ้านและส่วนราชการ เพื่อ บูรณะปฏิสังขรณ์ พระอุโบสถ ณ.วัดจรัสสามัคคีธรรม โดยชุมชน 4 หมู่บ้านร่วมกันทุกปีหมุนเวียน เปลี่ยน ไปจนครบ เพื่อ สร้าง ความสามัคคีในชุมชน ด้วยกันเอง ให้เกิดความรักความสุขความร่วมมือในชุมชนเพื่อสืบสาน ประเพณีดีๆ ให้แก่ลูกหลานได้ยึดถือปฏิบัติสืบไป ให้ประชาชน พาลูกจูงหลานเข้าวัด ให้รู้จักลดละเลิกสิ่งเสพติด ที่ผิดกฎหมาย โดยมีการแสดงนางรำ และ มีนางรำ รุ่นจิ๋ว รำหน้ากองกฐิน สร้างความสุขให้กับพี่น้อง 4 ชุมชนในตำบลจรัสเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมและลูกหลานต่อไป กฐินปีนี้มี ยอดรวมที่ประชาชนร่วมทำบุญทั้งหมด (283,339) บาท สาธุ สาธุ ขอให้ทุกท่านที่ร่วมทำบุญกฐินในครั้งนี้มีสุขภาพแข็งแรง คิดทำสิ่งใดก็ให้สำเร็จ สมความปรารถนา ทุกประการ

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565

หมาก !!! เป็นพืชที่สร้างรายได้มาแรงปลูกครั้งเดียวเก็บขายได้นาน 30 ปี

หมาก !!! พืชสร้างรายได้มาแรง ปลูกครั้งเดียวเก็บขายได้นาน 30 ปี ตลาดต่างประเทศต้องการสูง “หมาก” พืชสร้างรายได้มาแรง ปลูกครั้งเดียวเก็บขายได้นาน 30 ปี ตลาดต่างประเทศต้องการสูง ในช่วงหลายเดือนหลังมานี้ หลายท่านคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับราคาของหมากพุ่งสูงแข่งกับราคาน้ำมันกันแล้ว นั่นก็มีสาเหตุมาจากตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการสูงอย่าง อินเดีย จีน เมียนมา ดูไบ เวียดนาม แห่บินมาซื้อทั้งหมากสด-แห้ง ในภาคใต้และตะวันออกและภาคอีสาน ส่งผลให้ราคาหมากพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าหากท่านใดสนใจอยากปลูกหมากเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องศึกษาการตลาดในพื้นที่ของตนเอง และวิธีเทคนิคการปลูกให้ดีก่อน นายไพรยวน พันธุ์ศรีดาหรือ พี่ยวน นายไพรยวน  อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 13 หมู่ที่ 19 ตำบลบัวโคก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เกษตรกรผู้ ยึดอาชีพปลูกหมากมานานตั้งแต่ปี 41 พร้อมกับทำสวนกล้วยควบคู่กันไป เล่าถึงสถานการณ์หมาก ตลอดระยะที่ทำมาถือว่าการตลาดและราคาดีขึ้นเรื่อยๆ จากตอนที่เริ่มปลูกใหม่ๆ ขายหมากแห้งได้ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท และในเวลาต่อมามีการขยับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปลายปีที่ผ่านมาราคาหมากดีดสูงขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 70-100 บาท สามารถสร้างรายได้ถึงหลักล้านต่อปี การปลูกระยะแถว 2 เมตร กลาง 3 เมตร พี่ยวน เล่าถึงจุดเริ่มต้นการปลูกหมากสร้างรายได้ว่า เนื่องจากหมากเป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย เหมาะปลูกในพื้นที่ได้ทุกภาคที่มีสภาพอากาศชื้นสูง ไม่ต้องฉีดยาบำรุงอะไรมาก และด้วยความที่เป็นพืชที่ปลูกกันมายาวนาน การตลาดจึงหาได้ไม่ยาก มีพ่อค้ารับซื้อประจำถึงสวนเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ หรือพ่อค้าจากต่างประเทศก็บินมาซื้อกันถึงที่สวน ทำให้ตนเองตัดสินใจที่จะปลูกหมากเป็นอาชีพ โดยสายพันธุ์ที่เลือกปลูกคือ หมากพันธุ์เกษตรชุมพร ต้นสูง มีจุดเด่นที่ลูกดก เปลือกบาง เนื้อหนา เหมาะกับการทำหมากแห้ง ได้น้ำหนักดี 4 ปีให้ผลผลิต ปลูกครั้งเดียวเก็บได้นาน 30 ปี หากมีการดูแลจัดการสวนที่ดี ผลผลิตเก็บได้นานถึง 40 ปี ปัจจุบันปลูกอยู่จำนวน 2 ไร่ ปลูกหมากในระยะ 2×3 เมตร ต้นปีหน้าจะปลูกอีก 3 ไร่ “ถ้าหากพูดถึงสายพันธุ์หมากบางคนชอบปลูกหมากเตี้ย บางคนชอบหมากตูดแหลมเพื่อการส่งออกขายไปต่างประเทศ แต่หมากพันธุ์เกษตรชุมพร ต้นสูง ที่สวนพี่ปลูกลักษณะลูกจะคล้ายไข่ไก่ เมื่อผ่าออกมาแล้วจะเห็นได้ชัดว่าเปลือกจะบาง เนื้อเยอะ ทำขายแห้ง โดยการเก็บหมากสุกจากต้น แล้วนำไปตาก และอบทำเป็นหมากแห้งขาย” ผลผลิตบำรุงปุ๋ยดี ออก 6-8 ทะลาย เทคนิคการปลูกหมาก สร้างรายได้ เจ้าของสวนบอกว่า ควรปลูกดินที่มีการระบายน้ำได้ดี ร่วนซุย หมากเป็นพืชที่เหมาะปลูกในสภาพพื้นดินร่วนปนทราย หรือเป็นพื้นที่ดินเหนียวก็ได้แต่น้ำต้องไม่ขัง ปลูกแบบไม่ต้องยกร่อง ในระยะห่างระหว่างต้นที่เหมาะสม คือ 2×2, 2×3 เมตร รากหมากได้เดินหาอาหารเต็มที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 250 ต้น แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่ถ้าหากปลูกในระยะถี่เกินไป จะทำให้เกิดการแย่งอาหารกัน รากจะแน่นเกินไป ส่งผลทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ ได้ผลผลิตน้อย เปลือกบาง เนื้อหนา โดยวิธีการปลูกของที่สวนจะนำหมากสุกมาเพาะพันธุ์เอง ใช้เวลาในการเพาะประมาณ 3 เดือน ถึงจะย้ายกล้าลงหลุมปลูกได้ ในการปลูกจะต้องขุดหลุม กว้าง คูณ ลึก 30 เซนติเมตร หมากเป็นพืชที่ทนแล้ง และถ้ารดน้ำ ให้ปุ๋ยตลอด ผลผลิตจะออกตลอดทั้งปี และการปลูกควรปลูกในช่วงหน้าฝน เพราะว่ารากจะได้จับดิน ช่วยทนแล้งด้วย การดูแลรดน้ำ-ใส่ปุ๋ย เมื่อปลูกไปได้สักระยะหนึ่งให้ทำการตัดหญ้าทำความสะอาดภายในสวน รดน้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ 2-3 วันครั้ง หากเป็นช่วงฤดูฝนก็จะงดการให้น้ำไปก่อน ส่วนการใส่ปุ๋ยตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปูนขาวป้องกันเชื้อรา โดโลไมท์ลดการเป็นกรด ป้องกันดินเปรี้ยว ทำให้ดินร่วน เก็บผลหมากคัดผล เพื่อขยายพันธุ์ต่อได้ จากนั้นรดน้ำดูแลเรื่อยๆ จนได้ระยะเวลา 3 เดือน เริ่มใส่ปุ๋ยครั้งแรก โดยปุ๋ยที่ใส่จะเป็น 1. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์ จะช่วยปรับสภาพให้ดินร่วน 2. ให้ปุ๋ยเคมี ใส่ 16-16-16 อัตราครึ่งกิโลกรัมต่อต้น ช่วยบำรุงต้น ขยายผล และใส่ปุ๋ยคอก ต้นละ 1 กิโลกรัม 3. ในระยะสร้างดอก ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 9-24-24 และตอนติดผลแล้วจะใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ปริมาณ 3 กำมือต่อต้น เพื่อบำรุงผลผลิตให้พร้อมเก็บเกี่ยว โดยการโรยปุ๋ยที่บริเวณรอบๆ โคนต้น และขั้นตอนหลังจากเก็บผลผลิตแล้ว จะใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์บำรุงสลับกันไปเรื่อยๆ หมากที่เพิ่งเก็บสด เพื่อมาตากทำแห้ง การเก็บเกี่ยวผลผลิต หมาก โดยทั่วไปหมากต้นหนึ่งจะออกผลเพียงปีละครั้ง แต่ถ้าหากมีการดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ผลผลิตจะออกมาให้เก็บได้ตลอดทั้งปี อย่างของที่สวน หมากจะออกผลให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่การขายจะเก็บเป็นหมากแห้งส่งขายปีละครั้ง เฉลี่ยผลผลิตต่อปีต่อต้น อยู่ที่ประมาณ 30 กิโลกรัม เป็นอย่างน้อย ที่ผ่าหมาก สำหรับผ่าหมากแห้ง “โดยขั้นตอนการทำหมากแห้งส่งออก เริ่มต้นที่การเก็บหมากสุกที่มีสีผลออกส้มแดง แล้วนำไปตากแดดไว้ที่ลานตากประมาณ 10 แดด ลูกก็จะแห้ง แล้วนำเอามาเก็บไว้ในร่มถ้าเรายังไม่ทำแห้ง แต่ถ้าเราจะทำก็จะมีเครื่องหีบผ่าซีก พอผ่าซีกเสร็จแล้วก็นำไปตากแดดอีก 3-4 แดด พอให้หน้าสวย แล้วนำไปใส่เครื่องอบแห้งอีกครั้ง จากนั้นเอาไปเก็บใส่กระสอบสามารถเก็บได้เป็นปี เราก็จะทำสะสมแบบนี้ไปเรื่อยๆ พอช่วงไหนราคาดีเราก็นำออกไปขาย หมากที่ตากแห้งแล้ว ตลาดหมากเติบโตได้ดี ต่างประเทศต้องการต่อเนื่อง พี่ยวน บอกว่า การตลาดของหมากในพื้นที่ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าห่วง เพราะคนในพื้นที่สวนใหญ่จะมีพ่อค้าประจำเข้ามารับซื้อถึงสวนอยู่แล้ว ยิ่งในช่วงระยะหลายปีหลังมานี้ต่างประเทศมีความต้องการหมากไทยสูง ส่งผลทำให้ราคาดีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นหมากสด หมากแห้ง ก็ส่งออกได้ทั้งหมด โดยส่วนมากหมากจะส่งไปประเทศอินเดียและพม่าเป็นหลัก โดยการขนส่งทางเรือ และหมากภาคกลางจะมีตลาดส่งไปที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งหมากของแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันออกไป หมากทางใต้หน้าจะขาว เป็นที่ต้องการของคนอินเดีย นำไปแปรรูปเป็นอีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ หมากแห้ง พร้อมเก็บเข้ากระสอบ สำหรับรายได้ของที่สวนคิดราคาเฉลี่ยต่อปีต่อไร่ กิโลกรัมละ 50 บาท จะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 50,000-60,000 บาท ต่อไร่ เมื่อหักลบต้นทุนไปแล้วกำไรยังเหลือเกินครึ่ง เนื่องจากการปลูกหมากไม่ยุ่งยาก จัดการดูแลง่าย มีเพียงค่าปุ๋ยและค่าจัดการกำจัดวัชพืช ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพหลักที่สร้างรายได้ดี พร้อมกับทำสวนกล้วยเป็นอาชีพเสริมควบคู่กันไปอยู่ได้สบายๆ

พิธีทอดกฐินสามัคคี ยกเสาเอก เสาโท สมทบทุนสร้างอุโบสถ ตามแบบพระราชทาน

พิธีทอดกฐินสามัคคี ยกเสาเอก เสาโท สมทบทุนสร้างอุโบสถ ตามแบบพระราชทาน ณ.วัดศิริสัจจัง บ้านสัจจัง ตำบลหนองบัว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 23 ตุลาคม 2565 วันปิยมหาราช ในงานมีพิธีแห่กฐินบนหลังช้าง 16 เชือก มีพระพรหมวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดศาลาลอย อำเภอเมืองสุรินทร์ ประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ คุณแม่มณฑา สิริโรจนากร ประธานทอดกฐินฝ่ายฆราวาส พิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุ ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 23 ตุลาคม ประธานในพิธี และผู้มีเกียรติทุกท่าน ร่วมพิธีเทเสาฐานบารมีเศรษฐีอุโบสถ ตามแบบพระราชทาน พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จากนั้นเป็นพิธีทอดกฐิน มี นายกิตติ สัตย์ซื่อ นายอำเภอศีขรภูมิ และคุณแม่มณฑา สิริโรจนากร เป็นประธานทอดถวายผ้าพระกฐิน และคณะกฐินถวายเครื่องบริวารกฐินและเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์สวดอปโลกน กรรม เสร็จพิธี