srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ภูมิธรรม นำคณะผู้บริหาร ผู้ส่งออก สื่อมวลชน ตรวจสอบข้าวโครงการรับจำนำ10ปียังหุงกินได้








 "ภูมิธรรม" นำคณะผู้บริหารผู้ส่งออก สื่อมวลชน ตรวจสอบข้าวโครงการรับจำนำไว้ 10 ปี ยังกินได้นำมาหุงกินกับ ไข่เจียว หมูสับ ระบุเจ้าของโกดัง เก็บรักษาไว้อย่างดีรมยาตามมาตรฐาน ปิดโกดังแน่นหนา ไม่มีนกเข้า ไม่เจอฝนรั่ว ที่สุรินทร์ เร่งเปิดประมูลเดือนนี้ ขณะที่ผู้ส่งออกชี้พร้อมเข้าประมูลส่งออก

วันที่ 6 พ.ค.2567 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบข้าวสารในสต็อกของรัฐบาล ตามโครงการรับจำนำ ที่ โกดังกิตติชัย หลังที่ 2  ต.กันแอน

อ.ปราสาท และ บจก.พูนผลเทรดดิ้ง หลังที่ 4 ต.เฉลียง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ โดยนำข้าวที่เก็บอยู่ในโกดังมาหุงและรับประทานร่วมกับสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้อง และจากนี้จะมีการตรวจสอบก่อนประกาศประมูลข้าวสารในสต๊อกของรัฐเป็นการทั่วไป


นายภูมิธรรม กล่าวว่า หลังจากที่เคยได้ลองชิมข้าวกับท่านผู้กำกับเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา แต่มีเสียงทักท้วงว่าข้าว 10 ปีกินไม่ได้ เหมือนเล่นละคร ข้าวปีหนึ่งก็เน่าแล้ว 5 ปีก็เน่าแล้ว ปัญหาอยู่ที่การเก็บรักษา ถ้าเก็บรักษาดีก็สามารถดูแลได้ ถ้าเก็บไม่ดีไม่ต้องถึง 5 ปี หนึ่งปีก็เน่าแล้ว ครั้งนี้อยากทำให้เกิดข้อสรุปที่ชัดเจนสิ้นข้อสงสัย จึงเชิญสื่อมวลชนทุกแขนง เจ้าของโรงสี ผู้ส่งออก ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้การจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นสักขีพยาน ตนทำกับข้าว ผัดกระเพราไข่เจียวหมูสับ มาให้ด้วย และจะเป็นผู้ รับประทานคนแรกพร้อม เจ้าของโกดัง เจ้าของโรงสีผู้ส่งออก และสื่อมวลชนลองทานดู  มีเจ้าหน้าที่เซอร์เวย์เยอร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนก็ร่วมรับประทานด้วย


สำหรับที่โกดังกิตติชัยมีข้าวจำนวน 112,711 กระสอบ และที่พูนผลเทรดดิ้ง 32,879 กระสอบ รวมประมาณ 150,000 กระสอบ เป็นข้าวปี 56/57 ถึงวันนี้ก็ 10 ปีพอดี เป็นข้าวที่เก็บรักษาอย่างดี เจ้าของโรงสี เจ้าของโกดังรมยาตามมาตรฐาน ปิดโกดังแน่นหนา ไม่มีนกเข้า ไม่มีฝนตกที่ทำให้ข้าวเสีย ที่มีปัญหาข้าวบูดเน่าคือการเก็บรักษาที่ไม่ดี โรงสีทั้งสองถือว่ามีการเก็บรักษาที่ดี โรงสีกิตติชัยรมยาทุก 2 เดือน โรงสีพูนผลรมยาทุกเดือน ซึ่งผู้ถือกุญแจทั้ง 3 ส่วน ถือกุญแจคนละดอกมาเปิดต่อหน้า อยากเจาะกระสอบไหนชี้เลย จะได้เอาข้าวออกมาไปหุงชิมทั้งสองโรง

จากนี้เร็วที่สุด ภายในสิ้นเดือนนี้น่าจะสามารถเปิดประมูลได้ จะทำให้เร็วที่สุด ตนพิสูจน์ขั้นต้นให้แล้ว จะประมูลเหมากองเอาไปทั้งหมดขายทั้งหมด เอาเงินเข้ารัฐจ่ายคืนเจ้าของโกดัง ตามความเหมาะสม เป็น 2 โกดังสุดท้ายของโครงการจำนำข้าวซึ่งจะได้พิสูจน์ว่าข้าว 10 ปียังทานได้ เป็นข้าว 2 โกดังสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ ตนมาเป็นรัฐมนตรีฯให้พิสูจน์กันไปเลยจัดการให้จบ ไม่ต้องการให้เรื่องคั่งค้าง” นายภูมิธรรมกล่าว


โดยในช่วงเช้านายภูมิธรรม พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน บริษัทเซอร์เวย์ผู้ตรวจสอบคุณภาพและรับข้าวสารเข้าคลัง สมาคมโรงสี ผู้ส่งออกข้าว อาทิ บริษัท ธนสรร ไรซ์ จำกัด บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด บริษัท เจ.พี.ไรซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล(1998)จำกัด คณะผู้สื่อข่าวร่วมเปิดโกดังที่คลังกิตติชัย หลัง 2 อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ และเก็บตัวอย่างข้าว รวม 9 ตัวอย่าง มาดูลักษณะทางกายภาพและนำมาหุงให้กับบรรดาสื่อมวลชนที่ร่วมลงพื้นที่ ร่วมกันชิมข้าวสวยที่ได้จากข้าวสารในโกดังทั้ง 2 แห่ง กับกะเพราไก่ ไข่เจียว








ทั้งนี้ข้อมูลจากองค์การคลังสินค้า(อคส.) ระบุว่า โครงการรับจำนำฯปี 2556/57 จ.สุรินทร์ 1.คลังกิตติชัย หลัง 2 (ข้าวหอมมะลิ 100%) รับมอบข้าวสารตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2557 ถึง 10 มีนาคม 2557 เก็บข้าวแล้ว 10 ปี 2 เดือน รวมปริมาณทั้งสิ้น 26,094 ตัน หรือ 258,106 กระสอบจาก 24 โรงสี และได้มีการระบายข้าวสารแล้ว 3 ครั้ง คงเหลือ 11,656 ตัน หรือ 112,711 กระสอบ


2.คลัง บจก.พูนผลเทรดดิ้ง หลัง 4 (ข้าวหอมมะลิ 100%) รับมอบข้าวสารตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2557 ถึง 29 เมษายน 2557 เก็บข้าวแล้ว 10 ปี 7 วัน มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 9,567 ตัน หรือ 94,637 กระสอบ จาก 6 โรงสี ซึ่งระบายข้าวสารแล้ว 4 ครั้ง คงเหลือ 3,356 ตัน หรือ 32,879 กระสอบ


ด้าน น.ส.ทิชาภา อ่าวพัฒนา เจ้าของโกดังกิตติชัย กล่าวว่า โกดังได้ปฏิบัติตามที่ อคส. (องค์การคลังสินค้า) สร้างมาตรฐานไว้ โดย


1.ดูความเรียบร้อยของคลังไม่ให้เกิดน้ำรั่ว ถ้าเกิดน้ำรั่วจะทำให้ข้าวเน่าเสีย

2.ต้องรมยาทุก 2 เดือน

3.จำนวนกระสอบห้ามหาย ซึ่งมีการประมูลมาแล้ว ปกติมีข้าวประมาณ 400,000 กระสอบ ตอนนี้เหลือ 110,000 กระสอบ ประมูลมาแล้วเกิน 2 ครั้งจะเป็นหน้าที่ของ อคส.กับผู้ประมูล


ที่ผ่านมาการประมูลในแต่ละรอบราคาก็คือข้าวบริโภคเลย ซึ่งข้าวในโกดังมีการคัดกรองให้ได้ข้าวหอมมะลิคุณภาพตามมาตรฐาน เมื่อเดือนที่แล้วได้มีการเปิดคลังทดลองชิมไปเรียบร้อยยังบริโภคได้

และนายศุภชัย วรอภิญญาภรณ์ ผู้แทนจากบริษัท ธนสรร ไรซ์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ กล่าวว่า ที่ตนมาร่วมพิสูจน์ข้าวในวันนี้เพราะลูกค้าในแอฟริกาสนใจซื้อข้าวเก่า เพราะหุงขึ้นหม้อหากคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้าบริษัทก็พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูล
















วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

พิธีเชิญสิ่งของพระราชทานมอบแก่ประชาชนผู้ประสบอัคคีภัย ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ





มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยนายสันทัด  แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานในพิธีเชิญสิงของพระราชทานมอบแก่ประชาชนผู้ประสบอัคคีภัย ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ

  วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.30 น ณ.บริเวณบ้านเลขที่ 140(นางชรินทร สนิทพันธ์) หมู่ที่ 7 บ้านโนนแดง  ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์

  ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ท่าน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติต่างๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญสิ่งของพระราชทานมามอบให้ประชาชน ที่ประสบอัคคีภัยในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ เพื่อบรรเทาทุกข์ความเดือดร้อนและเป็นกำลังใจให้สามารถผ่านช่วงวิกฤตการณ์นี้ไปได้ด้วยดีในวันนี้

      มูลนิธิราชประชานุเคราะห์นั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มาหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506 จากเหตุการณ์มหาวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปีพ.ศ. 2505 เพื่อดำเนินงานด้านการส่งเคราะห์ ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ทั่วประเทศ รวมถึงสงเคราะห์ด้านการศึกษา ด้วยการมอบทุนการศึกษา แก่เด็กกำพร้าที่ครอบครัวประสบสาธารณภัย และเด็กที่เรียนดีในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ มูลนิธิรัฐประชานุเคราะห์ ได้ยึดถือพระราชดำริมาปฏิบัติเป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว ดังพระบรมราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มาหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงวางรากฐานการดำเนินงานของมูลนิธิไว้ และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่ ที่จะสืบสานรักษา ต่อยอด ในการดำเนินงานของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบสาธารณภัยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยทรงห่วงใยอาณาประชาราษฎร์เป็นสิ่งสำคัญ

   ในวันนี้ นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดสุรินทร์ ได้มอบหมายให้นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เชิญสิ่งของพระราชทาน เพื่อมอบให้แก่ผู้ประสบอัคคีภัยครอบครัวของ นางชรินทร  สนิทพันธ์  ซึ่งได้เกิดอัคคีภัย เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2567 ตามที่นายอำเภอศีขรภูมิได้รายงานสถานการณ์แล้ว จำนวน 1 ครอบครัว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบของอัคคีภัย และสร้างขวัญและกำลังใจ ในการต่อสู้ฝ่าฟันให้พ้นวิกฤตภัยครั้งนี้ไปได้ด้วยดี  ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้














วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567

โครงการพัฒนาระบบการบำบัดรักษาพื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและติดตามผู้ยาเสพติด ส่งเสริมป้องกันผู้เสพรายใหม่ ของอำเภอศีขรภูมิ










โครงการพัฒนาระบบ การบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และติดตามผู้เสพยาเสพติด ส่งเสริมป้องกัน นักเสพหน้าใหม่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 ในกลุ่มผู้นำชุมชน

วันที่ 30 เมษายน 2567 ณ.หอประชุมอำเภอศีขรภูมิ

จังหวัดสุรินทร์

โดยมีนายวัลลภ อินทร์สะอาด ปลัดฝ่ายความมั่นคงกล่าวต้อนรับเปิดงาน และมีนางวัลยา  ยางงาม ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอศีขรภูมิ นางชัญวลัย มงคลเคหา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ศีขรภูมิ และ ด.ต.มานัส ราษี ผบ.หมู่(ป)สภ.ศีขรภูมื กล่าวรายงาน มี  พ.ต.ต.เสมอ คำนึงคง

สวป(ชส)สภ.ศีขรภูมิ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ  ปิดการอบรมโครงการโดยนายพิศาล เคล้ากล้า นายอำเภอศีขรภูมิ

การบรรยายให้ความรู้เรื่องสมรรถภาพด้านการบำบัดรักษาพื้นฟูสมรรถภาพและผู้เสพติด ส่งเสริมป้องกันนักเสพหน้าใหม่ลดอัตรายจากยาเสพติดในชุมชน แนวทางแก้ปัญหา โดยแพทย์หญิงนันทิดา  ทองอ้ม

แพทย์ชำนาญการพิเศษด้านเวชกรรมป้องกันชุมชนสุขภาพจิตชุมชน

ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่แพร่ระบาดอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาความไม่มั่นคงในประเทศ ทั้งในด้านอาชญากรรม เศรษฐกิจและสังคมต่างๆ มากมาย ซึ่งบั่นทอนความสามารถในการพัฒนาประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้ โดยปัญหายาเสพติดในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกไร้พรมแดนได้มีการปรับเปลี่ยนไปทั้งในลักษณะประเภทของยาเสพติด กลุ่มเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติด และความสามารถในการเข้าถึงยาเสพติดได้โดยง่ายทั้งในฐานะผู้ค้าและผู้เสพ ซึ่งทำให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดทำได้ยากลำบากมากขึ้น  สภาพปัญหา ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติด 

  ผลที่คาดหวัง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบำบัดรักษา ติดตามและให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดและป้องกันไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ คืนคนดีสู่สังคม เพื่อให้ครอบครัว ชุมชนมีความสุขปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดจึงจัดทำโครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อเป็นกระบวนการหนึ่งในการขับเคลื่อนศักยภาพเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567

มหกรรมวันกูยโลก ประจำปี 2567

 






พิธีเปิดงานมหกรรมวันกูยโลก ปี 2567.                         วันที่ 28 เมษายน 2567 ณ.สนามที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

  โดยมี นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงาน มีนายสุพัฒน์ โพธิสาร นายกสมาคมชาติพันธุ์กูย กล่าวรายงาน และตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ กูย ชุมชนชาวกูยทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสมาคมกลุ่มชาติพันธุ์กูยให้การต้อนรับ

 การจัดงาน "มหกรรมวันกูยโลก ปี 2567" ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2567 การสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์กูย เป็นการส่งเสริมฟื้นฟู เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ อันดีงามของพื้นถิ่น เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของสังคม ตลอดจนเศรษฐกิจชุมชน โดยการสำรวจข้อมูลชุมชนชาวกูย ในประเทศไทย ของสมาคมชาติพันธุ์กูย พบว่าชุมชนชาวกูยที่เข้มแข็ง และยังคงสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามมีจำนวน 13 จังหวัด กระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ จำนวน 69 อำเภอ คิดเป็นตำบล 191 ตำบลหรือ 978 หมู่บ้าน โดยชุมชนชาวกูย ที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เข้มแข็งมีแนวโน้มลดลงถึงขั้นวิกฤตและในปัจจุบันยังพบพี่น้อง ที่มีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกัน อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และประเทศเวียดนาม ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันเช่น กูย กวย  สวย กูยชูย กูยเญอ กูยบรู เขมรป่าดง เขมรโบราณ ข่าโทร่ส่วย เป็นต้น จากการเปลี่ยนแปลงการเมือง การปกครอง และสังคมเศรษฐกิจ ส่งภวะกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดความสูญเสีย เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ดีงาม ซึ่งในบางชุมชนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ถึงขั้นวิกฤต และคนรุ่นใหม่ๆ ไม่สามารถพูดภาษาชาติพันธุ์ตนเองได้ทางสมาคมจึงเล็งเห็นถึงปัญหาและวิกฤตที่เกิดขึ้นจึงได้ดำเนินการจัดงาน มหกรรมวันกูยโลกขึ้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ได้ตระหนักและช่วยกันส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟู ให้วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย คงอยู่สืบไป และในการจัดงานมหกรรมมันกูยโลกในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1  เพื่อส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์ประเพณีวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กูย ให้มีความเข้มแข็งและมีบทบาทด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีสุรินทร์ต่อไป

2.  เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเชิงวิชาการของกลุ่มชาติพันธุ์กูย สู่การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

 การจัดงานในครั้งนี้มีหน่วยงานร่วมบูธการได้แก่

1. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ สนับสนุนงบประมาณ ส่วนหนึ่งในการจัดขบวนแห่และการจัด ทำเกียรติบัตรมอบให้ผู้สนับสนุน กิจกรรม ครั้งนี้

2.  สภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์

3.  วัดศาลาเย็น

 นายสันทัด แสงทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์กล่าวว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ในประเทศไทยมีความหลากหลายและมีวัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่นเป็นของตนเอง โดยเฉพาะ กลุ่มชาติพันธุ์กูยหรือกวย ที่มีพื้นที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัฒนธรรมประเพณีที่ควรค่าในการส่งเสริม สนับสนุนต่อยอดสร้างมูลค่าในทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวและมีอัตลักษณ์โดดเด่นด้านภาษาการแต่งกายและคชศาสตร์ชาวกูย ที่เป็นอัตลักษณ์ เฉพาะของหมอช้างและคนเลี้ยงช้างของจังหวัดสุรินทร์ หนึ่งเดียวใน

ลก คนกับช้างอาศัยอยู่ด้วยกันเหมือน พี่น้องครอบครัวเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ควรค่าในการสืบทอดอนุรักษ์ให้อยู่คู่ลูกหลานตลอดไป นอกจากนี้มีการพัฒนาฐานข้อมูลเชิงวิชาการของกลุ่มชาติพันธุ์กูย สู่การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานในครั้งนี้ จะทำให้เกิดความร่วมมือเกิดการประสานสัมพันธ์ในกลุ่มชาติพันธุ์กูยด้วยกันและเป็นแนวทางส่งเสริมสนับสนุนด้านการท่องเที่ยววิถีสุรินทร์ต่อไป