srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

กีฬาวันครู ของสมาคมครูอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

กีฬาวันครู อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566 ดร.สำเริง บุญโต ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาวันครูศีขรภูมิ ณ สนามโรงเรียนศีขรภูมิพิสัยอำเภอศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ โดยมี ผอ.บุญศักดิ์ บุญจูง กล่าวรายงาน เป็นการใช้กีฬาเป็นสื่อสานสัมพันธ์ ความสามัคคี ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน โดยได้รับความร่วมมืออย่างดี จากผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ในช่วงเช้ามืด เวลา 05.00น. เป็นการเดิน-วิ่ง รอบสระสี่เหลี่ยม ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เวลา 09.30 น.พิธีเปิด การแข่งขันกีฬาวันครูอำเภอศีขรภูมิ "วันครูเกมส์ 2566" โดย ดร. สำเริง บุญโต ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์เป็นประธานในพิธี   10.30 น. ฟุตบอลหญิงคู่ชิงชนะเลิศ วอลเลย์บอล เซปักตะกร้อ เริ่มเวลาเดียวกัน ฟุตบอลข้าราชการบำนาญ( สิงห์เหนือ vs สิงห์ใต้) ฟุตบอล VIP ผู้บริหาร( ศีขรภูมิ 1.4 - ศีขรภูมิ 2.3) 14.30 น. ฟุตบอลชายคู่ชิงชนะเลิศ มอบรางวัลการแข่งขันกีฬาและพิธีปิด

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ร่วมกับงานสาธิตหยอดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ. สำนักงานเกษตรอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 นายบรรลุ สุวรรณดี ปลัดอำเภอ และรักษาการแทนอำเภอบัวเชด เป็นประธานในพิธีเปิดอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสาธิตการหยอดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สำนักงานเกษตรอำเภอบัวเชด โดยนางจริยา ดีเสมอ เกษตรอำเภอบัวเชด ร่วมกับหัวหน้าหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดสุรินทร์ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิวส์ จำกัด(ซีพี) สำนักงานเกษตรอำเภอบัวเชด และบริษัทเกษตรรุ่งเรืองแทรกเตอร์ แอนด์ คอมไบน์ จำกัด สาขาสังขะ สถานการณ์การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปี 2565 อุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีความต้องการ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ 7.98 ล้านตัน ยังขาดอยู่ประมาณ 3.02 ล้านตัน ทำให้ต้องการมีการนำเข้า วัตถุดิบบแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปี 2566 โดยมุ่งหวังในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด สำนักงานเกษตรอำเภอบัวเชดได้ร่วมบูรณาการทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน ได้กำหนดอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ร่วมกับงานสาธิตหยอดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรผู้มีความสนใจนำไปเป็นอีกแนวทางในการสร้างรายได้ทางการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง หลังการทำนาเพื่อสร้างรายได้เพิ่มความมั่นคงในการดำรงชีพ โดยในโครงการนี้ได้มีการอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ชมการสาธิตใช้โดรนทางการเกษตรและกิจกรรมสาธิตการหยอดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ร่วมกับส่วนราชการและประชาชนชาวเกษตรกร

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566

รองผู้ว่าสุรินทร์ ทึ่ง ความสามารถของเด็กนักเรียนมัธยมทับทิมสยาม 04

รองผู้ว่าสุรินทร์ ทึ่ง! ความสามารถเด็กนักเรียน ดีดพิณ ตีกลองยาว รำกัมตรึมเขมร อดใจไม่ไหวถึงขนาดขอร่วมวงรำกับเด็กๆนักเรียน ในงานวันเด็ก วันที่ 14 มกราคม 2566 เวลา 09.00 น. นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ.โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม04 ในพระอุปถัมภ์ ตำบลเทพรักษา อำสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ นางสาวสุปราณี มหาพัฒนไทย หัวหน้านักงานจังหวัดสุรินทร์ นางสาวศิรินภา พัวพัฒนโชติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา นายล้ำเลิศ พัวพัฒนโชติ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ นางสาวณิชาภา พัวพัฒนโชติ นายชนะชล มูลจันทร์ ประธาน กต.ตร.บัวเชด และหัวหน้าส่วนราชการให้การต้อนรับและร่วมจัดบูทบริการอาหาร เครื่องดื่ม แจกขนม แจกของเด็กเล่น อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ดม ได้จัดแสดงอาวุธปืนสั้น ปืนยาว ซึ่งได้รับความสนใจจากเด็กๆเป็นจำนวนมาก และสิ่งที่ทำให้นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ถึงกับทึ่งในความ สามารถของเด็กนักเรียนในก็คือการเล่นดนตรีกัมตรึม ซึ่งเป็นดนตรีพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ อีกทั้งการรำกลองยาว ซึ่งเป็นการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวลาว รวมทั้งการดีดพิณ ทำเอารองผู้ว่าฯถึงกับยกมือขึ้นฟ้องรำไปพร้อมกับเสียงดนตรี สร้างความสนุกสนานเป็นอย่างมากและสร้างความดีใจให้กับเด็กนักเรียนซึ่งไม่คาดคิดว่ารองผู้ว่าฯและหัวหน้าส่วนราชการจะร่วมรำวงด้วย นอกจากนั้นนางสาวศิรินภา พั
วพัฒนโชติ นายกฯอบต.เทพรักษาและเด็กๆนักเรียนได้ร่วมกันมอบข้าวกล้องหอมมะลิ ข้าวสารพันธ์ดอกมะขาม และพืชผักสวนครัวรั่วกินได้ ซึ่งเด็กๆนักเรียนได้ร่วมกันปลูกไว้ในแปลงเกษตรของโรงเรียนทัพทิมสยาม04 นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวให้สัมภาษกับผู้สื่อข่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้มาร่วมงานในวันนี้และรู้สึกทึ่งในความสามารถในการแสดงของเด็กนักเรียน ร่วมทั้งรู้สึกภูมิใจที่เด็กนักเรียนให้ความสนในศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งในปัจจุบันนี้หาชมได้ยาก ตนอยากให้ลูกหลานได้ช่วยกันอนุรักษ์และรักษาศิลปะการแสดงพื้นบ้านเหล่านี้เอาไว้ ร่วมทั้งช่วยกันเผยแพร่ศิลปะพื้นบ้านเหล่านี้ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

ทหารพันธุ์ดี มทบ.25 สุรินทร์ สนใจศึกษาการปลูกหญ้าเนเปียร์ ฝึกอาชีพสร้างรายได้ให้กับกำลังพล

ทหารพันธุ์ดี มทบ.25 สนใจปลูกหญ้าเนเปียร์ ฝึกอาชีพ สร้างรายได้ให้กำลังพล นายอำเภอสังขะพร้อมให้การสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น. ร.ต.นิวัฒน์ วันทมาศ รองหัวหน้าชุด ทหารพันธุ์ดี มทบ.25 จังหวัดสุรินทร์ พร้อมทหารจากโครงการทหารพันธุ์ดี จำนวน 5 นาย ได้เดินทางมาศึกษาดูการปลูกหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 แปลงของยายสังขะ ศรีบุญ บ้านเลขที่ 68 หมู่ที่ 10 บ้านหนองกุง ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีนายสันติ โอฆะพนม อำเภอสังขะ ได้เดินทางมอบใบสำคัญการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์เลี้ยงสัตว์บ้านหนองกุง โดยมี นายศิวเทพ วงศ์พรหม หัวหน้าสำนักงานปศุสัตว์อำเภอสังขะ นายมานิตย์ สีพูแพน หัวหน้าเกษตรอำเภอสังขะ นายชนะชล มูลจันทร์ ประธานฯกต.ตร.สภ.บัวเชด และชาวบ้านให้การต้อนรับ นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ กล่าวว่า ปัจจุบัน การทำปศุสัตว์กำลังได้รับความนิยมควบคู่กับการทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น โดยแบ่งพื้นที่จากที่เคยทำสวนทำไร่เพียงอย่างเดียว แบ่งสันปันส่วนสำหรับเลี้ยงสัตว์สร้างรายได้อีกช่องทาง เช่น การเลี้ยงโค แพะ แกะ ซึ่งสัตว์เหล่านี้กำลังเป็นที่นิยมของตลาด สามารถขายได้ราคา ส่งผลตอบแทนกับผู้เลี้ยงได้ค่อนข้างดีทีเดียว นายสังขะ ศรีบุญ เจ้าของแปลงหญ้าเนเปียร์ เล่าให้ฟังว่า ขั้นตอนในการปลูกหญ้าเนเปียร์นั้น ไม่ได้มีขั้นตอนอะไรที่ซับซ้อน โดยช่วงแรกก่อนที่จะนำหญ้าลงมาปลูกจะไถพรวนดินภายในแปลงและตากทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ จากนั้นไถพรวนดินอีกครั้งหนึ่งเพื่อตีดินให้ละเอียดมากขึ้น พร้อมกับผสมปุ๋ยคอกที่ได้จากโคที่เลี้ยงไว้ มาใส่ลงไปภายในแปลง ตากดินทิ้งไว้อีก 1 อาทิตย์ จากนั้นก่อนนำหญ้าเนเปียร์ลงมาปลูกในแปลง จะปล่อยน้ำเข้าแปลงให้แฉะทั้งหมดเสียก่อน แล้วจึงนำท่อนพันธุ์หญ้าเนเปียร์มาปลูกให้มีลักษณะตั้งเอียงอยู่ที่ 45 องศา “ท่อนพันธุ์หญ้าเนเปียร์ที่เอามาปลูก มีลักษณะความยาวอยู่ที่ 20 เซนติเมตร ปลูกให้มีระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 40-50 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถวอยู่ที่ 1.20 เมตร คล้ายๆ กับปลูกอ้อย เมื่อปลูกลงไปแล้วดูแลจนโตให้เกิดหน่อใหม่ คอยดูดินในแปลงถ้าเห็นว่าดินแห้งก็ใส่น้ำเข้าแปลง พอหญ้าเนเปียร์ได้อายุ 2 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 3 กระสอบในพื้นที่ 5 ไร่ จากนั้นรอต่อไปอีก 2 เดือน หญ้าเนเปียร์ชุดแรกก็จะโตพร้อมให้ตัดขายได้” ร.ต.นิวัฒน์ วันทมาศ รองหัวหน้าชุด โครงการทหารพันธุ์ดี กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า โครงการทหารพันธุ์ดี มทบ.25 จังหวัดสุรินทร์ มีความสนใจที่อยากจะศึกษาและเรียนรู้การปลูกหญ้าเนเปียร์อย่างจริงจัง เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับกำลังพลที่มีความสนใจที่จะปลูกหญ้าเนเปียร์ โดยมองว่า ปัจจุบันนี้มีเกษตรกรหันมาเลี้ยงสัตว์มากขึ้น เช่น โค กระบือ แพะ เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้ก็กินหญ้าเนเปียร์ อีกทั้งจังหวัดสุรินทร์ได้ส่งเสริมการเลี้ยงโควากิว และในหมู่บ้านเลี้ยงช้าง ก็มีความต้องการซื้อหญ้าเนเปียร์เป็นจำนวนมาก ทางโครงการทหารพันธุ์ดี จึงได้สนใจให้กำลังพลเข้าร่วมโครงการปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อพัฒนาความรู้ของกำลังพลในสังกัด ซึ่งเมื่อปลดประจำการไปแล้วสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งตอนนี้ก็มีทั้งการเพาะพันธุ์ปลานิล การเลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ ซึ่งมีกำลังพลสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อสร้างรายได้ นายสังขะ ศรีบุญ บอกว่า เรื่องของการปลูกหญ้าเนเปียร์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การจะให้มีหญ้าตัดขายได้ตลอดทั้งปีนั้น ในเรื่องของพื้นที่ค่อนข้างสำคัญ ควรมีระบบน้ำที่เพียงพอให้กับแปลงหญ้า เมื่อถึงช่วงฤดูแล้งจะช่วยให้มีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นอาชีพที่มั่นคงเลี้ยงครอบครัวได้

บอลลูนมิวสิคเฟสติวัล (Once a tine balloon in memories) ในจังหวัดสุรินทร์

กาลครั้งหนึ่งในความในความทรงจำ  เป็นงาน " บอลลูน มิวสิคเฟสติวัล"(Once a tine balloon in memories) ครั้งแรกในสุรินทร์  ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ ซึ่งตรงกับวันเด็กในปีนี้ ระหว่าง วันที่ 14-15 ม.ค.2566 ณ. หมู่บ้านกัลปพฤกษ์ 2 ถนนเลี่ยงเมือง ต.แสลงพันธุ์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ นายกฤษณ์ ปาลีคุปต์,นายซฎิล ยืนยิ่ง และนายวิทยา เครืองาม พร้อมด้วย รองผู้จัดการโครงการคชอาณาจักร องค์การสวนสัตว์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ ได้แถลงข่าวในการจัดงาน Once upon a time balloon in memories กาลครั้งหนังในความทรงจำ บอลลูนมิว สิคเฟสติวัล ครั้งแรกในจังหวัดสุวินทร์  ซึ่งจะจัดตรงกับ วันเด็กในปีนี้ ในวันที่ 14 และ 15 มกราคม 2566 ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ โดยภายในงานจะเน้นไปทางกิจกรรมสำหรับเด็กและบุคคลทั่วไป มีร้านนอาหารสไตล์แฟชั่นฟู้ดทั้งจากในสุรินทร์และ จังหวัดใกล้เคียง มานำเสนอความอร่อยในงานนี้ด้วย ร่วมถ่ายรูปกับบอลลูนยักษ์ กิจกรรมเวิร์คช็อป สำหรับเด็กจาก โรงเรียนเพลินศิลปีและ I can read การแสดงดนตรีเด็กจากโรงเรียนวาณิชย์นุกูล โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ ขบวนพาเรตจากโรงเรียนวีรวัฒน์โยน มีพื้นที่สำหรับแคมปิ้ง สำหรับที่ต้องการดื่มด่ำบรรยากาศของงาน เพลิดเพลินไปกับคอนเสิร์ตและศิลปินที่จะร่วมสร้างความ ภายในงาน พบกับ Paradox, Zweed n' Roll, Anatomy Rabit, มนัสวีร์, The divers, ดรบม, ชาลีพันธุ์, Tomorow come again, jagood, 100 Thousand Haunted, Smile YelloStoner ,ถุงเงิน, The Dirty, Dj ดาวคนอง Aka Stargazer โดยงานนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายๆ ภาคสวน เช่น ททท.สำนักงานสุรินทร์ อะเมซิ่งไทยแลนด์ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ศูนย์คชอาณาจักร ฟาร์มนมจากฟาร์มเกษตรกร "ไทยฟาร์มมิลค์" ฟอร์ดและมาสด้า สุรินทร์ ชินฮวดเฮงจั่น ร้านอาหาร 361 และออนไลน์ต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์อันดี ที่ทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ แสดงความร่วมมือร่วมใจที่จะพัฒนาพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและต่อยอดกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาบุคลากรในพื้นที่และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่มาร่วมงานทุกคน

องค์การบริหารส่วนตำบลกุดหวาย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จัดกิจกรรมงานวัดเด็ก ประจำปี 2566

องค์การบริหารตำบลกุดหวาย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จัดกิจกรรมงานวันเด็กและเยาวชนตำบลกุดหวาย ประจำปี 2566 ณ.องค์การบริหารตำบลกุดหวาย จึงได้จัดวันเด็กขึ้นในวันที่ 13 มกราคม 2566 เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 14 มกราคม 2566 เป็นวันเด็กแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดหวาย จัดกิจกรรมขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของเด็กไทย ด้านการศึกษาเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ โดยมีนายกสมปอง พวงบุุญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดหวาย เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันเด็กแห่งชาติ ขององค์การบริหารตำบลกุดหวาย เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงต้องได้รับการส่งเสริมสร้างศักยภาพในทุกมิติตามช่วงวัยอย่างเหมาะสม ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ และการเรียนรู้ องค์ความรู้ที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งเสริมสร้างสุขภาพที่ดีทางกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนเป็นคนดีและคนเก่ง มีคุณภาพและมีคุณค่าคุณธรรม มีหลักในการคิดที่ถูกต้อง รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นต่อการตอบสนองต่อการดำรงชีวิยจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และอยู่รวมกันในสังคมอย่างมีคุณค่าและมีความสุข วัดเด็กแห่งชาติในปีนี้มีคำขวัญว่า " รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ " เพื่อให้เด็กและเยาวชทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองในฐานพลเมืองของชาติที่จะเติมโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต โดยจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา ครูอาจารย์ รู้หน้าที่มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีความซื่อสัตย์ กล้าคิดกล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์ มีทัศนคติในเชิงบวก ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และให้ความสำคัญแก่การสร้างคุณค่าในตัวเองด้วยการแสวงหาความรู้ เพิ่มพูนทักษะและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566

หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือนกองกำลังสุรนารีลงสำรวจพื้นที่เพื่อมอบพันธุ์ปลานิลจิตรลดาพระราชทาน

หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน กองกำลังสุรนารี ลงสำรวจพื้นที่เพื่อมอบพันธุ์ปลานิลจิตรลดาพระราชทาน สร้างความมั่นคงด้านอาหาร และลดรายจ่ายในครัวเรือน ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 10 มกราคม 2566 เวลา 10.30 น. พ.ท.ศรายุทธ มาลาสาย หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน กองกำลังสุรนารี ได้มอบหมายให้ ร.ต.กวีวัฒน์ สุขรอบ หัวหน้าชุด ชป.กร.กกล.สุรนารี ที่ 220 พร้อมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ลงพื้นที่บ้านหนองกุง หมู่ที่ 10 ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อสำรวจพื้นที่การเกษตรและบ่อน้ำ ตามที่นายสังขะ ศรีบุญ เกษตรกรได้มีความประสงค์ยื่นเรื่องขอพระราชทานพันธุ์ปลานิลจิตรลดา จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีกลุ่มเกษตรกรที่ให้ความสนใจจำนวน 17 ครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันได้ร่วมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้นายสังขะ ศรีบุญ ได้ประกอบอาชีพปลูกหญ้าเนเปียร์จำหน่าย อีกทั้งได้ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงหอย เลี้ยงกบ เพื่อประกอบเป็นอาหารในครัวเรือน และจำหน่ายให้ชาวบ้านในหมู่บ้าน โดยสามารถเลี้ยงดูครอบครัวและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี ซึ่งพันธุ์ปลานิลจิตรลดาพระราชทาน ได้ทำการเพาะพันธุ์จาก ศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทาน “เพื่อนช่วยเพื่อน” พื้นที่อีสานใต้ ส่วนแยกสุรินทร์ ร.23 พัน.3 และ​ ศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทาน “เพื่อนช่วยเพื่อน” พื้นที่อีสานใต้ ส่วนแยกบุรีรัมย์ ร.23 พัน.4 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการจัดตั้ง "ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ" เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระครบรอบ 100 ปี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ / ให้เกษตรกรได้มีสายพันธุ์ที่ดี ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร ด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จึงผลิตเมล็ดพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เพื่อพระราชทาน นำไปช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยพิบัติ และพระราชทานแก่ราษฎรทั่วไป กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 ได้ประสานศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันเพ็ญศิริ เพื่อขอพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผัก และพันธุ์ปลานิลจิตรลดา ให้กับประชาชนในพื้นที่ชายแดน เพื่อเลี้ยงไว้รับประทานเอง เป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และลดรายจ่ายในครัวเรือน