srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ชาวตำบลตรึมจัดงานประเพณีแกลมอและทำบุญบายศรีสู่ขวัญข้าว

ชาวตำบลตรึมจัดงานส่งเสริมประเพณีแกลมอทำบุญบายศรีสู่ขวัญข้าว ประจำปี 2566 วันที่ 14 ก.พ.2566 นายประพงษ์ศักดิ์  วงศ์อนุ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรึม พร้อม คณะผู้บริหารฯ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ส.อบต. ฝ่ายปกครอง  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชุมชนตำบลตรึม ร่วมกันจัดงานโครงการส่งเสริมประเพณีแกลมอ ทำบุญบายศรีสู่ขวัญข้าว ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตรึม อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ โดยมีนายกิตติ  สัตย์ซื่อ นายอำเภอศีขรภูมิ เป็นประธานพิธีฯ ในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่พี่น้องชาวตำบลตรึม ได้ร่วมกิจกรรม มีความรักผูกพันกันภายใต้ชาติพันธุ์ชาวกูยเป็นส่วนใหญ่  และ ลาว วันนี้ถือเป็นวันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ บรรยากาศจึงเต็มไปด้วยความรัก  ความห่วงใย เอื้ออาทรต่อกันและกันมีอย่างมีความสุข ชื่นมื่น

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

โครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวปี 2566

โครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวปี 2566 มุ่งให้ชาวนาเปลี่ยนมาใช้เมล็ดพันธุ์ดีเพาะปลูก เพิ่มประสิทธิภาพและการผลิตข้าวอย่างได้ผล วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.30 น. นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานมอบเมล็ดพันธ์ุข้าว เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธ์ข้าว ปี 2566 ณ.องค์การบริหารส่วนตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ นายอภิวัฒน์ พัวภัทรพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดม เจ้าหน้าที่ศูนย์ขยายพันธ์ุพืชจังหวัดสุรินทร์และคณะผู้บริหาร ร่วมมอบเมล็ดพันธ์ุข้าวในครั้งนี้ นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญกับสังคมไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การทำนาเป็นอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ของประชากรในประเทศ ประมาณ 4.6 ล้านครัวเรือน สามารถผลิต ข้าวได้ปีละกว่า 30 ล้านตันข้าวเปลือก ดังนั้น อาชีพชาวนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าข้าวคุณภาพดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ผลผลิตเฉลี่ยข้าว ยังมีผลผลิตต่อไร่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 353 กิโลกรัมต่อไร่ สาเหตุหนึ่งมาจากการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเก็บไว้เองหลายรอบซึ่งมีคุณภาพต่ำ การที่จะปลูกข้าวให้ได้ผลดีมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งคุณภาพของดิน ปริมาณน้ำ และเทคโนโลยี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เมล็ดพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชและได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด จังหวัดสุรินทร์ร่วมกับอำเภอสังขะ องค์การบริหารส่วนตำบลดม จึงได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนไปใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อยกระดับปริมาณและคุณภาพผลผลิตข้าว ให้ตรงกับความตามความต้องการของตลาด เกษตรกรสามารถจำหน่ายข้าวเปลือกได้ในราคาที่สูงขึ้น นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวปี 2566 ที่องค์การบริหารส่วนตำบลดม ได้มุ่งเน้นส่งเสริมให้ชาวนาสามารถเข้าถึง และได้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีโดยเกษตรกร สามารถเข้าร่วมโครงการได้ผ่านกลุ่มเกษตร เพื่อให้ชาวนาได้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีสำหรับการเพาะปลูก และขยายพันธุ์ ซึ่งในปี2566 องค์การบริหารส่วนตำบลดมได้ดำเนินการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี อีกทั้งยังเป็นการยกระดับปริมาณและคุณภาพผลผลิตข้าว เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุดจากโครงการนี้

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ชาวอำเภอบัวเชดร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล

ชาวอำเภอบัวเชด ร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เพื่อขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.30 น. ที่หอประชุมโรงเรียนบัวเชดวิทยา อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ โรงพยาบาลบัวเชด สาธารณสุขอำเภอบัวเชด โรงพยาบาลรวมแพทย์สุรินทร์ โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ในพื้นที่อำเภอบัวเชด ทั้ง 6 ตำบล ได้ร่วมกันออกหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต เพื่อเก็บสมทบเข้าไว้ในคลังเลือดโรงพยาบาลสุรินทร์ โดยมีหน่วยงานราชการ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. นักศึกษา พ่อค้าแม่ค้า และประชาชนจาก 6 ตำบล ต่างพร้อมใจกันเดินทางมาร่วมบริจาคโลหิตเป็นจำนวนมาก เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เพื่อขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว ทั้งนี้ นายบรรลุ สุวรรณดี ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอบัวเชด ได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชน มาร่วมบริจาคโลหิต ซึ่งมีประชาชน พระภิกษุสงฆ์ ทหาร ตำรวจ จำนวนมากที่ทราบข่าวได้ทยอยเดินทางมาร่วมบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้หน่วยกาชาดอำเภอบัวเชด ได้จัดข้าวสารหอมมะลิมามอบให้กับผู้ร่วมบริจาคโลหิต และคณะกรรมการ กต.ตร.สภ.บัวเชด ได้จัดทำก๋วยเตี๋ยวเนื้อหมูลูกชิ้นมาให้บริการฟรีแก่ผู้ที่มาร่วมบริจาคโลหิตในครั้งนี้ โดยรับการสนับสนุนจากนายชนะชล มูลจันทร์ ประธานฯกต.ตร.สภ.บัวเชด นายบรรลุ สุวรรณดี ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอบัวเชด กล่าวขอบคุณประชาชนชาวอำเภอบัวเชดทุกๆท่านที่มาร่วมบริจาคโลหิตในครั้งนี้ และขอบคุณภาคเอกชนที่ช่วยสนับสนุนอาหารพร้อมเครื่องดื่มไว้คอยบริการผู้ที่มาบริจาคโลหิต ซึ่งการออกหน่วยรับบริจาคโลหิตในครั้งนี้มีผู้มาบริจาคโลหิตจำนวน 330 ราย บริจาคโลหิตได้จำนวน 263 ราย ไม่ผ่าน 67 ราย

นุ่งผ้าไหม ใส่ปะเกือม เรือมกันตรึม

อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จัดงานเทศกาล "นุ่งผ้าไหม ใส่ปะเกือม เรือมกันตรึม" สืบสานมรดกภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่มีมานานกว่า 500 ปี โดยเฉพาะงานช่างทอและช่างทำปะเกือม เครื่องประดับโบราณทำจากเงิน อันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นระดับชาติ วันที่ 9 ก.พ. 66 ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ นายชำนาญ ชื่นตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงาน "นุ่งผ้าไหม ใส่ปะเกือม เรือมกันตรึม" ประจำปี 2566 เพื่อสืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมช่องทางการตลาด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไปได้รับทราบถึงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน ซึ่งประชาชนอำเภอเขวาสินรินทร์ทุกเพศทุกวัยต่างพร้อมใจใส่ชุดผ้าไหม และเครื่องประดับที่ทำจากเงิน ที่เรียกว่า "ปะเกือม" เพื่อแสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่มีมากว่า 500 ปี อำเภอเขวาสินรินทร์ ถือเป็นชุมชนโบราณทางประวัติศาสตร์ในสมัยอาณาจักรขอมเรืองอำนาจ และถือเป็นชุมชนบริวารของเมืองประทายสมันต์ หรือ เมืองสุรินทร์ มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการขุดพบเครื่องใช้สมัยโบราณหลายรายการ ซึ่งจากการตรวจสอบทางโบราณคดียืนยันได้ว่ามีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี และที่ยืนยันว่าอำเภอเขวาสินรินทร์เป็นเมืองบริวารคู่กันมากับเมืองประทายสมันต์ มรดกทางวัฒนธรรมประเพณีที่ชุมชนได้สืบทอดต่อกันมา อาทิ กันตรึม, ลิเกเขมร และมีหมู่บ้านทอผ้าไหมที่สืบสานลายดอกมาแต่โบราณ ที่สำคัญและเป็นที่เลื่องชื่อ คือการทำปะเกือม เครื่องประคำ ซึ่งมีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ล้ำค่าทางภูมิปัญญาระดับชาติ และเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น ขบวนแห่ของดี 5 ตำบลที่คนในขบวนต่างก็นุ่งผ้าไหม และใส่เครื่องประดับคือปะเกือมอย่างสวยงาม และที่สำคัญในแต่ละขบวนก็จะมีวงกันตรึมบรรเลงเพื่อฟ้อนรำกันตรึมกันอย่างสวยงาม และสนุกสนาน นอกจากนี้ยังมีการเดินแบบแฟชั่นผ้าไหมจากนายแบบและนางแบบกิตติมศักดิ์ การประกวดธิดาปะเกือม การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การแสดงนิทรรศการและจำหน่ายสินค้า OTOP การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการประกวดผ้าไหม และเครื่องปะเกือม เครื่องประดับที่ทำจากเงิน โดยการจัดงานเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 – 11 กุมภาพันธ์ 2566 ช่วงกลางคืนมีการแสดงลิเก มวยไทย ให้ได้รับชมตลอดคืน

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

พิธีรับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผัก

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ณ.ศาลาประชาคมหมู่บ้านหนองพุก ต.หนองบัว อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ พิธีรับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผักจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีนายกิตติ สัตย์ซื่อ นายอำเภอศีขรภูมิ เป็นประธานในพิธี มีนายก อบต.หนองบัว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว พนักงาน อบต. และประชาชนเข้าร่วมงาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ” เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี พระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชและผักให้เกษตรกรได้มีพืชผักที่มีสายพันธุ์ที่ดี ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรด้านพันธุ์พืชผักที่ ทนทานต่อโรคและแมลง ได้ผลผลิตที่ดีศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จึงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชและผักพระราชทานเพื่อนำไปช่วยเหลือ พระราชทานแก่ราษฎรทั่วไป ที่บ้านหนองพุก ตำบลหนองบัว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ได้ประสาน ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ เพื่อขอพระราชทานเมล็ดพันธุ์พืชและผักได้ ปลูกผักไว้กินเอง ลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน ตำบลหนองบัว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เข้าร่วมโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ได้รับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผักจากศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริเพื่อนำไปปลูกไว้รับประทานและสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในรุ่นต่อไป อีกทั้งยังสามารถแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ให้แก่บุคคลอื่น เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาทำการเกษตรปลอดภัย และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

โรงพยาบาลบัวเชด ออกพื้นที่คัดกรองสุขภาพและประเมินความสามมรถในผู้สูงวัย

โรงพยาบาลบัวเชด นำเจ้าหน้าที่ออกพื้นที่คัดกรองสุขภาพและประเมินความสามารถให้กับผู้สูงวัย วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 โรงพยาบาลบัวเชด นำทีมโดย นส.ประกายดาว แก้วดี พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ นส.มุกดา ศรีพิมพ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นส.พชรภา สาเทียน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ได้ออกพื้นที่ จัดทำโครงการคัดกรองสุขภาพและประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(ADL)ในผู้สูงอายุวัย ต.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ณ. ที่ศาลาประชาคมบ้านหมื่นสังข์

นายอำเภอสังขะนำจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ

นายอำเภอสังขะนำจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ร่วมกันกำจัดวัชพืช แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงภูมิทัศน์ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11.00 น. นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ นายอภิวัฒน์ พัวภัทรพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ อบต.ดม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ตำรวจ สภ.ดม และประชาชนจิตอาสาตำบลดม จำนวน 120 คน ได้ร่วมกันกำจัดวัชพืชบริเวณสระปรือ หมู่ที่ 5 ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้ความสำคัญในการดำเนินการกำจัดวัชพืช เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม นับวันจะมีปัญหาเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะปัญหาวัชพืชชนิดต่างๆตามแหล่งน้ำ ที่ทำให้น้ำเน่าเสีย กีดขวางการสัญจรการไหลระบายของน้ำ และทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน กระทรวงมหาดไทยได้มอบนโยบายการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยย้ำว่า ทุกหน่วยงานจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะวัชพืชในน้ำเป็นปัญหาสำคัญมีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาวัชพืชชนิดต่างๆนั้น จึงมิใช่เพียงการดำเนินการให้แล้วเสร็จเท่านั้น แต่ต้องมีการติดตามแก้ไขอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยอาศัยกลไกในพื้นที่ คือท้องถิ่นบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน โดยมีภาครัฐทำหน้าที่ให้การสนับสนุนเสริมศักยภาพความพร้อมในการดำเนินการ นายอภิวัฒน์ พัวภัทรพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดม กล่าวว่า ภายในบริเวณสระปรือได้ประสบปัญหาคือจำนวนของวัชพืชต่างๆเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำเพื่อใช้น้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลดมได้บูรณาการการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ชุมชน หมู่บ้าน จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา “กำจัดวัชพืช” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำสาธารณะ เพื่อลดปัญหาน้ำดิบไม่สะอาดและการเน่าเสียของน้ำลดปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขินเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ ร่วมทั้งการเพื่อฟื้นฟูและการอนุรักษ์แหล่งน้ำ