srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567

มหกรรมวันกูยโลก ประจำปี 2567

 






พิธีเปิดงานมหกรรมวันกูยโลก ปี 2567.                         วันที่ 28 เมษายน 2567 ณ.สนามที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

  โดยมี นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงาน มีนายสุพัฒน์ โพธิสาร นายกสมาคมชาติพันธุ์กูย กล่าวรายงาน และตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ กูย ชุมชนชาวกูยทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสมาคมกลุ่มชาติพันธุ์กูยให้การต้อนรับ

 การจัดงาน "มหกรรมวันกูยโลก ปี 2567" ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2567 การสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์กูย เป็นการส่งเสริมฟื้นฟู เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ อันดีงามของพื้นถิ่น เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของสังคม ตลอดจนเศรษฐกิจชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลชุมชนชาวกูย ในประเทศไทย ของสมาคมชาติพันธุ์กูย พบว่าชุมชนชาวกูยที่เข้มแข็ง และยังคงสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามมีจำนวน 13 จังหวัด กระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ จำนวน 69 อำเภอ คิดเป็นตำบล 191 ตำบลหรือ 978 หมู่บ้าน โดยชุมชนชาวกูย ที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เข้มแข็งมีแนวโน้มลดลงถึงขั้นวิกฤตและในปัจจุบันยังพบพี่น้อง ที่มีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกัน อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และประเทศเวียดนาม ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันเช่น กูย กวย  สวย กูยชูย กูยเญอ กูยบรู เขมรป่าดง เขมรโบราณ ข่าโทร่ส่วย เป็นต้น จากการเปลี่ยนแปลงการเมือง การปกครอง และสังคมเศรษฐกิจ ส่งภวะกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดความสูญเสีย เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ดีงาม ซึ่งในบางชุมชนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ถึงขั้นวิกฤต และคนรุ่นใหม่ๆ ไม่สามารถพูดภาษาชาติพันธุ์ตนเองได้ทางสมาคมจึงเล็งเห็นถึงปัญหาและวิกฤตที่เกิดขึ้นจึงได้ดำเนินการจัดงาน มหกรรมวันกูยโลกขึ้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ได้ตระหนักและช่วยกันส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟู ให้วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย คงอยู่สืบไป และในการจัดงานมหกรรมมันกูยโลกในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1  เพื่อส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์ประเพณีวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กูย ให้มีความเข้มแข็งและมีบทบาทด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีสุรินทร์ต่อไป

2.  เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเชิงวิชาการของกลุ่มชาติพันธุ์กูย สู่การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

 การจัดงานในครั้งนี้มีหน่วยงานร่วมบูธการได้แก่

1. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ สนับสนุนงบประมาณ ส่วนหนึ่งในการจัดขบวนแห่และการจัด ทำเกียรติบัตรมอบให้ผู้สนับสนุน กิจกรรม ครั้งนี้

2.  สภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์

3.  วัดศาลาเย็น

 นายสันทัด แสงทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์กล่าวว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ในประเทศไทยมีความหลากหลายและมีวัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่นเป็นของตนเอง โดยเฉพาะ กลุ่มชาติพันธุ์กูยหรือกวย ที่มีพื้นที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัฒนธรรมประเพณีที่ควรค่าในการส่งเสริม สนับสนุนต่อยอดสร้างมูลค่าในทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวและมีอัตลักษณ์โดดเด่นด้านภาษาการแต่งกายและคชศาสตร์ชาวกูย ที่เป็นอัตลักษณ์ เฉพาะของหมอช้างและคนเลี้ยงช้างของจังหวัดสุรินทร์ หนึ่งเดียวใน

ลก คนกับช้างอาศัยอยู่ด้วยกันเหมือน พี่น้องครอบครัวเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ควรค่าในการสืบทอดอนุรักษ์ให้อยู่คู่ลูกหลานตลอดไป นอกจากนี้มีการพัฒนาฐานข้อมูลเชิงวิชาการของกลุ่มชาติพันธุ์กูย สู่การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานในครั้งนี้ จะทำให้เกิดความร่วมมือเกิดการประสานสัมพันธ์ในกลุ่มชาติพันธุ์กูยด้วยกันและเป็นแนวทางส่งเสริมสนับสนุนด้านการท่องเที่ยววิถีสุรินทร์ต่อไป





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น