srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ตม.สุรินทร์ ปฏิบัติการเชิงรุกเข้มงวด ต่อเนื่องประชาสัมพันธ์ แก่ผู้ประกอบการ โรงแรม รีสอร์ท Guest House บ้านพักอาศัย ที่รับคนงานต่างด้าวเข้าพักอาศัย









 ตม.จว.สุรินทร์  ปฏิบัติการเชิงรุก เข้มงวดต่อเนื่อง  ประชาสัมพันธ์ผู้ประกอบการโรงแรม  รีสอร์ท  เกสเฮ้าส์  บ้านพัก ที่รับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย 

วันที่ 11กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ภายใต้การอำนวยการของ  พ.ต.อ.ธนวัฒน์  พูลสวัสดิ์  ผกก.ตม.จ.สุรินทร์  สั่งการให้เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนปราบปราม ตม.จว.สุรินทร์ ออกตรวจสอบและประชาสัมพันธ์การแจ้งที่พักอาศัยตาม ม.38  แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522  สถานประกอบการโรงแรม  รีสอร์ท  เกสเฮ้าส์  และบ้านพัก ที่รับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัยในพื้นที่รับผิดชอบ  ตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา  เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522


โดยได้ชี้แจงข้อกฎหมาย ระเบียบการปฏิบัติเมื่อรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัยและโทษเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำผิด  พร้อมแนะนำช่องทางการแจ้งที่พักอาศัย  และหากมีข้อสงสัย ต้องการความช่วยเหลือ หรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับคนต่างด้าว  สามารถติดต่อได้ที่ ตม.จ.สุรินทร์  โทร.044-559127 หรือ สายด่วน สตม.1178 


วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566


 จังหวัดสุรินทร์ นายกิตติ สัตยชื่อ  นายอำเภอศีขรภูมิ เป็นประธาน เปิดการประชุม หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนเอกชน   ผู้แทนสถาบันการศึกษา ผู้แทนท้องถิ่น ผู้แทนชุมชน และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน

 

ซึ่งการประชุมชี้แจงรายละเอียดและรับฟังความคิดเห็นโครงการ ครั้งที่ 2 โครงการงานศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบรายละเอียดระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำหลัก เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 3 ในวันนี้ เนื่องจากปัญหาอุทกภัยเกิดขึ้นเป็นประจำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้นในอนาคต ที่ผ่านมาได้เกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลอย่างรุนแรง กระจายเกือบทุกจังหวัดของ                ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในปี 2562 สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ทรัพย์สิน และความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ 


กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว   จึงได้ดำเนินการโครงการงานศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบรายละเอียด          ระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำหลัก เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 3 เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาพรวมของพื้นที่ชุมชนที่จำเป็นเร่งด่วนของลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้สอดคล้อง และ         สอดประสานกับแผนหลักการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระดับลุ่มน้ำ โดยระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำหลักที่จำเป็นจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากน้ำหลากและน้ำท่วมขังในพื้นที่ชุมชนเทศบาลและพื้นที่ชุมชนต่อเนื่องได้


นายอำเภอศีขรภูมิ  ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมฯ วิทยากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย    ทุกท่าน โดยใคร่ขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมประชุมฯ ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่และเห็นปัญหาและรู้ปัญหามากที่สุด ให้ช่วยกันระดมแนวคิดและมุมมองที่หลากหลายร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงสร้างสรร ช่วยกันทำให้การประชุมฯ ในครั้งนี้ได้รับผลสำเร็จ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลและแนวคิดต่างๆ ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ประโยชน์    ในการดำเนินโครงการเพื่อส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน


ดร.กฤศ ฉายแสงเดือน โยธาธิการและผังเมือง จ.สุรินทร์ กลาวว่า การประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการและรับฟังความคิดเห็นโครงการ ครั้งที่ 2 โครงการงานศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบรายละเอียด การประชุมชี้แจงรายละเอียดและประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 2 งานจ้างออกแบบงานก่อสร้างศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบรายละเอียดระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำหลักเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 3 มีผู้แทนโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสุรินทร์ กรมโยธาธิการและผังเมืองและผู้เข้าร่วมการประชุม 


ชี้แจงรายละเอียดและประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 2 งานจ้างออกแบบงานก่อสร้างศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบรายละเอียดระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำหลักเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 3 ในวันนี้ ประเทศไทยต้องประสบปัญหาอุทกภัยเกิดขึ้นเป็นประจำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาน้ำท่วมและความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงได้มอบหมายกรมโยธาธิการและผังเมืองทำการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบรายละเอียดระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำหลักเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่ชุมชนที่จำเป็น เร่งด่วนของลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดและประชาสัมพันธ์โครงการ รวมไปถึงรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ทรงคุณวุฒิ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชน อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ตลอดจนการให้ข้อเสนอแนะและตอบข้อซักถาม เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาพรวมของพื้นที่เทศบาลตำบลศีขรภูมิและ การประชุมชี้แจงรายละเอียดและประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 2 งานจ้างออกแบบงานก่อสร้างศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบรายละเอียดระบบป้องกันน้ำท่วม และระบบระบายน้ำหลักเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 3 


-------

คำกอง กันนุฬา/รายงาน 0968264875 สุรินทร์













วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

รถบัสรับส่งนักกีฬาวิ่งโครงการพัฒนาเมือง ปี2023 ของกองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2ได้จัดขึ้น ตกเขาช่องสะงำ














 จังหวัดศรีสะเกษ รถบัสขนส่งนักกีฬาไปวิ่งชมวิวเขาพญากูปรี ตกเขาทางลงช่องสะงำ เสียชีวิต 4 บาดเจ็บ 43 ราย สาเหตุน่าจะมาจากระบบเบรคของรถบัสคันดังกล่าว

เมื่อเวลา 09.45 น ของวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่บริเวณ ถนนสายช่องสะงำ -บ้านแชรไปร ต.ไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ. ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นทางลาดชันลงจากด่านช่องสะงำ ก่อนถึงจุดชมวิวผาพญากูปรี ได้เกิดเหตุรถ บรรทุกนักกีฬาที่มาเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งตามเส้นทางภูมิประเทศ Suranaree Trall Running 2023 ตามโครงการพัฒนาเมือง กีฬา(Sports City) ประจำปี 2566 ซึ่งกองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 ได้จัดการแข่งขันในครั้งนี้ขึ้น โดยรถบัส ได้บรรทุกนักกีฬา วิ่งลงจากจุด ผ่านด่าน แดนถาวร ไทย- กัมพูชา ช่องสะงำ ซึ่งเป็นนักวิ่งที่วิ่งไปถึงเส้นชัยแล้ว เพื่อรับส่งนักกีฬาวิ่งลงมายังลานตลาดวัดไพรพัฒนา ต. ไพรพัฒนา อ.ภูสิงห๋ จ. ศรีสะเกษ รถบัสบรรทุกนักกีฬา มาจำนวน 47 คน ได้เสียหลักตกลงข้างทาง ที่เป็นไหล่เขาสูงชัน และรถบัสได้พลิกลงไปหลายตลบ ไปกองอยู่ ใต้หน้าผา ทำให้มีผู้บาดเจ็บ43 รายและเสียชีวิต4ราย ต่อมาเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 3 และรถกู้ภัยรวมทั้งรถกู้ชีพของโรงพยาบาลภูสิงห์ โรงพยาบาลขุนหาญ ได้มายังที่เกิดเหตุ และได้รีบ ลำเลียงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บส่งไปยังโรงพยาบาลภูสิงห์ขณะที่มีผู้บาดเจ็บส่วนหนึ่งที่อาการสาหัสมากถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 43 ราย มีผู้บาดเจ็บสาหัส 24 ราย เสียชีวิต 4 ราย ดังนี้ น.ส.อรทัย จำปาทอง น.ส. มณีรัตน์สกุลศิรกิต   ส.อ. ทศพร หาญณรงค์ และ น.ส.สิริกร(เปรมฤดี) ปัญกาญจ์สกุล อาชีพพญาบาล รพ.ราษีไศล ที่มาร่วมวิ่งในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย พลตรี วีรยุทธ รักศีลป์ ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารีบินด่วนดูที่เกิดเหตุ เตรียมเยียวยา ครอบครัวผู้สูญเสีย ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

อำเภอบัวเชด จัดกิจกรรม "วิ่ง ปั่น ชม ชิม ทุเรียน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566











 อำเภอบัวเชด จัดกิจกรรม “ วิ่ง ปั่น ชม ชิม ทุเรียนบัวเชดฯ" ครั้งที่ 2

เมื่อเวลา 05.45 น. วันที่ 9 ก.ค.66    ที่โรงเรียนบ้านจรัส ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ นายสมชาย วงศ์จริยะเกษม นายอำเภอบัวเชด เป็นประธานเปิดการจัดกิจกรรม “ วิ่ง ปั่น ชม ชิม ทุเรียนบัวเชด”มาวิ่งด้วยกันนะครับ I Am Runner Guard Surin To be Run วิ่งชมชิม ทุเรียนบัวเชด ปีที่ 2 ภายใต้สโลเเกน "แบกทุเรียน วิ่งขึ้นเขาศาลา สักการะบูชาหลวงพ่อเยื้อน แวะเยือนอ่างจรัส ชมชิมสัมผัสทุเรียนดองแร็กสุรินทร์ ถิ่นบัวเชด" ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ทั้งกิจกรรมปั่นจักรยาน และวิ่งในเส้นทางที่รายล้อมด้วยบรรยากาศธรรมชาติ

ซึ่งการจัดงาน “TO BE RUN วิ่ง ปั่น ชม ชิม ทุเรียนบัวเชด” ในครั้งนี้ นอกจากจะได้ออกกำลังกายจากการ ปั่นจักยาน และวิ่งแล้ว ผู้เข้าร่วมงานยังจะได้เที่ยวชมกิจกรรมในงานอีกมากมาย ประกอบไปด้วย กิจกรรมบนเวลาที/การแสดงดนตรี ของโรงเรียนบัวเชดวิทยา การจัดนิทรรศการ บูทจำหน่ายทุเรียน ผลไม้อื่นๆ ผลิตภัณฑ์ของดีอำเภอบัวเชด รับชมการแสดงจากชมรม To be number one ของโรงเรียนบัวเชดวิทยา และโรงเรียนมัธยมศรีสำเภาลูน การมอบเหรียญที่ระลึกให้แก่ประธานชมรมปั่นจักรยานอำเภอบัวเชด 

พร้อมศิลปินดารานักเเสดงร่วมกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น ติ๊ก ฉัตรมงคล, นัท มหาเทพ, หวิว ณัฐพันธ์, ออย ธนพัฒน์, แดนนี่ โสฬส, ศรศักดิ์,เมย์ ธิชา, ขิม เบญญา ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน โดยนายชนะชล มูลจันทร์ ประธานกต.ตร.สภ.บัวเชด บรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคัก เพราะมีดารา นักร้อง นักเเสดงมาร่วมกิจกรรม  เพื่อเป็นการกระตุ้น           เเหล่งท่องเที่ยวของอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

  เป็นจุดไฮไลน์ เเลนด์มาร์คแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่...สไตล์ธรรมชาติระบบนิเวศเชิงเกษตร ซึ่งอำเภอบัวเชด​  เป็นอำเภอเล็กๆที่อยู่ติดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา​  แต่เต็มไปด้วยธรรมชาติ​ที่สวยงามและอากาศ​ที่บริสุทธิ์​  สถานที่ท่องเที่ยว​แบบธรรมชาติ​  ประเพณี​วัฒนธรรม​ 4​ ชนเผ่า​ ไทย​-กูย-เขมร-ลาว​  อาหารพื้นบ้านเฉพาะถิ่น​  ดินแดนวัฒนธรรม​โบราณ​  อำเภอบัวเชดยังมีอะไรดีๆอีกมากมายที่ยังไม่ได้รับการเปิดเผยสู่สายตาของผู้คน ลองมาเที่ยวอำเภอบัวเชดดูสักครั้ง แล้วจะรักเเละประทับใจในความงดงามของธรรมชาติเเละน้ำใจของคนในชุมชนบัวเชด

วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

จังหวัดศรีสะเกษ เปิดการฝึกอบรมปลูกกาแฟโรบัสต้าศรีสะเกษรุ่นที่ 1










 ศรีสะเกษ !! รองผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดการฝึกอบรมการปลูกกาแฟโรบัสด้าศรีสะเกษ รุ่นที่ 1  

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566   ที่ทอประชุมที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ นายสุรศิษฐ์ อินทกรอุคม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  ได้เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมการปลูกกาแฟโรบัสต้าศรีสะเกษ รุ่นที่ 1  โดยมีนายศราวุธ  ทรงโฉม  นายอำเภออุทุมพรพิสัย  นายสมชาย เชื้อจีน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ นายฉัตรชัย ไชโยธา ประธานเครือข่ายโคกหนองนาอำเภออุทุมพรพิสัย ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชัยพัฒนาศรีสะเกษร่วมกับศูนย์พัฒนาเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และอำภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดโครงการอบรมและมอบต้นกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า ขึ้นในวันนี้  มีเกษตรกรจาก 22 อำเภอของจังหวัดศรีสะเกษ เข้ารับการฝึกอบรมทั้งสิ้น จำนวน 100 คน ซึ่งได้รับสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้าจากจังหวัดรีสะเกษ ตามโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนผลิตกาแฟโรบัสต้าแบบครบวงวร มีเป้าหมายให้เกพตรกรมีทางเลือกในการผลิตสินค้าจากการทำเกษตรแบบดั้งเคิม ให้มีการปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า มีการคำเนินการแบบครบวงจรตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยวแปรรูปจำหน่าย  และกลุ่มผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้าอำเภออุทุมพรพิสัย ได้รับการสนับสนุนการฝึกอบรมการปลูกกาแฟ จากศูนย์เกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้า มีอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากอาชีพหลักอีกทางได้ตลอดปี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรที่ต้องการปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสด้า  เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความเข้มแข็งและเชื่อมโยงกันทั้งจังหวัด และเพื่อผลักดันพืชกาแฟเป็นพืชศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษต่อไป