srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ชาวบ้าน ฮือฮาต้นตะเคียนอายุนับร้อยปี ลอยมาติดฝั่งแม่น้ำมูลหน้าบ้านท่าน้ำของชาวบ้าน

ชาวบ้านดง ต.กุดขาครีม อ.รัตนบุรี ฮือฮา !!! ต้นตะเคียนอายุนับร้อยปีลอยมาติดฝั่งแม่น้ำมูลท่าน้ำหน้าบ้านลุงพุดทา วันที่ 22 ส.ค.65ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าได้มีต้นตะเคียนอายุราวนับร้อยปีลอยมาติดฝั่งลำแม่น้ำมูลที่หมู่บ้านดง หมู่ที่2 ตำบลกุดขาคีมอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์จึงได้เดินทางเข้าไปตรวจสอบ พบชาวบ้านจำนวน 30 กว่าคนกำลังยืนมุงดูกันเต็มราวบันไดท่าน้ำทางขึ้นของบ้านคุณตาพุดทา มาเสมอ อายุ82 ปี บ้านเลขที่6/3บ้านดง ม.2โดยคุณตาพุดทา ได้บอกว่าก่อนที่จะเห็นต้นตะเคียนลอยมาติดกับบันไดท่าน้ำข้างบ้านตนนั้นเมื่อคืนลูกเขยที่ชื่อว่านายหลงได้ฝันว่าได้มีลูกหมูสีดำจำนวน5 ถึง6 ตัว วิ่งเข้ามอยู่ที่บ้านแต่ตนเองไม่ได้คิดอะไรพอตื่นเช้าก็มาเห็นต้นตะเคียนสีดำมาติดบันไดบ้าน  โดยต้นตะเคียนดังกล่าวชาวบ้านเรียกว่าแม่ต้นตะเคียนทอง ซึ่งมีอายุราวนับ100 ปี จึงได้พากันจัดขัน 5 ขัน8 ตามความเชื่อว่าต้นตะเคียนดังกล่าวที่มาติดราวบันไดท่าน้ำนั้นอาจจะนำโชคลาภมาให้ พร้อมกับจุดธูปเทียนเพื่อที่จะขอขมาและขอโชคลาภ หลังจากนั้นก็ให้ลูกหลานลงไปวัดล้อมรอบต้นตะเคียน ได้20 เซ็นติเมตร  และความยาว17.50เมตรก่อนที่จะลงมือจุดธูปเทียนเพื่อที่จะขอโชคลาภซึ่งเลขธูปได้ 165 และชาวบ้านก็ใช้ความยาว17.50 และวัดรอบต้นตะเคียนนำไปเสี่ยงโชคในวันที่1กันยายน 2565 ที่จะถึงนี้โดยมีเลข 17,50,65,20,16 เลขธูป 165 นำไปเสี่ยงโชคกัน

ชีวิตแสนลำเค็ญยากลำบาก

ชีวิตแสนลำเค็ญยากลำบาก บ้านอยู่อาศัยเก่าทรุดโทรม ไม่มีแม้กระทั่งห้องน้ำใช้ ไฟฟ้าต้องขอต่อจากเพื่อนบ้าน ข้าวปลาอาหารจะ ประทัง ชีวิตไปวันๆแทบไม่มี เด็กนักเรียนร้องขอความช่วยเหลือ ผมอยากเรียนหนังสือช่วยผมหน่อยได้ไมครับ อาศัยอยู่กับพ่อบ้านเก่าๆทรุดโทรม ไม่มีห้องน้ำใช้ ชีวิตยากลำบากแต่อยากเรียนหนังสือ วันที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ว่ามีผู้ยากไร้ร้องขอความช่วยเหลือ ผู้สื่อข่าวฯจึงลงพื้นที่ พบกับนายศิลา อินทร์ดี อายุ 35 ปี อาศัยอยู่กับลูกชาย 2 คน ในบ้านไม่หลังเก่าๆ สภาพทรุดโทรม หลังคาสังกะสีมีรูรั่ว พื้นบ้านเป็นพื้นดิน ต้องเอาไม้มารองสำหรับวางที่นอนไม่ให้เปียกชื้นเวลาฝนตก สภาพความเป็นอยู่แสนยากลำบาก ไฟฟ้าขอต่อมาจากบ้านเพื่อนบ้านข้างๆ ไม่มีห้องสุขาใช้ ลูกชายคนเล็กเรียนอยู่ ป.2 ลูกชายคนโตเรียนอยู่ ป.5 นายศิลา มีอาชีพรับจ้างทั่วไป วันไหนมีคนจ้างทำงานก็มีเงินซื้อข้าวกิน วันไหนไม่มีคนจ้างก็ไม่มีเงินซื้อข้าวกิน ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างลำเค็ญยากลำบาก ไม่มีหน่วยงานใดให้การช่วยเหลือ โดยให้เหตุผลว่า บ้านที่นายศิลาอาศัยอยู่นั้นไม่มีเลขที่บ้าน จึงไม่สามารถเสนอของบประมาณให้ความช่วยเหลือได้ นายศิลา ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ตนเองรู้สึกสงสารลูกชายทั้ง 2 คน บางวันก็มีเงินให้ลูกไปซื้อขนมกินที่โรงเรียน บางวันก็ไม่มีเงินให้ ตนเองมีอาชีพรับจ้างทำงานทั่วไปโดยได้เงินค่าจ้างวันละ 300 บาท แต่ก็ไม่ได้มีงานจ้างทุกวัน ที่สงสารลูกชายเพราะว่าลูกชายมักจะถามว่า ผมจะได้เรียนหนังสือต่อไมครับพ่อ ตนก็ได้แต่ปลอบโยนลูกไปว่า ยังไงลูกพ่อก็ต้องได้เรียนหนังสือเหมือนคนอื่นๆแน่นอน ซึ่งตนเองก็พยายามหางานทำเพื่อที่จะเลี้ยงดูลูกชายทั้ง 2 คน ยอมรับว่าทุกวันนี้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก แต่ก็ต้องอดทนสู้เพื่อลูกชายทั้ง 2 คน ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวฯ ได้ประสานขอความช่วยเหลือจากนายชนะชล มูลจันทร์ ประธาน กต.ตร.สภ.บัวเชด ประธานชมรมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งนายชนะชลก็ได้ลงพื้นที่ทันที โดยได้นำเครื่องอุปโภค-บริโภค เช่น ข้าวสาร ปลากระป๋อง ไข่ไก่ มาม่า น้ำดื่ม น้ำปลา น้ำมันพืช เส้นหมี่แห้ง น้ำตาลทราย และมอบเงินสดจำนวน 1,000 บาท เพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้น นายชนะชล มูลจันทร์ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ตนได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของพ่อ-ลูก ทั้ง 3 ชีวิตแล้ว รู้สึกสงสารเด็กๆมาก จากนี้ไปจะประสานขอความช่วยเหลืออนุเคราะห์และขอความช่วยเหลือไปยังกลุ่มเพื่อนที่รู้จัก และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ลงมาช่วยเหลือดูแลครอบครัวนี้ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2565

โครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง

exBBdgTbL0s9H8BOjpcUZrMm-wSJAyG12mBCIEjFeGkY9zhz74XstCTf_WE10j1VrV1Vr1nDrOpxQcVwfjJNbucv1Nrhc5j9hF7V2XhqEMnzKZDGyZZmDjzuQWwW85LrDwpFC6LEKHsJpZn6WODOP/s960/1661065656942.jpg" style="display: block; padding: 1em 0; text-align: center; ">
โครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง โดย อสม.บัวเชด ประสานความร่วมมือกับ เทศบาลบัวเชด และโรงพยาบาลบัวเชด ออกเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายสมบัติ เอ็นดู กำนันตำบลบัวเชด ร่วมกับ อสม.บ้านหมื่นสังข์ ได้ประสานขอความร่วมมือกับเทศบาลตำบลบัวเชด โดยนายไตรภพ ดวงอินทรีย์ นายกเทศมนตรีตำบลบัวเชด และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบัวเชด จัดโครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ในภาคเช้าเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลบัวเชด ได้เป็นวิทยากรอบรมเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ การรับประทานอาหาร และการการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย โดยนางสาวประกายดาว แก้วดี และนางสาวมุกดา ศรีพิมพ์ พยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลบัวเชด ร่วมทั้งการอบรมให้ความรู้กับ อสม.ในการช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ส่วนในช่วงภาคบ่าย กำนันสมบัติ เอ็นดู และ อสม.ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบัวเชดร่วมกันลงพื้นที่มอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงท่ามกลางสายฝน ที่ตกตลอดทั้งวัน ร่วมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกต้องและถูกวิธีให้กับญาติที่ดูผู้สูงอายุ ในพื้นที่บ้านหมื่นสังข์ หมู่ที่ 4 ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงวัยมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทางการสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นจากโรคเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยระยะท้ายของชีวิต โดยรัฐบาลมีนโยบายเพิ่มทีมหมอครอบครัวในการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดการดูแลซึ่งกันและกัน จากการลงเยี่ยมบ้าน ของ อสม.และโรงพยาบาลบัวเชด พบว่า มีผู้ป่วยติดเตียงและติดบ้าน จำนวนมาก จำแนกเป็นกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง การขาดกำลังใจ ผู้ดูแลมีความเครียดเกิดปัญหาในครอบครัวตามมา ทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น การดูแลสุขภาพที่บ้านยังเป็นบทบาทของญาติหรือลูกหลาน ขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลของชุมชน ดังนั้น โรงพยาบาล และ รพ.สต.ในพื้นที่เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง โดยการสร้างเครือข่ายชุมชนดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพื่อให้ผู้นำชุมชน, อสม. ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปช่วยผู้ดูแลหรือญาติ คนใกล้ชิด หรือแนะนำผู้อื่นให้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกต้อง เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำงานเทศบาลในพื้นที่ การอบรมให้ความรู้แก่ อสม.ในครั้งนี้ คือ อบรม ผู้ดูแลด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้องรังและผู้สูงอายุในชุมชน ประสานงานทีมสุขภาพทุกระดับชั้น จัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุที่รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาล และ ติดตามดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้านได้อย่าง สม่ำเสมอ