srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565

รวมพลังสตรีสังขะ

กรรมการพัฒนาสตรีอำเภอสังขะจัดงาน “รวมพลังสตรีสังขะ” เทิดไท้องค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 29 สิงหาคม 2565 ที่หอประชุมอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ นายธาตรี สิริรุ่งวนิช นายอำเภอสังขะ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน โครงการรวมพลังสตรีสังขะ เทิดไท้องค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ภายในงานมีกิจกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย กิจกรรมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณแม่ดีศรีหมู่บ้านจำนวน 196 ราย การแสดงเทิดพระคุณแม่จากคณะกรรมการพัฒนาสตรี ทั้ง การจัดแสดงจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพสตรีและผลิตภัณฑ์ OTOP นายธาตรี สิริรุ่งวนิช นายอำเภอสังขะ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า เนื่องในโอกาสวันสตรีไทยประจำปี 2565 อำเภอสังขะ คณะกรรมการพัฒนาสตรอำเภอสังขะ ได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สตรีมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกๆด้านในสังคม และร่วมกันเสริมสร้างพลังสตรีให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรมประเพณีอย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติแม่ดีศรีหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกทั้งสิ้น 196 ราย โดยมีกลุ่มสตรีจากตำบลต่างๆ หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน กลุ่มองค์กร ภาคีเครือข่าย สมาชิกองค์กรสตรีอำเภอสังขะ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งประมาณ 400 คน ทั้งนี้นางกิ่งกาญจน์ พัวไพฑูรย์ นายกเทศมนตรีตำบลสังขะ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นคุณแม่ดีเด่น ได้กล่าวว่า ตนเองรู้สึกยินดีและขอขอบพระคุณทุกๆหน่วยงานที่ได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สังคมไทยยอมรับในบทบาทของสตรีมากยิ่งขึ้น และเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้กลุ่มสตรีต่างๆได้พัฒนาศักยภาพของตนเองที่จะก้าวไปสู่ระดับนานาชาติ
มากยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565

โครงการทหารพันธุ์ดี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการทหารพันธุ์ดี กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๒๓ ค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการทหารพันธุ์ดีกองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๒๓ และส่งเปิดศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทาน "เพื่อนช่วยเพื่อน" พื้นที่อีสานใต้ ส่วนแยกสุรินทร์ซึ่งศูนย์ดังกล่าวได้รับพระราชทานพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลานิลจิตรลดาจำนวน ๓ ครั้งรวม ๑,๕๐๓ ตัว จากนั้นได้ผลิตพันธุ์ปลานิลจิตรลดา สนับสนุนมูลนิธิชัยพัฒนานำไปพระราชทานให้กับประชาชนจำนวน ๑๙ ครั้ง รวม ๖๑๔,๔๒๐ ตัว โดยจัดให้มีการศึกษาดูงานการเพาะพันธุ์ปลานิล จิตรลดาให้กับกำลังพลและครอบครัวของหน่วย รวมทั้งประชาชน หน่วยทหาร ส่วนราชการ ครอบครัวทหารใหม่ และผู้ที่มีความสนใจเข้าศึกษาดูงาน มีการติดตามผลการดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ เข้าให้คำปรึกษาแนะนำการเพาะเลี้ยงตามแบบธรรมชาติสร้างเครือข่ายสู่ชุมชน ด้วยการมอบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้กับผู้ที่สนใจจำนวน ๔๑ ครั้ง รวม ๔,๗๐๐ ตัว สำหรับโครงการทหารพันธุ์ดีฯ ได้ดำเนินการกิจกรรมด้านการเกษตรของหน่วยโดยดำเนินการขยายผลการอบรมให้ความรู้ในเรื่องการปลูกผักปลอดภัยให้กับกำลังพล นายทหาร นายสิบ พลทหารกองประจำการ และครอบครัวกำลังพล เยาวชน ประชาชน และหน่วยงานที่มีความสนใจ จำนวน ๒๑ ครั้ง มีผู้ผ่านการอบรมจำนวน ๘๙๖ ราย รวมทั้งการขยายผลเข้าสู่ชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติราชการชายแดนด้วยการส่งเสริมให้รู้จักการปลูกผักเพื่อใช้รับประทานภายในครัวเรือนเป็นการลดต้นทุนในการดำเนินชีวิต

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

โครงการพัฒนาประสิทธิภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน

วันที่ 26 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมอำเภอบัวเชด นายพิสิทธิ์ ศรีวรานันท์ นายอำเภอบัวเชด เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาประสิทธิภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ประจำปี 2565 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพคณะกรรมการหมู่บ้านให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการกลางหมู่บ้าน ให้สามารถเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนภารกิจในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยสามารถบริหารจัดการภายในหมู่บ้านได้โดยครอบคลุมทุกภารกิจที่ได้รับมอบหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด

กองการทำหนังสือเดินทางเคลื่อนที่

กองหนังสือเดินทางบริการทำหนังสือเดินทาง เคลื่อนที่ ณ.หอประชุม(อบจ)จังหวัดสุรินทร์ เชิญชวนชาวสุรินทร์ และผู้สนใจ ทำหนังสือเดินทางกับหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ ที่ จ.สรินทร์ นายกาจฐิติ วิวัธวานนท์ ผู้อำนวยการกองหนังสือเดินทาง กล่าวว่า กองหนังสือเดินทาง ได้กำหนดจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ที่จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม 2565 เวลา 08.00-16.30 น. ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้บริการรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางทูต ราชการ ฮัจญ์ และหนังสือเดินทางของพระภิกษุ) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในจังหวัดสุรินทร์และพื้นที่ใกล้เคียงตามนโยบายการทูตเพื่อประชาชน ผู้สนใจสามารถเตรียมบัตรประชาชนตัวจริง มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิก พร้อมค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง อายุเล่มไม่เกิน 5 ปี 1,000 บาท และไม่เกิน 10 ปี 1,500 บาท พร้อมค่าส่งไปรษณีย์ (EMS) 40 บาท ไปขอทำได้ที่ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ตามวันและเวลาดังกล่าว เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง กรณีผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง )มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิก กรณีผู้เยาว์ อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ 1 บัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับจริง) กรณีอายุยังไม่เกิน 15 ปี ใช้สูจิบัตร(ฉบับจริง) ที่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป ที่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ให้ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับจริง) 2 ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกยกเลิก (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น) 3 บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง) ที่ยังไม่หมดอายุหรือหนังสือเดินทางสำหรับชาวต่างชาติ 4 บิดาและมารดาต้องมาลงนามในความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน 4.1 กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรส และผู้เยาว์อยู่ในความอบสักการะของมารดา แต่ผู้เดียวให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอ หรือสำนักทะเบียน ท้องถิ่น(ฉบับจริง) 4.2 กรณีบิดาและบรรดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอม พร้อมกับบันทึกการหย่า(ฉบับจริง) และนำมาแสดง 4.3 กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนาม ให้ความยินยอมได้ให้ผู้นั้น ทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น(ฉบับจริง)และนำมาแสดง 5 ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดาฉบับจริง(หากมี) ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง 1)ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางอายุ เล่มไม่เกิน 5 ปี 1,000 บาท 2) ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางอายุเล่มไม่เกิน 10 ปี 1500 บาท 3) ค่าส่งไปรษณีย์ (EMS) 40 บาท -- ผู้รับบริการจะได้รับหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน 3-5 วันทำการ โดยทาง กรมการกงสุล จะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ให้ถูกต้องชัดเจนเพื่อป้องกันการสูญหาย และความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์ กองหนังสือเดินทาง โทร 02 203 500 ต่อ 32451, 32452 -- ผู้มีหนังสือเดินทางอายุใช้งานเหลือ 6 เดือนหรือน้อยกว่าควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเดิมมายกเลิกด้วย

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ชาวบ้าน ฮือฮาต้นตะเคียนอายุนับร้อยปี ลอยมาติดฝั่งแม่น้ำมูลหน้าบ้านท่าน้ำของชาวบ้าน

ชาวบ้านดง ต.กุดขาครีม อ.รัตนบุรี ฮือฮา !!! ต้นตะเคียนอายุนับร้อยปีลอยมาติดฝั่งแม่น้ำมูลท่าน้ำหน้าบ้านลุงพุดทา วันที่ 22 ส.ค.65ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าได้มีต้นตะเคียนอายุราวนับร้อยปีลอยมาติดฝั่งลำแม่น้ำมูลที่หมู่บ้านดง หมู่ที่2 ตำบลกุดขาคีมอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์จึงได้เดินทางเข้าไปตรวจสอบ พบชาวบ้านจำนวน 30 กว่าคนกำลังยืนมุงดูกันเต็มราวบันไดท่าน้ำทางขึ้นของบ้านคุณตาพุดทา มาเสมอ อายุ82 ปี บ้านเลขที่6/3บ้านดง ม.2โดยคุณตาพุดทา ได้บอกว่าก่อนที่จะเห็นต้นตะเคียนลอยมาติดกับบันไดท่าน้ำข้างบ้านตนนั้นเมื่อคืนลูกเขยที่ชื่อว่านายหลงได้ฝันว่าได้มีลูกหมูสีดำจำนวน5 ถึง6 ตัว วิ่งเข้ามอยู่ที่บ้านแต่ตนเองไม่ได้คิดอะไรพอตื่นเช้าก็มาเห็นต้นตะเคียนสีดำมาติดบันไดบ้าน  โดยต้นตะเคียนดังกล่าวชาวบ้านเรียกว่าแม่ต้นตะเคียนทอง ซึ่งมีอายุราวนับ100 ปี จึงได้พากันจัดขัน 5 ขัน8 ตามความเชื่อว่าต้นตะเคียนดังกล่าวที่มาติดราวบันไดท่าน้ำนั้นอาจจะนำโชคลาภมาให้ พร้อมกับจุดธูปเทียนเพื่อที่จะขอขมาและขอโชคลาภ หลังจากนั้นก็ให้ลูกหลานลงไปวัดล้อมรอบต้นตะเคียน ได้20 เซ็นติเมตร  และความยาว17.50เมตรก่อนที่จะลงมือจุดธูปเทียนเพื่อที่จะขอโชคลาภซึ่งเลขธูปได้ 165 และชาวบ้านก็ใช้ความยาว17.50 และวัดรอบต้นตะเคียนนำไปเสี่ยงโชคในวันที่1กันยายน 2565 ที่จะถึงนี้โดยมีเลข 17,50,65,20,16 เลขธูป 165 นำไปเสี่ยงโชคกัน

ชีวิตแสนลำเค็ญยากลำบาก

ชีวิตแสนลำเค็ญยากลำบาก บ้านอยู่อาศัยเก่าทรุดโทรม ไม่มีแม้กระทั่งห้องน้ำใช้ ไฟฟ้าต้องขอต่อจากเพื่อนบ้าน ข้าวปลาอาหารจะ ประทัง ชีวิตไปวันๆแทบไม่มี เด็กนักเรียนร้องขอความช่วยเหลือ ผมอยากเรียนหนังสือช่วยผมหน่อยได้ไมครับ อาศัยอยู่กับพ่อบ้านเก่าๆทรุดโทรม ไม่มีห้องน้ำใช้ ชีวิตยากลำบากแต่อยากเรียนหนังสือ วันที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ว่ามีผู้ยากไร้ร้องขอความช่วยเหลือ ผู้สื่อข่าวฯจึงลงพื้นที่ พบกับนายศิลา อินทร์ดี อายุ 35 ปี อาศัยอยู่กับลูกชาย 2 คน ในบ้านไม่หลังเก่าๆ สภาพทรุดโทรม หลังคาสังกะสีมีรูรั่ว พื้นบ้านเป็นพื้นดิน ต้องเอาไม้มารองสำหรับวางที่นอนไม่ให้เปียกชื้นเวลาฝนตก สภาพความเป็นอยู่แสนยากลำบาก ไฟฟ้าขอต่อมาจากบ้านเพื่อนบ้านข้างๆ ไม่มีห้องสุขาใช้ ลูกชายคนเล็กเรียนอยู่ ป.2 ลูกชายคนโตเรียนอยู่ ป.5 นายศิลา มีอาชีพรับจ้างทั่วไป วันไหนมีคนจ้างทำงานก็มีเงินซื้อข้าวกิน วันไหนไม่มีคนจ้างก็ไม่มีเงินซื้อข้าวกิน ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างลำเค็ญยากลำบาก ไม่มีหน่วยงานใดให้การช่วยเหลือ โดยให้เหตุผลว่า บ้านที่นายศิลาอาศัยอยู่นั้นไม่มีเลขที่บ้าน จึงไม่สามารถเสนอของบประมาณให้ความช่วยเหลือได้ นายศิลา ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ตนเองรู้สึกสงสารลูกชายทั้ง 2 คน บางวันก็มีเงินให้ลูกไปซื้อขนมกินที่โรงเรียน บางวันก็ไม่มีเงินให้ ตนเองมีอาชีพรับจ้างทำงานทั่วไปโดยได้เงินค่าจ้างวันละ 300 บาท แต่ก็ไม่ได้มีงานจ้างทุกวัน ที่สงสารลูกชายเพราะว่าลูกชายมักจะถามว่า ผมจะได้เรียนหนังสือต่อไมครับพ่อ ตนก็ได้แต่ปลอบโยนลูกไปว่า ยังไงลูกพ่อก็ต้องได้เรียนหนังสือเหมือนคนอื่นๆแน่นอน ซึ่งตนเองก็พยายามหางานทำเพื่อที่จะเลี้ยงดูลูกชายทั้ง 2 คน ยอมรับว่าทุกวันนี้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก แต่ก็ต้องอดทนสู้เพื่อลูกชายทั้ง 2 คน ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวฯ ได้ประสานขอความช่วยเหลือจากนายชนะชล มูลจันทร์ ประธาน กต.ตร.สภ.บัวเชด ประธานชมรมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งนายชนะชลก็ได้ลงพื้นที่ทันที โดยได้นำเครื่องอุปโภค-บริโภค เช่น ข้าวสาร ปลากระป๋อง ไข่ไก่ มาม่า น้ำดื่ม น้ำปลา น้ำมันพืช เส้นหมี่แห้ง น้ำตาลทราย และมอบเงินสดจำนวน 1,000 บาท เพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้น นายชนะชล มูลจันทร์ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ตนได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของพ่อ-ลูก ทั้ง 3 ชีวิตแล้ว รู้สึกสงสารเด็กๆมาก จากนี้ไปจะประสานขอความช่วยเหลืออนุเคราะห์และขอความช่วยเหลือไปยังกลุ่มเพื่อนที่รู้จัก และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ลงมาช่วยเหลือดูแลครอบครัวนี้ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2565

โครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง

exBBdgTbL0s9H8BOjpcUZrMm-wSJAyG12mBCIEjFeGkY9zhz74XstCTf_WE10j1VrV1Vr1nDrOpxQcVwfjJNbucv1Nrhc5j9hF7V2XhqEMnzKZDGyZZmDjzuQWwW85LrDwpFC6LEKHsJpZn6WODOP/s960/1661065656942.jpg" style="display: block; padding: 1em 0; text-align: center; ">
โครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง โดย อสม.บัวเชด ประสานความร่วมมือกับ เทศบาลบัวเชด และโรงพยาบาลบัวเชด ออกเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายสมบัติ เอ็นดู กำนันตำบลบัวเชด ร่วมกับ อสม.บ้านหมื่นสังข์ ได้ประสานขอความร่วมมือกับเทศบาลตำบลบัวเชด โดยนายไตรภพ ดวงอินทรีย์ นายกเทศมนตรีตำบลบัวเชด และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบัวเชด จัดโครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ในภาคเช้าเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลบัวเชด ได้เป็นวิทยากรอบรมเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ การรับประทานอาหาร และการการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย โดยนางสาวประกายดาว แก้วดี และนางสาวมุกดา ศรีพิมพ์ พยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลบัวเชด ร่วมทั้งการอบรมให้ความรู้กับ อสม.ในการช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ส่วนในช่วงภาคบ่าย กำนันสมบัติ เอ็นดู และ อสม.ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบัวเชดร่วมกันลงพื้นที่มอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงท่ามกลางสายฝน ที่ตกตลอดทั้งวัน ร่วมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกต้องและถูกวิธีให้กับญาติที่ดูผู้สูงอายุ ในพื้นที่บ้านหมื่นสังข์ หมู่ที่ 4 ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงวัยมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทางการสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นจากโรคเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยระยะท้ายของชีวิต โดยรัฐบาลมีนโยบายเพิ่มทีมหมอครอบครัวในการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดการดูแลซึ่งกันและกัน จากการลงเยี่ยมบ้าน ของ อสม.และโรงพยาบาลบัวเชด พบว่า มีผู้ป่วยติดเตียงและติดบ้าน จำนวนมาก จำแนกเป็นกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง การขาดกำลังใจ ผู้ดูแลมีความเครียดเกิดปัญหาในครอบครัวตามมา ทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น การดูแลสุขภาพที่บ้านยังเป็นบทบาทของญาติหรือลูกหลาน ขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลของชุมชน ดังนั้น โรงพยาบาล และ รพ.สต.ในพื้นที่เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง โดยการสร้างเครือข่ายชุมชนดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพื่อให้ผู้นำชุมชน, อสม. ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปช่วยผู้ดูแลหรือญาติ คนใกล้ชิด หรือแนะนำผู้อื่นให้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกต้อง เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำงานเทศบาลในพื้นที่ การอบรมให้ความรู้แก่ อสม.ในครั้งนี้ คือ อบรม ผู้ดูแลด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้องรังและผู้สูงอายุในชุมชน ประสานงานทีมสุขภาพทุกระดับชั้น จัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุที่รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาล และ ติดตามดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้านได้อย่าง สม่ำเสมอ