srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2565

โครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง

exBBdgTbL0s9H8BOjpcUZrMm-wSJAyG12mBCIEjFeGkY9zhz74XstCTf_WE10j1VrV1Vr1nDrOpxQcVwfjJNbucv1Nrhc5j9hF7V2XhqEMnzKZDGyZZmDjzuQWwW85LrDwpFC6LEKHsJpZn6WODOP/s960/1661065656942.jpg" style="display: block; padding: 1em 0; text-align: center; ">
โครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง โดย อสม.บัวเชด ประสานความร่วมมือกับ เทศบาลบัวเชด และโรงพยาบาลบัวเชด ออกเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายสมบัติ เอ็นดู กำนันตำบลบัวเชด ร่วมกับ อสม.บ้านหมื่นสังข์ ได้ประสานขอความร่วมมือกับเทศบาลตำบลบัวเชด โดยนายไตรภพ ดวงอินทรีย์ นายกเทศมนตรีตำบลบัวเชด และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบัวเชด จัดโครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ในภาคเช้าเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลบัวเชด ได้เป็นวิทยากรอบรมเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ การรับประทานอาหาร และการการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย โดยนางสาวประกายดาว แก้วดี และนางสาวมุกดา ศรีพิมพ์ พยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลบัวเชด ร่วมทั้งการอบรมให้ความรู้กับ อสม.ในการช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ส่วนในช่วงภาคบ่าย กำนันสมบัติ เอ็นดู และ อสม.ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบัวเชดร่วมกันลงพื้นที่มอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงท่ามกลางสายฝน ที่ตกตลอดทั้งวัน ร่วมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกต้องและถูกวิธีให้กับญาติที่ดูผู้สูงอายุ ในพื้นที่บ้านหมื่นสังข์ หมู่ที่ 4 ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงวัยมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทางการสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นจากโรคเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยระยะท้ายของชีวิต โดยรัฐบาลมีนโยบายเพิ่มทีมหมอครอบครัวในการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดการดูแลซึ่งกันและกัน จากการลงเยี่ยมบ้าน ของ อสม.และโรงพยาบาลบัวเชด พบว่า มีผู้ป่วยติดเตียงและติดบ้าน จำนวนมาก จำแนกเป็นกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง การขาดกำลังใจ ผู้ดูแลมีความเครียดเกิดปัญหาในครอบครัวตามมา ทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น การดูแลสุขภาพที่บ้านยังเป็นบทบาทของญาติหรือลูกหลาน ขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลของชุมชน ดังนั้น โรงพยาบาล และ รพ.สต.ในพื้นที่เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง โดยการสร้างเครือข่ายชุมชนดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพื่อให้ผู้นำชุมชน, อสม. ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปช่วยผู้ดูแลหรือญาติ คนใกล้ชิด หรือแนะนำผู้อื่นให้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกต้อง เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำงานเทศบาลในพื้นที่ การอบรมให้ความรู้แก่ อสม.ในครั้งนี้ คือ อบรม ผู้ดูแลด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้องรังและผู้สูงอายุในชุมชน ประสานงานทีมสุขภาพทุกระดับชั้น จัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุที่รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาล และ ติดตามดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้านได้อย่าง สม่ำเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น