srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

เทศกาลงานงิ้วอำเภอศีขรภูมิ ประจำปี 2566

 
































เทศกาลงานงิ้วประจำปี2566


วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เทศกาลงานงิ้วประจำปี ของอำเภอศีขรภูมิ โดยมีนายพัฒนา พึ่งผล ปลัดอาวุโสอำเภอศีขรภูมิ เป็นประธานพร้อมด้วย นายทวีทรัพย์ โล้เจริญรันต์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลศีขรภูมิ นายณัฐพล พงษ์ปิยานุรัตน์ กรรมการจัดงานงิ้ว น.ส.สูงสุด คุ้มภัย หัวหน้าท้องถิ่นอำเภอศีขรภูมิ พ.ต.อ. กรธัช  อู๊ดเจริญ ผกก.สภ.ศีขรภูมิ และหัวหน้าส่วนราชการร่วมขบวนแห่เจ้าพ่อศีขรภูมิจากหน้าศาลเจ้าพ่อศีขรภูมิไปยังที่ตั้งศาลเจ้าพ่อศีขรภูมิชั่วคราวบริเวณหลังสถานีรถไฟศีขรภูมิ ในเขตเทศบาลตำบลศีขรภูมิ เพื่อให้ประชาชนได้เคารพสักการะอย่างทั่วถึง และเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ชาวศีขรภูมิ ให้เห็นถึงบุญคุณ และความสำคัญของเจ้าพ่อศีขรภูมิ ที่บรรพบุรุษ ได้ บูชา นับถือ จนเป็นธรรมเนียมสืบทอดกันมานานถึงปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความรักสามัคคีเสียสละของคนในท้องถิ่น และคนไทยเชื้อสายจีนได้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข โดยงานสมโภชศาลเจ้าศีขรภูมิและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี 2566 เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 พ. ย.- 5 ธันวาคม 2566 นอกจากนี้ภายในงานได้ให้พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนร่วมตั้งโต๊ะรับไหว้เจ้าพ่อศีขรภูมิ, การประมูลสิ่งของมงคล ของเทพเจ้า, มีมหรสพสมโภชน์แสดงงานงิ้ว และ ลิเก, พร้อมกันนี้ยังมีการจำหน่ายสินค้า อาหารผลิตภัณฑ์ในราคายุติธรรม และจะมีการประมูลวัตถุมงคล เพื่อนำรายได้ไปดำเนินการด้านการกุศลหรือด้านศาสนาประโยชน์ต่อไป






วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ประเพณีลอยกระทงของเทศบาลตำบลศีขรภูมิ















 การจัดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2566 ของเทศบาลตำบลศีขรภูมิ

  วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

ณ. บริเวณปราสาทศีขรภูมิ

โดยมีนายกิตติ สัตย์ซื่อ นายอำเภอศีขรภูมิ เป็นประธานเปิดงาน มีนายทวีทรัพย์ โล้เจริญรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลศีขรภูมิ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการโรงเรียน ชุมชน พ่อค้าประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลศีขรภูมิ เข้าร่วมงาน

  งานประเพณีลอยกระทง เทศบาลตำบลศีขรภูมิ ได้ดำเนินการจัดงานมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของคนไทย ที่มีมาอย่างยาวนาน เพื่อ สืบทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้ร่วมกันรักษาไว้ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบไป และให้รู้ถึงความสำคัญของพระแม่คงคาที่มีคุณค่าต่อเรา ประเพณีลอยกระทงนับว่าเป็นมรดกทางภูมิปัญญา ที่ต้องการรักษาน้ำและแหล่งน้ำที่นับวันยิ่งทวีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตของประชาชนให้มีความสะอาด ปลอดภัย เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ตลอดปี การจัดงานประเพณีลอยกระทงในปีนี้มีกิจกรรม การประกวดกระทง การประกวดนางนพมาศ และการแสดงจากสถานศึกษา ชมรมผู้สูงอายุ และการแสดงดนตรี โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชน ส่วนราชการ และสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะ กรมศิลปากร ที่อนุญาตให้ใช้สถานที่สระน้ำบริเวณประสาทศีขรภูมิ ซึ่งเรียกตามชื่อโบราณว่า "บาราย" เป็นฐานที่ใช้ในพิธีลอยกระทงของทุกปี ซึ่งทำให้ได้บรรยากาศ แห่งสถานที่ที่งดงามและได้รับการสืบทอดประเพณีลอยกระทง ได้เป็นอย่างดียิ่ง


   งานประเพณีลอยกระทง เป็นงาน ที่ปรากฏตามประวัติศาสตร์ว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ ตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี นับเวลาได้ 700 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นประเพณี ที่คนไทย สืบทอดมาโดยตลอด นับเป็นสิ่งที่ดี ที่เทศบาลได้ดำเนินโครงการจัดงาน เป็นประจำ ทุกปีจากภาพที่ปรากฏ ทั้งผู้ร่วมงาน สถานที่จัดงาน กิจกรรมต่างๆ ที่ท่านทั้งหลาย ร่วมมือร่วมใจกันจัดขึ้น เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความรัก ความ สามัคคี และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของพี่น้องชาวเทศบาลตำบลศีขรภูมิ และอำเภอศีขรภูมิทุกคนที่พร้อมจะสืบสานให้ ประเพณีที่ดีงามของเราให้คงอยู่ตลอดไปจึงขอให้การจัดงานในครั้งนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงาน

  บัดนี้ได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว กระผมขอเปิดงานประเพณีลอยกระทงประจำปี 2566 ของเทศบาลตำบลศีขรภูมิ




วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ททท.สำนักงานสุรินทร์ เปิด 3โครงการหลักการท่องเที่ยวปี 67

 







ททท.สำนักงานสุรินทร์ เปิดตัว 3 โครงการหลัก ปี 67  มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ ขยายวันพัก กระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว พร้อมนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์การท่องเที่ยว 2 จังหวัดอีสานใต้ สุรินทร์ - ศรีสะเกษ
วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ ณ ห้องสยามมงคล โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์ กำหนดจัดกิจกรรมชี้แจงทิศทางการตลาดส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรับทราบถึงแนวทางส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว ของ ททท. สำนักงานสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้เกิดเกิดประสิทธิภาพด้านความร่วมมือของผู้ประกอบการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมท่องเที่ยว(Stakeholder)ในพื้นที่รับผิดชอบ          ซึ่ง ททท. สำนักงานสุรินทร์ ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ  โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มุ่งหวังเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งเสริมการตลาดร่วมกับพันธมิตรทางการท่องเที่ยว โดยเฉพาะภาคีเครือข่ายภาคธุรกิจเอกชน ชุมชน รวมทั้ง  Soft Power ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ ททท.สำนักงานสุรินทร์
นางนงเยาว์ จิรันดร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ ได้กล่าวถึงภาพรวมของทิศทางการท่องเที่ยวในประเทศ โดยมุ่งเป้า 5 เรื่อง ได้แก่ เน้น Experience Tourism สร้างรูปแบบการท่องเที่ยวที่น่าจดจำและมีความหมายโดยร่วมมือกับผู้ประกอบการและชุมชนท่องเที่ยวเน้นรักษาสัดส่วนรายได้นักท่องเที่ยวชาวไทยร้อยละ 35 และชาวต่างชาติร้อยละ 65 ตามเป้าหมาย 2.9 ล้านล้านบาท รายได้ในประเทศ 1 ล้านล้านบาท ต่างประเทศ 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดนักท่องเที่ยวล้น หรือ Over Tourism กระจายนักท่องเที่ยวจากพื้นที่ท่องเที่ยวหลักในยังพื้นที่รอง มุ่งสร้างความยั่งยืนใน 5 ภูมิภาคส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบมากขึ้นตามเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ สู่เกณฑ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนของประเทศ ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ออฟไลน์ ร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วน  ทั้งในและนอกอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และบูรณาการความร่วมมือกับผู้ประกอบการพันธมิตรด้านการท่องเที่ยวสำหรับตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศระยะใกล้ ส่งเสริมการตลาดด้วยแนวคิด The Great Resumption ทิศทางของด้านตลาดระยะใกล้ในปี 2567 ยังคงใช้กลยุทธ์ MOREs ต่อเนื่องจากปี 2566 โดยทำให้ลึกขึ้น มากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น  และ ททท.เชิญชวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวเมืองไทย เพื่อทำให้เศรษฐกิจไทยไม่รั่วไหล กระจายความเจริญไปได้ทุกที่และทำให้ไทยเป็นประเทศจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวของคนไทยและนานาชาติทั่วโลกที่แข็งแกร่งยั่งยืนต่อไป

สำหรับทิศทาง การส่งเสริมตลาดทองเที่ยวภาคอีสาน ททท. มุ่งเน้นการกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกระแสหลัก ด้วยการนำเสนอสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว Soft Power 5F ที่มีศักยภาพ    ( Food / Film / Fashion / Festival / Fight ) ผนวกกับความเชื่อ ความศรัทธา (Faith) ของภาคอีสาน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้สู่นักท่องเที่ยวกลุ่มวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 25 – 60 ปี ผ่านเรื่องราวของวิถีการกิน อาหารถิ่นของภาคอีสาน ด้วยการสื่อสารประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิด “อีสานไปไสกะแซ่บ” มากกว่าอาหารคือประสบการณ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทางของนักท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งในปีงบประมาณ 2567 ททท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความมุ่งหวังในการนำเสนอเมนูจาน  แซ่บ  ที่มีความโดดเด่นใน 3 หมวดหมู่ ประกอบด้วย อาหารที่ได้รับการจัดอันดับในคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ อาหารชุมชน-ชนเผ่า และอาหารเชิงสุขภาพ
ในส่วนของ ททท.สำนักงานสุรินทร์ ในปีงบประมาณ 2567 นี้ มีแผนงาน โครงการด้านการส่งเสริมการตลาดหลักๆอยู่ 3 โครงการ
โครงการกินอย่างช้าง  (Flagship Project) เป็นโครงการหลักที่มีกลยุทธ์ภาพรวมในเรื่องการกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกระแสหลัก โดยเน้นกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้ชื่นชอบในการชิม การรับประทานอาหาร Food Lover / กลุ่มครอบครัวที่เดินทางตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า Muti Generation Family นอกจากนี้ ยังรวมถึงกลุ่ม Active Senior และ Gen Y ด้วย ส่วนสินค้าและกิจกรรมที่เสนอขาย
พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ หลักๆ ก็จะเป็นเรื่องราวของช้าง ซึ่งจังหวัดสุรินทร์เป็นหมู่บ้านช้างเลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดในโลก  รวมถึงการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับช้าง ของจังหวัดสุรินทร์ เช่นการจัดงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ การจัดงานบวชนาคช้าง กฐินถิ่นช้างใหญ่รวมถึงการนำเสนอความโดดเด่นของประเพณี วัฒนธรรม อาหารพื้นถิ่น ผ้าไหม ข้าวหอมมะลิ 
พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ นำเสนอเรื่องรวมสินค้าที่เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก ก็คือทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ที่มีคุณลักษณะพิเศษ กรอบนอก นุ่มใน หวานน้อยละมุนลิ้นกลิ่นไม่ฉุน และนอกจากนี้ ยังมีสินค้าและบริการอีกหลายอย่างเช่น หอม กระเทียม ผ้าเบญจศรี  สินค้า GI       ศรีสะเกษ  รวมถึงการนำเสนอความเป็น Sport City เมืองกีฬาต้นแบบ ซึ่งจังหวัด                    ศรีสะเกษ มีความพร้อมในการนำเสนอขายสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ที่มีการเสนอความพร้อมในการเป็นเมือง 3 ธรรม ธรรมะ ธรรมชาติ และ วัฒนธรรม

ซึ่งคาดว่าโครงการฯจะสำเร็จตามเป้าหมายเกิดการรับรู้อย่างแพร่หลายพร้อมทั้งเกิดการบอกต่อประสบการการเดินทางท่องเที่ยว ผ่าน Social Media และการบอกต่อแบบ ปากต่อปาก ทำให้เกิดการรับรู้ในสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น

โครงการ ที่ 2  โครงการ We Love I-San @สุรินทร์-ศรีสะเกษ   โครงการนี้ มุ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มและกระจายจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าสู่เมืองรอง ยกระดับสินค้า บริการทางการท่องเที่ยว ให้ได้มาตรฐาน สะดวก สบาย สะอาด ปลอดภัย และร้างการรับรู้สินค้าการท่องเที่ยว ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น  นำเสนอผ่านช่องทาง Social Media ออนไลน์ ออฟไลน์ และสื่อต่างๆของพันธมิตรทางการท่องเที่ยว 
โครการที่ 3.  โครงการ 365 วัน Amazing ยิ่งกว่าเดิม In สุรินทร์ - ศรีสะเกษ โครงการนี้ เน้นการกระตุ้นการเดินทางและการใช้จ่ายของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ขยายวันพักค้างที่เพิ่มขึ้น สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  นำเสนอประสบการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงการที่ได้ให้นักท่องเที่ยวได้ค้นหาและร่วมออกเดินทางด้วยตัวเองตลอดทั้งปี
นอกจากนี้ ทาง ททท.สำนักงานสุรินทร์ ยังได้เชิญผู้ประกอบการภาคเอกชน ร่วมนำเสนอนำเสนอทิศทางการบูรณาการความร่วมมือทางการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ดังนี้
นางรัชนก วงศ์อารีย์สันติ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึง ความพร้อมของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์
นายวีรศักดิ์ พิษณุวงษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึง การยกระดับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวสู่ทิศทางการค้าในอนาดต
นางสาวขวัญทวี ไทยยิ่ง ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึง ศักยภาพสินค้าท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ของพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
นางวาสิตา น้อยพรหม ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สทท.) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
นายสุแทน สุขจิตร ผู้ประกอบการ แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม นำเสนอ การนำเรื่องราวการยกระดับอาหารสู่การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่
นายจักรพงษ์ ส่วนบุญ ผู้ประกอบการ ร้านบารมีบีฟ Baramee beef นำเสนอ การนำเรื่องราวอาหาร เนื้อวากิวสุรินทร์

สอบถามข้อมูลทางดารท่องเที่ยว จังหวัดสุรินทร์-ศรีสะเกษ ได้ที่ ททท.สำนักงานสุรินทร์ โทร 044514447-8 หรือ facebook.com/tatsurin/