srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ใต้ร่มพระบารมีเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน

เกษตรสุรินทร์ "นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูความสำเร็จของโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน"

วันที่ 27 กันยายน 2560 ที่สำนักงานการเกษตรจังหวัดสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้มีการจัดประชุมสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืน โดยมีนายเอนก  รัตน์รองใต้ เกษตรจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานสรุปผลการดำเนินงาน ซึ่งมีสื่อมวลชนหลากหลายแขนงเข้าร่วมประชุม ก่อนจะนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เพื่อทำข่าวประชาสัมพันธ์ของโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาเกษตรแบบยั่งยืน ใน 4 พื้นที่ของโครงการ ประกอบด้วย โครงการปลูกพืชปลูกพืชปลอดสารพิษ ชุมชนนาดี บ้านประทัดบุ ต.นาดี  อ.เมือง จ.สุรินทร์  โครงการทอผ้าไหมสืบสารหัตถกรรมท้องถิ่น ของชุมชนปราสาททะนง บ้านสะเดา  ต.ปราวสาททอง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์  โครงการธนาคารต้นไม้ เพื่อสร้างป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ชุมชนตำบลสังขะ ต.สังขะ จ.สุรินทร์  โครงการส่งเสริมอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้า ชุมชนหนองเทพ บ้านอีโสด ต.หนองเทพ  อ.โนนนารายณ์  จ.สุรินทร์  หลังจากได้ลงพื้นที่ดูโครงการส่งเสริมอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้าของชุมชนหนองเทพ บ้านอีโสด ต.หนองเทพ อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์  พบว่าชาวบ้านในพื้นที่ จำนวน 20 หมู่บ้าน ได้ร่วมกันใช้พื้นที่ดินของกำนันหนองเทพ นายคารม  อัญชลี หมู่ 6  บ้านอีโสด จำนวน 3 ไร่ มาใช้เป็นโรงเรือนในการเพาะเห็ด ขนาด 5x10 เมตร จำนวน 20 โรงเรือน ก้อนเชื้อเห็ด 95.000 ก้อน  จะได้ผลผลิต 20 รงเรือนๆละ 15 กิโลกรัมต่อวัน รวมผลผลิต 300 กิโลกรัมต่อวัน ประโยชน์ที่ได้ ชุมชนในหนองเทพมีอาหารบริโภคในราคาที่ถูกลงกว่าท้องตลาด ส่วนที่เหลือก็ส่งขายในตลาดทั่วๆไป  มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านในชุมชนหนองเทพในรูปแบบสหกรณ์ เพื่อเพาะเห็นสร้างรายได้สร้างอาชีพต่อชุมชนหนองเทพ  งบประมาณที่ได้มาจากโครงการ 9101 ตามรองเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน สามารถนำมาต่อยอดขยายโครงการเพิ่มเติมในการเพาะเห็ดนางฟ้าได้ หรือจะเป็นการแบบรูปเห็ดเป็นแบบอื่นในอนาคตได้ โครงการนี้ได้รับเสียงตอบรับจากชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างดี


 นายเอนก  รัตน์รองใต้ เกษตรจังหวัดสุรินทร์  เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์ ได้รับอนุมัติโครงการมาจำนวน 199 ชุมชน 216 โครงการ งบประมาณจำนวน 497.5 ล้านบาท ตอนนี้จบในวาระแรกแล้ว ต่อไปอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการต่อเนื่อง ซึ่งในวันนี้จะได้นำเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการมาสรุปผลการดำเนินการโครงการ ซึ่งหลังจากดำเนินการออกสำรวจความพึงพอใจของโครงการแล้ว พบว่าเกษตรกร 96 กว่า % มีความพอใจถือว่าสูงมาก และวันนี้จะนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูโครงการตามกิจกรรมโครงการฯในชุมชนต่างๆที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จและเป็นที่น่าพอใจในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ถึงความสำเร็จของชุมชน และเนื่องจากระยะเวลากระชันชิด ทำให้เกษตรเลือกทำโครงการเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 80 % รองลงมาจะเป็นผ้าไหม การปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์ และการประมง ซึ่งกลุ่มทอผ้าไหม ค่อนข้างยั่งยืน เกษตรกรทุกคนมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก
  ส่วนการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปริมาณค่อนข้างเยอะ ในชุมชนชาวบ้าน เป็นปุ๋ยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันทำและมีคุณภาพ ต่างก็ซื้อไปใช้เองจนหมดเลย ซึ่งถ้าจะไปดูในเรื่องปุ๋ยตอนนี้ส่วนใหญ่ก็ไม่มีแล้ว เพราะทุกคนได้ซื้อเอาไปใส่ในนาข้าวกันหมดแล้ว  ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนที่ไม่โปร่งใส ก็มีอยู่ไม่มากมีทั้งส่งจดหมายมาและโทรศัพท์มาแจ้ง ตอนนี้ได้ลงพื้นที่ไปดูด้วยตนเอง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  คณะกรรมการมาจากส่วนกลาง คือกรมส่งเสริมการเกษตร  ก็ได้มีการลงไปตรวจสอบ ซึ่งผลการตรวจก็แจ้งมาแล้ว มีการร้องเรียน อยู่ 3 ข้อ คือ เรื่องเจ้าหน้าที่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในการจัดซื้อจัดจ้างหาวัสดุ ซึ่งก็ได้ตรวจสอบกับชุมชนนั้นๆแล้ว โดยบทบาทภารกิจของชุมชนจะเป็นคนติดต่อประสานงานเองกับผู้ที่ขายวัตถุดิบต่างๆโดยตรงด้วยตนเอง  ข้อร้องเรียนที่ 2 คือวัสดุที่จัดซื้อไม่มีคุณภาพ อันนี้ตนเองได้ลงไปตรวงสอบด้วย พบว่าเป็นวัสดุที่มีกรวดปนมาแต่ชุมชนไม่รับ ผู้ที่ขายก็เอาวัตถุดิบที่ไม่มีกรวดปนมาให้แทน ส่วนวัตถุดินที่มีกรวดปนอยู่ผู้ขายก็ไม่ได้เอาไปด้วยปล่อยทิ้งไว้ตรงนั้น เป็นของเหลือชาวบ้านไม่ได้เอามาด้วย  มีคนงานหลายคนไปเห็นก็นึกว่าเป็นวัตถุดิบที่มีการจัดซื้อ  จึงมีการเอามาตรวจสอบแล้วเกิดการร้องเรียนหาว่าวัตถุดิบไม่ได้คุณภาพมีสิ่งเจือปน  ส่วนเรื่องที่ 3 คือมีการสวมชื่อเบิงเงินค่าแรงงาน  ได้ลงไปตรวจสอบรายชื่ออย่างละเอียด พบมีอยู่ 1 ราย ระบุว่า มาลงชื่อทำงาน แล้วขอตัวกลับเพราะรู้สึกว่าไม่สบาย ขอตัวไปพบหมอ ซึ่งรายนี้เราก็ตัดชื่อออกไม่ให้เบิกเงิน  ถ้าเขาหายดีแล้วมาทำงานก็เบิกได้ตามปกติ ซึ่งโครงการนี้ชุมชนต้องทำอย่างต่อเนื่อง อย่างยั่งยืนตามชื่อโครงการขึ้นอยู่ว่าโครงการนั้นจะทำอะไร ซึ่งข้อผิดพลาดต่างๆ ประธานชุมชนกรรมการชุมชน และสมาชิกชุมชนจะต้องรับผิดชอบเอง  เกษตรจะไม่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่กำกับดูแล หากเกิดกรณีข้างต้น ต้องไม่ให้เบิก นอกจากอำเภอศีขรภูมิแล้ว ก็ยังมีพื้นที่อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี ที่มีการร้องเรียน ซึ่งอำเภอท่าตูมเป็นเรื่องของวัสดุไม่มีคุณภาพ คือวัตถุดิบที่มีกรวดปน ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ยืนยันได้ว่าไม่มีการพบการทุจริตเกิดขึ้นตามที่ร้องเรียน  แต่มีคนกังขาว่าการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุที่แพงไปหรือไม่นั้น  มาเช็ดดูแล้วเป็นวัสดุที่มีการสอบราคามาก่อนแล้ว ไม่เฉพาะจังหวัดสุรินทร์เท่านั้น จังหวัดอื่นก็ซื้อในราคาเท่ากัน  ซึ่งการตรวจสอบบัญชีต่างๆจะเป็นหน้าที่ของ สนง.ตรวจบัญชีต่างๆ จะเป็นหน้าที่ของ สนง.ตรวจบัญชีสหกรณ์ ก็ลงไปตรวจสอบด้วยกัน
   ทางด้าน นายคารม  อัญชลี  กำนันตำบลหนองเทพ อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์ ประธานโครงการกลุ่มส่งเสริมอาชีพเพาะนาฟ้าชุมชนหนองเทพ กล่าวว่า ชาวบ้านค่อนข้างพอใจและมีความสุขที่ได้มีงานทำ มีรายได้เข้ามาจุดเจือครอบครัว ในช่วงที่ว่างเว้นจากการทำนา ว่างจากช่วงที่หว่านข้าวในนา แทนที่จะเข้าไปทำงานใน กทม.หรือต่างจังหวัด ก็พอดีมีโครงการเข้ามาก็ได้มีงานทำ ประธานโครงการก็เฉลี่ยให้กับชุมชนได้งานทำเท่าๆกัน พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ดินของกำนันตำบลหนองเทพที่เสียสละที่ดินให้กับชุมชนได้ทำการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดเพื่อจะได้ให้ชุมชนได้มีงานทำมาอาชีพรายได้ใช้จ่ายในครัวเรือน  ชุมชนได้รวมกลุ่มกันทำงานในรูปแบบสหกรณ์ค่อนข้างเข้มแข็ง  ขอบคุณรัฐบาลที่ทำโครงการดีๆแบบนี้ขึ้นมาให้กับประชาชนจนได้เงินกองทุนมาทำโครงการเพาะเห็ดจนมีเงินหมุนเวียนต่อยอดโครงการต่อไป แรงงานเราก็มีแรงงานจิตอาสา ช่วยกันดูแล และมีการประชุมกลุ่มจะทำให้ได้ผลผลิตก่อนแล้วค่อยเฉลี่ยหรือกระจายกัน ส่วนหนึ่งก็จะเป็นการต่อยอดในรุ่นต่อๆไป  ซึ่งชาวบ้านค่อนข้างพอใจกับโครงการดีๆที่รัฐจัดลงสู่ท้องถิ่น และขอขอบคุณรัฐบาลที่นำสิ่งดีสู่ชุมชน นายคารม  อัญชลี กำนันตำบลหนองเทพ และประธานโครงการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดชุมชนหนองเทพ กล่าว