srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

พิธีเชิญสิ่งของพระราชทานมอบแก่ประชาชนผู้ประสบอัคคีภัย ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ





มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยนายสันทัด  แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานในพิธีเชิญสิงของพระราชทานมอบแก่ประชาชนผู้ประสบอัคคีภัย ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ

  วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 น ณ.บริเวณบ้านเลขที่ 140(นางชรินทร สนิทพันธ์) หมู่ที่ 7 บ้านโนนแดง  ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์

  ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ท่าน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติต่างๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญสิ่งของพระราชทานมามอบให้ประชาชน ที่ประสบอัคคีภัยในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ เพื่อบรรเทาทุกข์ความเดือดร้อนและเป็นกำลังใจให้สามารถผ่านช่วงวิกฤตการณ์นี้ไปได้ด้วยดีในวันนี้

      มูลนิธิราชประชานุเคราะห์นั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มาหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506 จากเหตุการณ์มหาวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปีพ.ศ. 2505 เพื่อดำเนินงานด้านการส่งเคราะห์ ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ทั่วประเทศ รวมถึงสงเคราะห์ด้านการศึกษา ด้วยการมอบทุนการศึกษา แก่เด็กกำพร้าที่ครอบครัวประสบสาธารณภัย และเด็กที่เรียนดีในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ มูลนิธิรัฐประชานุเคราะห์ ได้ยึดถือพระราชดำริมาปฏิบัติเป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว ดังพระบรมราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มาหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงวางรากฐานการดำเนินงานของมูลนิธิไว้ และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่ ที่จะสืบสานรักษา ต่อยอด ในการดำเนินงานของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบสาธารณภัยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยทรงห่วงใยอาณาประชาราษฎร์เป็นสิ่งสำคัญ

   ในวันนี้ นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดสุรินทร์ ได้มอบหมายให้นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เชิญสิ่งของพระราชทาน เพื่อมอบให้แก่ผู้ประสบอัคคีภัยครอบครัวของ นางชรินทร  สนิทพันธ์  ซึ่งได้เกิดอัคคีภัย เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2567 ตามที่นายอำเภอศีขรภูมิได้รายงานสถานการณ์แล้ว จำนวน 1 ครอบครัว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบของอัคคีภัย และสร้างขวัญและกำลังใจ ในการต่อสู้ฝ่าฟันให้พ้นวิกฤตภัยครั้งนี้ไปได้ด้วยดี  ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้














วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567

โครงการพัฒนาระบบการบำบัดรักษาพื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและติดตามผู้ยาเสพติด ส่งเสริมป้องกันผู้เสพรายใหม่ ของอำเภอศีขรภูมิ










โครงการพัฒนาระบบ การบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และติดตามผู้เสพยาเสพติด ส่งเสริมป้องกัน นักเสพหน้าใหม่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 ในกลุ่มผู้นำชุมชน

วันที่ 30 เมษายน 2567 ณ.หอประชุมอำเภอศีขรภูมิ

จังหวัดสุรินทร์

โดยมีนายวัลลภ อินทร์สะอาด ปลัดฝ่ายความมั่นคงกล่าวต้อนรับเปิดงาน และมีนางวัลยา  ยางงาม ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอศีขรภูมิ นางชัญวลัย มงคลเคหา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ศีขรภูมิ และ ด.ต.มานัส ราษี ผบ.หมู่(ป)สภ.ศีขรภูมื กล่าวรายงาน มี  พ.ต.ต.เสมอ คำนึงคง

สวป(ชส)สภ.ศีขรภูมิ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ  ปิดการอบรมโครงการโดยนายพิศาล เคล้ากล้า นายอำเภอศีขรภูมิ

การบรรยายให้ความรู้เรื่องสมรรถภาพด้านการบำบัดรักษาพื้นฟูสมรรถภาพและผู้เสพติด ส่งเสริมป้องกันนักเสพหน้าใหม่ลดอัตรายจากยาเสพติดในชุมชน แนวทางแก้ปัญหา โดยแพทย์หญิงนันทิดา  ทองอ้ม

แพทย์ชำนาญการพิเศษด้านเวชกรรมป้องกันชุมชนสุขภาพจิตชุมชน

ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่แพร่ระบาดอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาความไม่มั่นคงในประเทศ ทั้งในด้านอาชญากรรม เศรษฐกิจและสังคมต่างๆ มากมาย ซึ่งบั่นทอนความสามารถในการพัฒนาประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้ โดยปัญหายาเสพติดในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกไร้พรมแดนได้มีการปรับเปลี่ยนไปทั้งในลักษณะประเภทของยาเสพติด กลุ่มเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติด และความสามารถในการเข้าถึงยาเสพติดได้โดยง่ายทั้งในฐานะผู้ค้าและผู้เสพ ซึ่งทำให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดทำได้ยากลำบากมากขึ้น  สภาพปัญหา ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติด 

  ผลที่คาดหวัง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบำบัดรักษา ติดตามและให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดและป้องกันไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ คืนคนดีสู่สังคม เพื่อให้ครอบครัว ชุมชนมีความสุขปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดจึงจัดทำโครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อเป็นกระบวนการหนึ่งในการขับเคลื่อนศักยภาพเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567

มหกรรมวันกูยโลก ประจำปี 2567

 






พิธีเปิดงานมหกรรมวันกูยโลก ปี 2567.                         วันที่ 28 เมษายน 2567 ณ.สนามที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

  โดยมี นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงาน มีนายสุพัฒน์ โพธิสาร นายกสมาคมชาติพันธุ์กูย กล่าวรายงาน และตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ กูย ชุมชนชาวกูยทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสมาคมกลุ่มชาติพันธุ์กูยให้การต้อนรับ

 การจัดงาน "มหกรรมวันกูยโลก ปี 2567" ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2567 การสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์กูย เป็นการส่งเสริมฟื้นฟู เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ อันดีงามของพื้นถิ่น เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของสังคม ตลอดจนเศรษฐกิจชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลชุมชนชาวกูย ในประเทศไทย ของสมาคมชาติพันธุ์กูย พบว่าชุมชนชาวกูยที่เข้มแข็ง และยังคงสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามมีจำนวน 13 จังหวัด กระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ จำนวน 69 อำเภอ คิดเป็นตำบล 191 ตำบลหรือ 978 หมู่บ้าน โดยชุมชนชาวกูย ที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เข้มแข็งมีแนวโน้มลดลงถึงขั้นวิกฤตและในปัจจุบันยังพบพี่น้อง ที่มีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกัน อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และประเทศเวียดนาม ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันเช่น กูย กวย  สวย กูยชูย กูยเญอ กูยบรู เขมรป่าดง เขมรโบราณ ข่าโทร่ส่วย เป็นต้น จากการเปลี่ยนแปลงการเมือง การปกครอง และสังคมเศรษฐกิจ ส่งภวะกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดความสูญเสีย เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ดีงาม ซึ่งในบางชุมชนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ถึงขั้นวิกฤต และคนรุ่นใหม่ๆ ไม่สามารถพูดภาษาชาติพันธุ์ตนเองได้ทางสมาคมจึงเล็งเห็นถึงปัญหาและวิกฤตที่เกิดขึ้นจึงได้ดำเนินการจัดงาน มหกรรมวันกูยโลกขึ้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ได้ตระหนักและช่วยกันส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟู ให้วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย คงอยู่สืบไป และในการจัดงานมหกรรมมันกูยโลกในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1  เพื่อส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์ประเพณีวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กูย ให้มีความเข้มแข็งและมีบทบาทด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีสุรินทร์ต่อไป

2.  เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเชิงวิชาการของกลุ่มชาติพันธุ์กูย สู่การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

 การจัดงานในครั้งนี้มีหน่วยงานร่วมบูธการได้แก่

1. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ สนับสนุนงบประมาณ ส่วนหนึ่งในการจัดขบวนแห่และการจัด ทำเกียรติบัตรมอบให้ผู้สนับสนุน กิจกรรม ครั้งนี้

2.  สภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์

3.  วัดศาลาเย็น

 นายสันทัด แสงทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์กล่าวว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ในประเทศไทยมีความหลากหลายและมีวัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่นเป็นของตนเอง โดยเฉพาะ กลุ่มชาติพันธุ์กูยหรือกวย ที่มีพื้นที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัฒนธรรมประเพณีที่ควรค่าในการส่งเสริม สนับสนุนต่อยอดสร้างมูลค่าในทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวและมีอัตลักษณ์โดดเด่นด้านภาษาการแต่งกายและคชศาสตร์ชาวกูย ที่เป็นอัตลักษณ์ เฉพาะของหมอช้างและคนเลี้ยงช้างของจังหวัดสุรินทร์ หนึ่งเดียวใน

ลก คนกับช้างอาศัยอยู่ด้วยกันเหมือน พี่น้องครอบครัวเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ควรค่าในการสืบทอดอนุรักษ์ให้อยู่คู่ลูกหลานตลอดไป นอกจากนี้มีการพัฒนาฐานข้อมูลเชิงวิชาการของกลุ่มชาติพันธุ์กูย สู่การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานในครั้งนี้ จะทำให้เกิดความร่วมมือเกิดการประสานสัมพันธ์ในกลุ่มชาติพันธุ์กูยด้วยกันและเป็นแนวทางส่งเสริมสนับสนุนด้านการท่องเที่ยววิถีสุรินทร์ต่อไป





















วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

กฏข้อห้ามผู้สมัครชิงเก้าอี้ สว. มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้

 




ข้อห้ามผู้สมัครชิงเก้าอี้ สว.มีผลบังคับแล้ววันนี้

กฏระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการ

เลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 กางข้อห้าม ผู้สมัครชิงเก้าอี้ สว. พึงระวังทำผิดกฎหมาย


สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกเอกสารแจ้งเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ย้ำเตือนถึงการบังคับใช้ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2567 เป็นต้นไป


โดยประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ศึกษาและทำความเข้าใจ ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และพึงระมัดระวังในการดำเนินการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกำหนด ซึ่งหากพบว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิด กกต.จะดำเนินการตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดต่อไป


ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 มีรายละเอียดข้อห้ามที่ประสงค์จะลงสมัคร สว. ต้องพึงระมัดระวัง ดังนี้


กรณีใช้เอกสารแนะนำตัวผู้สมัคร 


เอกสารต้องมีขนาดไม่เกิน A4 หรือขนาด 210 มิลลิเมตร X 297 มิลลิเมตร ระบุข้อความเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ใส่รูปถ่ายของผู้สมัคร ประวัติการศึกษา และประวัติการทำงาน หรือประสบการณ์ในการทำงานในกลุ่มที่สมัครเท่านั้น ไม่เกิน 2 หน้า และการแจกเอกสารแนะนำตัวจะกระทำในสถานที่เลือกไม่ได้ 


กรณีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์


ผู้สมัครสามารถแนะนำตัวด้วยตนเองด้วยข้อความเดียวกันกับกรณีใช้เอกสาร และเผยแพร่แก่ผู้สมัครอื่นในการเลือกเท่านั้น  ส่วนการมีผู้ช่วยเหลือผู้สมัครนั้น ให้ผู้สมัครแจ้งชื่อผู้ช่วยเหลือผู้สมัครหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร เป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดก่อนวันดำเนินการ ยกเว้น สามี ภรรยา หรือ บุตร 


สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกเอกสารแจ้งเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ย้ำเตือนถึงการบังคับใช้ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2567 เป็นต้นไป


โดยประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ศึกษาและทำความเข้าใจ ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และพึงระมัดระวังในการดำเนินการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกำหนด ซึ่งหากพบว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิด กกต.จะดำเนินการตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดต่อไป

ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 มีรายละเอียดข้อห้ามที่ประสงค์จะลงสมัคร สว. ต้องพึงระมัดระวัง ดังนี้


กรณีใช้เอกสารแนะนำตัวผู้สมัคร 

เอกสารต้องมีขนาดไม่เกิน A4 หรือขนาด 210 มิลลิเมตร X 297 มิลลิเมตร ระบุข้อความเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ใส่รูปถ่ายของผู้สมัคร ประวัติการศึกษา และประวัติการทำงาน หรือประสบการณ์ในการทำงานในกลุ่มที่สมัครเท่านั้น ไม่เกิน 2 หน้า และการแจกเอกสารแนะนำตัวจะกระทำในสถานที่เลือกไม่ได้ 


กรณีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์


ผู้สมัครสามารถแนะนำตัวด้วยตนเองด้วยข้อความเดียวกันกับกรณีใช้เอกสาร และเผยแพร่แก่ผู้สมัครอื่นในการเลือกเท่านั้น  ส่วนการมีผู้ช่วยเหลือผู้สมัครนั้น ให้ผู้สมัครแจ้งชื่อผู้ช่วยเหลือผู้สมัครหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร เป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดก่อนวันดำเนินการ ยกเว้น สามี ภรรยา หรือ บุตร 


ข้อห้ามในการแนะนำตัว


1.ห้ามผู้สมัคร หรือ ผู้ช่วยเหลือผู้สมัครนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการแนะนำตัว 


2.นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา มีผลใช้บังคับการแนะนำตัวไปจนถึงวันที่กกต.ประกาศผลการเลือก ห้ามผู้สมัคร หรือ ผู้ช่วย เหลือ ผู้สมัครแนะนำตัว อันเป็นการกระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา


3.ห้ามผู้ประกอบอาชีพทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน หรือสื่อโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร เป็นต้น ใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพดังกล่าว เพื่อเอื้อประโยชน์ ในการแนะนำตัว


4.ห้ามแจกเอกสารเกี่ยวกับการแนะนำตัวโดยวิธีการวาง โปรยหรือติดประกาศในที่สาธารณะ


5.แนะนำตัวโดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรง หรือปลุกระดมก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในพื้นที่ 


6.ห้ามแนะนำตัวทางวิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง เคเบิลทีวี หรือสื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงการให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน นักข่าว หรือสื่อโฆษณาซึ่งเผยแพร่ผ่านบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล 


7. จงใจไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบนี้ 


8.ห้ามผู้สมัครยินยอมให้ผู้สมัครอื่น กรรมการบริหารพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นใด ในพรรคการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง เข้ามาช่วยเหลือผู้สมัครไม่ว่ากรณีใดๆ

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

ตม.สุรินทร์ร่วมกับสภ.ปราสาทออกระดมกวาดล้างอาชญากรรม







 ตม.จว.สุรินทร์ ร่วมกับ สภ.ปราสาท ออกระดมกวาดล้างอาชญากรรมความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด  และการจำหน่ายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด โดยผิดกฎหมายผ่านระบบออนไลน์ (Online) 


วันที่ 24 เม.ย. 2567 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เจ้าหน้าที่งานสืบสวนปราบปราม ตม.จว.สุรินทร์ บูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปราสาท ออกระดมกวาดล้างอาชญากรรมความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด  และการจำหน่ายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด โดยผิดกฎหมายผ่านระบบออนไลน์ (Online) ตรวจค้นบ้าน ตามหมายค้นศาลจังหวัดสุรินทร์ที่ ค.43/2567  ลงวันที่ 23 เมษายน 2567 ณ ม.6 ต.บ้านไทร อ.ปราสาท จว.สุรินทร์ ซึ่งมีนายวิษณุฯ เป็นเจ้าของบ้าน ผลการตรวจค้นพบอาวุธปืนพร้อมแม็คกาซีนและเครื่องกระสุนปืนวางอยู่บนชั้นวางของภายในบ้านจุดเกิดเหตุ สอบถามนายวิษณุฯ ให้การยอมรับว่าของกลางอาวุธปืนพร้อมแม็คกาซีนและเครื่องกระสุนปืนที่เจ้าหน้าที่ตรวจค้นพบเป็นของตนจริง จึงขอตรวจสอบเอกสารการครอบครองอาวุธปืนดังกล่าวแต่ผู้ต้องหา ไม่สามารถนำเอกสารได้รับอนุญาตให้ครอบครองมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงได้แจ้งสิทธิและข้อกล่าวหาว่า “มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน(ประดิษฐ์)ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน”  ทั้งนี้ ได้นำส่ง พงส.สภ.ปราสาท เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป