srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566

ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติแห่งประเทศไทยครั้งที่ 2 ณ. องค์การบริหารส่วนตำบลแตล อ.ศีขรภูมิ

ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ที่บ้านแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 29 มกราคม 2566 ณ.องค์การบริหารส่วนตำบลแตล โดยมีนาย กิตติชัย เกตุวงษา หัวหน้าท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ประธานเปิดงาน มี นายจิรทีปต์ บุญเหมาะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตลกล่าวรายงาน วัตถุประสงค์ของงานเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กลไก "บวร"(บ้าน วัด ส่วนราชการ) ตามฝรั่งกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก่อนจัดเทศกาลครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ นำอาคันตุกะศิลปินนานาชาติ จำนวน 150 คน จากประเทศ บังกลาเทศ บัลกาเรีย กัมพูชา อินเดีย อิสราเอล อียิปต์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ลาว เมียนมาร์ เนปาล ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ศรีลังกา เดินทางเป็นคาราวานศิลปินมาร่วมขับเคลื่อนกลไก "บวร" ให้สมบูรณ์ชัดเจน โดยมีกิจกรรมแสดงศิลปินวัฒนธรรมบนเวที นำเสนอและประกาศรับรองเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมนานาชาติและชาติพันธุ์วรรณา ร่วมมือประกาศเขตอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ร่วมบริจาคทาน ทำจากคะ และฝึกปฏิบัติสมาธิตามแบบแผนในวิถีไทยวิถีพุทธ สัมมนาวิชาการและนำเสนอบทความในมหาวิทยาลัย แสดงแบบสาธิตผ้าทอมือ จัดชุมนุมวิชาการแสดงสุนทรพจน์ ประกาศสันติภาพโลก ประกาศเชิดชูเกียรติปราชญ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีพื้นบ้าน จัดค่ายอาสาพัฒนานักเรียนในชนบท ประกาศรับรองหมู่บ้านบวรสันติสุขหรือหมู่บ้านในฝันสันติภาพโลก ลงนาม MOU ความร่วมมือข้ามชาติข้ามวัฒนธรรมและร่วมพัฒนาทักษะความเป็นนานาชาติ การดำเนินงานครั้งนี้ได้รับความสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนตำบลแตล โรงเรียนบ้านแตลศิริวิทยา ผู้นำชุมชนและชาวบ้านตำบลแตล สหกรณ์ออมทรัพย์คุรุสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ชมรมข้าราชการนอกประจำการตำบลแตล ดร.วิลาศ โพธิสาร อาจารย์สุพัฒน์ โพธิสาร ประธานชมรมชาวกุย นายณัฐพล พงษ์ปิยานุรัตน์ ประธานมูลนิธิผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนแงงกวง อำเภอศีขรภูมิ นำนักเรียนมาแสดงศิลปะนานาชาติ

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566

กลุ่มทอผ้าไหมพื้นเมืองอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

กลุ่มทอผ้าไหมพื้นเมืองอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ภาษาพื้นบ้านเรียกว่ากระแซปีร์ ผืนละ 380,000 บาท ผ่านการประกวดระดับประเทศและได้การรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม 5 ดาว อำเภอสังขะพร้อมสนับสนุนและส่งเสริม วันที่ 28 มกราคม 2566 เวลา 11.00 น. นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ นางสงกรานต์ โอฆะพนม ประธานแม่บ้านมหาดไทยอำเภอสังขะ เยี่ยมชมและให้กำลังใจ กลุ่มทอผ้าไหม บ้านด่านเจริญ บ้านหมื่นชัย บ้านโนนสง่า ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ โดยมีนายสมบัติ เพ็ชรกล้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระเทียม นายสหภาพ บุญครอง หัวหน้าสำนักปลัด พร้อมเจ้าหน้าที่และอาจารย์บันเทิง ว่องไว ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมการออกแบบผ้าไหม การทอผ้าไหมแบบพื้นเมือง ซึ่งมีลายผ้าไหมแบบพื้นเมืองที่ชาวบ้านนิยมใส่กันทั่วไป และลายผ้าไหมแบบสมัยใหม่ เพราะปัจจุบันนี้มีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสนใจมาใส่ผ้าไหมเป็นจำนวนมากมากขึ้น มีการนำผ้าไหมไปออกแบบเพื่อโชว์ในงานต่างๆร่วมทั้งมีการนำผ้าไหมให้นักแสดงสวมใส่ในการถ่ายละครเช่นละครเรื่องนาคีจนเป็นที่โด่งดังและมีผู้คนจำนวนมากที่หันมาสนใจผ้าไหม นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของตำบลกระเทียม เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไป เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ผ้าไหมของตำบลกระเทียมถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ร่วมทั้งมีลวดลายที่สวยงามโดดเด่น เป็นศูนย์ร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่นคือ กูย เขมร ลาว ถือเป็นข้อดีที่ตำบลกระเทียมมีปราญชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบผ้าไหม และสิ่งสำคัญคือ การย้อมสีธรรมชาติ ย้อมครั่ง ปะโหด เข คราม และหมักโคลน ถือเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ และหน่วยงานต่างๆ พร้อมให้การสนับสนุนและส่งเสริมทุกรูปแบบ สำหรับ บ้านด่านเจริญ บ้านหมื่นชัย บ้านโนนสง่า ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนที่มีการทอผ้าไหมเป็นอาชีพหลัก มีความชำนาญด้านการย้อมไหมด้วยสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ และการทอผ้าปูม ผ้ามัดหมี่ของคนไทยเชื้อสายเขมร และเชื้อสายกูย และผ้าทอเส้นพุ่งแบบสามตะกอ มีลวดลายเด่นชัด มีการพัฒนาลวดลายใหม่ๆให้มีความแปลกและแตกต่าง เพื่อดึงดูดความสนใจของคนรุ่นใหม่และให้สามารถพัฒนาผ้าไหมออกไปสู่ตลาดได้กว้างมากขึ้น โดยอาจารย์บันเทิง ว่องไว ผู้อนุรักษ์การทอผ้าไหมพื้นเมือง ผู้ที่สร้างสรรค์ผ้าไหมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นสวยงาม สร้างชื่อเสียงในการทอผ้าไหมที่ใช้คลุมพระแท่นวัชรอาสน์พระพุทธเจ้าใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นรูปเสือสุพรรณหงส์ และถือเป็นผ้าไหมที่ยาวที่สุดในโลกอีกด้วย สำหรับผ้าไหมที่ตำบลกระเทียม มีคุณลักษณะพิเศษ และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ตามประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผ้าไหมของตำบลกระเทียมเป็นสินค้าส่งออก และเป็นที่สนใจของคนทั่วไป ที่แสดงถึงวัฒนธรรมและเป็นมรดกผ้าที่มีความเกี่ยวพันกับชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย มีการสืบต่อ สืบทอด ในเรื่องราวของภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ผ้าทอแต่ละผืน นอกจากจะเป็นผ้าใช้สอยในชีวิตประจำวันแล้ว ยังสามารถสื่อความหมาย ถึงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566

จับชาวบ้านลักลอบแปรรูปไม้หวงห้าม

จับชาวบ้านลักลอบแปรรูปไม้หวงห้าม วัน 24 ม.ค.66 เวลา 11.50 น. นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอำเภอสังขะร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ สร.1, สภ.สังขะ,ร้อย ตชด.214, ชุด ชปส.กก.สส.จ.สร และร้อย.อส.อ.สังขะ ที่ 8 ได้ร่วมกันจับกุมตัว ผู้ลักลอบตัดทำไม้หวงห้ามฯ ตามที่ได้รับแจ้งจากพลเมืองดี ไม่ประสงค์ออกนาม ดังนี้ 1.นายสมคิด ศรีบาง อายุ 30 ปีอยู่บ้านเลขที่ 26 ม.9 ต.ตาคง อ.สังขะ จ.สุรินทร์ 2.นายรุ่งเรือง จันทสมุทร อายุ 41 ปีอยู่บ้านเลขที่ 7/1 ม.9 ต.ตาคง อ.สังขะ จ.สุรินทร์ พร้อมของกลาง 1.ไม้ประดู่ จำนวน 12 ท่อน 2.เลื่อยโซ่ยนต์ดัดแปลง ยี่ห้อ MAKTEC สีส้ม หมายเลขเครื่อง88503 3.สายไฟยาว 13 เมตร 1 เส้น 4.สายไฟยาว 20 เมตร 1 เส้น 5.ตลับตีเส้น จำนวน 1 ตลับ 6.แกลลอนน้ำมัน จำนวน 1 อัน โดยกล่าวหาว่า”ร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตและร่วมกันแปรรูปไม้หวงห้าม และมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้มีรับอนุญาต” บริเวณท้องที่บ้านหนองเยาะ ม.9 ต.ตาคง อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ผู้ต้องหาทั้งหมดพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตามกฏหมายต่อไป

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566

การแข่งขันกีฬาเยาวชนและประชาชน ตาวังเกมส์ ครั้งที่ 22

การแข่งขันกีฬาเยาวชนและประชาชน ตาวังเกมส์ ครั้งที่ 22 ประจำปี2566 วันที่ 20 มกราคม 66 เวลา 9:00 น โครงการเปิดการแข่งขันกีฬาเยาวชนและประชาชนระดับตำบลตาวัง เกมส์ โดยมี สจ.นายคมศักดิ์แซ่เตียว เป็นประธานเปิดการแข่งขัน มี นายจักรพันธ์ สอนงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาวังกล่าวรายงาน และหัวหน้าส่วนราชการ นายกทุกตำบล กำนันผู้ใหญ่บ้านคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ลูกจ้างพนักงานบริหารส่วนตำบลเข้าร่วมในงาน วัตถุประสงค์ของการจัดงานแข่งขัน เพื่อเป็นการสนองต่อนโยบายภาครัฐและเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ได้แสดงศักยภาพและความสามารถทางด้านกีฬา ส่งเสริมให้เกิดความรักความสามัคคีมีสุขภาพที่ สมบูรณ์ห่างไกลยาเสพติดและก่อให้เกิดความปฏิสัมพันธ์ที่ดีระวังเยาวชนประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันดีต่อกัน การจัดงาน ในครั้งนี้จะดำเนินไปด้วยความรักความสามัคคี ในชุมชนตำบลตาวัง

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566

โครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

โครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 20 มกราคม 2566 ณ. หอประชุมอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายกิตติ สัตย์ซื่อ นายอำเภอศีขรภูมิ เป็นประธานเปิดงาน มี พ.ต.อ.กรธัช อู๊ดเจริญ ผกก.สถานีตำรวจภูธรศีขรภูมิ พ.ต.ท.ชัยรัตน์ สมานรัตน์ รอง ผกก.ฝ่ายปราบปราม นายนิคม บุตรงาม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอศีขรภูมิ รักษาการสาธารณสุขอำเภอศีขรภูมิ และกำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ทุกๆตำบลและหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครอง ตลอดจนผู้รับผิดชอบ ออกปฏิบัติการสำรวจ ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงตามหมู่บ้าน ชุมชน และสถานประกอบกิจการที่เป็นเป้าหมายการแพร่ระบาดของยาเสพติด ผู้ค้ายาเสพติด และจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ตรวจสถานบริการโรงแรม ร้านเกมส์ ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านค้าของเก่า ร้านอาหารคาราโอเกะ แหล่งมั่วสุมของวัยรุ่น เพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแบบบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอศีขรภูมิ(ศป.ปส.อ.ศีขรภูมิ) จึงมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กำลัง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ จำนวน 150 คน ซึ่งเป็นกลุ่มปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบ พื้นที่เสี่ยงตามหมู่บ้าน ชุมชน ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบ หรือค้นหาผู้เสพ ผู้ค้ายาเสพติด จึงได้จัดโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ขึ้น

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566

ไทย-กัมพูชา กระชับความสัมพันธ์ตามยุทธศาสตร์สร้างความเติมโตการค้าชายแดน

ไทย-กัมพูชา กระชับความสัมพันธ์ตามยุทธศาสตร์สร้างความเติบโตการค้าชายแดนเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน สร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้แข็งแกร่ง วันที่ 16 มกราคม 2566 นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ มอบหมายให้นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ นายพัฒนา พึ่งผล ปลัดอำเภอสังขะ พ.ต.อ.สุทิน จันทร์แดง ผกก.สภ.ดม พ.ต.ท.นิรุตติ์ หลิ่มวิรัช รอง ผกก.ตชด.21 พ.ต.ท.มนัส ทองปน ผล.ร้อย ตชด.217 นายมานิตย์ สีพูแพน เกษตรอำเภอสังขะ นายอภิวัฒน์ พัวภัทรพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดม นายชนะชล มูลจันทร์ ประธาน กต.ตร. ได้ร่วมพบปะหารือร่วมรับประทานอาหารและกระชับความสัมพันธ์เพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านชายแดนกับคณะผู้แทนจากประเทศกัมพูชา ณ ด่านพรมแดนหลักเขตที่ 9 ตำบลตาตุม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพันเอกชิน เมา รองเสนาธิการกองทัพภาคที่4 พันเอกรส ชารอม ผู้บัญชากองทหารอันลองเวง พันเอกอิม โชรี รองผู้บัญชาการกองพันรักษาชายแดนที่ 905 พันตรีเพ็ง เพียก ผู้ช่วยทีมประสานงานชายแดนไทย-กัมพูชา พันโทนวน เนียว ผู้ช่วยทีมประสานงานชายแดนไทย-กัมพูชา ได้สานต่อความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้าไทยกับกัมพูชาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อเดินหน้าให้ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเติบโตไปพร้อมกันตามแนวนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยสินค้าที่ได้รับความสนใจ ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ โดยเฉพาะไก่บ้านและมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งประเทศกัมพูชามีความต้องการเป็นอย่างมาก มีการส่งออกผ่านด่านชายแดนช่องจอมเป็นจำนวนมากในแต่ละเดือนแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และในอนาคตคาดว่าจะมีมูลค่าการค้าการลงทุนร่วมกันกว่ามากกว่านี้ พันเอกชินเมา รองเสนาธิการกองทัพภาคที่4 ประเทศกัมพูชาได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ปัจจุบันด้านการทหารและด้านความมั่นคงระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานระหว่างชายแดนได้มีการพบปะหารือกันเป็นประจำทุกเดือน ส่วนด้านการค้าการลงทุนนั้น รัฐบาลกัมพูชาพร้อมให้การสนับสนุนการลงทุนระหว่างนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจกัมพูชา ส่วนด้านการท่องเที่ยวนั้นตอนนี้มีนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยลงไปเที่ยวที่นครวัดนครธม เมืองเสียมเรียบ เป็นจำนวนมาก การพบปะหารือร่วมกันในวันนี้ตนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะได้กระชับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีอะไรก็ได้พูดคุยกัน และตนก็อยากให้มีการพบปะหารือรับประทานอาหารร่วมกันแบบนี้เป็นประจำจะดีมาก นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า ไทยและกัมพูชาได้เน้นย้ำถึงการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการค้าการลงทุนร่วมกันโดยมีแนวทางสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น 1.ส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ตามยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหน้าด่านชายแดนไทยและกัมพูชา เพื่อสร้างความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และขยายการค้าการลงทุนระหว่างกันโดยเฉพาะบริเวณชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกัน 2.เพิ่มการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรระหว่างกัน 3.เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวทางการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งไทยได้ย้ำถึงความพร้อมในการร่วมมือกับภาคเอกชนกัมพูชา ปัจจุบันกัมพูชา เป็นคู่ค้าอันดับที่ 8 ของไทยในอาเซียน และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 21 ของไทยในโลก การค้าของไทยกับกัมพูชา ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าเฉลี่ยประมาณปีละ 4,992.3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 4,375.1 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญไปกัมพูชา ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องดื่ม น้ำตาลทราย รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขณะที่สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ ผักและผลไม้ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี สินแร่โลหะ ลวดและสายเคเบิล และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของการค้ารวมไทย-กัมพูชา โดยไทยได้ดุลการค้า 2,487 ล้านเหรียญสหรัฐ

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2566

"ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต"

วันครูประจำปี 2566 คำขวัญวันครูปีนี้ "ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต" ครูคือผู้ให้ ความรู้ ภูมิปัญญา อบรมบ่มวิชา และพัฒนาพวกเรา เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง "พลังครู คือ หัวใจของการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา” เชื่อว่าพลังของครูจะเป็นหัวใจของการนำการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการยกระดับจัดการเรียนรู้ให้เท่าทันโลกยุคใหม่ เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศ รวมพลังมุ่งมั่นทุ่มเทกำลังกาย กำลังแรงใจ และกำลังสติปัญญา ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู พัฒนาศิษย์ให้มีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าสืบไป

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

งานวันเด็กแห่งชาติขององค์การบริหารส่วนตำบลจรัส ประจำปี 2566

งานวันเด็กแห่งชาติ ขององค์การบริหารส่วนตำบลจรัส ประจำปี 2566 เสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 เวลา 08.30 นายบรรจง เล่าหพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจรัส สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ราชการ รัฐวิสาหกิจ พร้อมกำนันผู้ใหญ่บ้าน คณะ ครูนักเรียนผู้ปกครอง เข้าร่วมในบริเวณงาน รับฉลากเพื่อจับรางวัล ในงานวันเด็ก โดยมีรางวัลจากผู้ใหญ่ใจดี หลายคนและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจร่วมกิจกรรมมอบขนมและตุ๊กตาเป็นของขวัญให้กับเด็กๆ หน่วยงานราชการ และสมาชิก องค์การบริหารส่วนตำบลทั้งข้าราชการและสมาชิกร่วมกันใส่ชุดนักเรียนเพื่อสร้างสีสัน ให้กับเด็กๆและผู้ปกครอง โดยมีตุ๊กตาตัวใหญ่ 2 ตัว มีการแสดงสำหรับเด็ก ปฐมวัย 3-5-ปี นำโดย(นางสาว อัจฉราภรณ์ ทนทอง) ครูชำนาญการฝึกสอน เด็ก ท่าเต้น ในการแสดง สร้างรอยยิ้ม ให้เด็กๆและผู้ปกครอง ที่ชวนลูกจูงหลานมาดูปีนี้ จัด ยิ่งใหญ่กว่าทุกปี นายกตั้งใจเพื่อจะมอบรางวัลของขวัญให้แก่เด็กๆในวันนี้ ทั้งตำบลจรัส 4 โรงเรียน 12 หมู่บ้านด้วยความประทับใจทั้งรอยยิ้มและอิ่มท้องเพื่อให้เด็กๆได้เล่นและถ่ายรูป บูธของโรงเรียนทั้ง 4 โรงเรียน ศูนย์การศึกษาอำเภอบัวเชด ตำบลจรัสให้บริการทั้งอิ่มท้อง และรอยยิ้ม