srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

องค์การบริหารส่วนตำบลตรึม จัดโครงการ ส่งเสริมประเพณีแกลมอ และทำบุญสู่ขวัญข้าว ประจำปี 2567










องค์การบริหารส่วนตำบลตรึม  จัดงานโครงการส่งเสริมประเพณีแกลมอ  ทำบุญสู่ขวัญข้าวของชาวตำบลตรึม.                          ประจำปีงบประมาณ2567

วันที่12ก.พ.67 ช่วงเวลา 19.00 น.    บริเวณสนาม             ที่ทำการอบต.ตรึม อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์  น.ส.สูงสุด คุ้มภัย ท้องถิ่นอำเภอศีขรภูมิ จ.สุรินทร์  ได้เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดงานโครงการส่งเสริมประเพณีแกลมอ   ทำบุญสู่ขวัญข้าว และเดินแบบผ้าไหมสุรินทร์ของชาวตำบลตรึม โดยมีนายประพงษ์ศักดิ์ วงศ์อนุ นายกอบต.ตรึม  ได้กล่าวรายงานในการจัดงานโดยมีพี่น้องประชาชนกำนันผู้ใหญ่บ้านได้เดินทางมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก

   นาย ประพงษ์ศักดิ์ วงศ์อนุ กล่าวว่าการเล่นแกลมอของชาวกูยเรียกว่า"แกลมอ"เป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษโดยมีความเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคนในครอบครัวอาจจะเกิดจากการไม่สบายในสุขภาพร่างกายของปู่ย่าตา ยาย  พ่อแม่ ลูกหลาน  ซึ่งได้ไปรับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันมาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้นจึงมีความเชื่อว่าอาจจะเกิดจากผีป่า หรือผีบรรพบุรุษทำให้เกิดอาการไม่สบายขึ้นจึงอาศัยประเพณีการเล่นแกลมอนี้ รักษาผู่ป่วยของชาวตำบลตรึม   อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  เป็นชาวกูยกลุ่มหนึ่งที่ยังมีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณค่อนข้างสูงและอีกหนึ่งความเชื่อคือประเพณีการเล่นแกลมอที่มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ   จะเป็นพิธีเพื่อเฉลิมฉลอง"บุญกุ้มข้าวใหญ่"หรือบุญสู่ขวัญข้าวเป็นประเพณีของชาวอีสาน  ที่แสดงให้เห็นจิตวิญญาณคุณค่าของ พระแม่โพสพ  เพื่อขอขมาและตอบแทนบุญคุณแม่โพสพเพื่อเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัวให้มีแต่ความสุขความเจริญ                                 อบต.ตรึมก็ยังจัดให้มีการเดินแบบผ้าไหมโดยได้รับเกียรติจากกำนันผู้ใหญ่บ้านสมาชิก  อบต.ตลอดจนส่วนราชการภายในอบต.ตรึม   เข้ามาเดินแบบผ้าไหมของชาวกูยตลอดจนการประกวดแข่งขันการแสดงของโรงเรียนต่างๆในตำบลตรึม 6 โรงเรียน และประกวดร้องเพลงของแต่ละโชนในตำบลตรึมอีกด้วย




















วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

โครงการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ. ครั้งที่ 2 ประจำประเทศไทย ณ.โรงเรียนสิรินธร สุรินทร์

 









##โครงการแลกเปลี่ยน ศิลปวัฒนธรรม นานาชาติ ครั้งที่ 2 ประจำประเทศไทย

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ณ.โรงเรียนสิรินธร อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

การจัดงานแสดง

เทศกาลแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ประจำประเทศไทยครั้งที่ 2

The 2nd  Thailand Cultural Exchange Festival : 2 nd Thailand-CEF

มีนายภัทรพล  หมวกเหล็ก รอง ผอ.โรงเรียนสิรินธร กล่าวรายงาน โดยมีนายจีระพรรณ เพียรมี ผอ.อำนวยการโรงเรียนสิรินธร   เปิดงาน

วัตถุประสงค์การจัดงาน

 -  เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่สากล

-  เพื่อสร้างเครือข่าย ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับนานาชาติ

-  เพื่อส่งเสริมแลกเปลี่ยน ภาษานานาชาติ แก่นักเรียน และคุณครู

กาลแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมนานาชาติ ประจำประเทศไทย ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นกิจกรรม การแสดงศิลป วัฒนธรรมนานาชาติ จากนักแสดงกว่า 200 ชีวิต 11 ประเทศทั่วทุกมุมโลก ได้แก่ กัมพูชา เกาหลี จีน อิตาลีอิสราเอล โปแลนด์ ลาวเม็กซิโก รัสเซีย อินเดีย และไทย  ##




















วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

พิธีลงนาม ในบันทึกข้อตกลง การดำเนินงานรณรงค์ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้โครงการ To Be Number One อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์









 อำเภอบัวเชด ประกาศนโยบายและแนวทางปฏิบัติ

พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงการดำเนินงานรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ภายใต้โครงการ TO BE NUMBER ONE อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10 00- 12.00 น.

ณ ห้องประชุมโรงเรียนบัวเชดวิทยา

กระผม นายสมชาย วงศ์จริยะเกษม นายอำเภอบัวเชด ขอประกาศนโยบายและ

แนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้โครงการ

TO BE NUMBER ONE อำเภอบัวเซด จังหวัดสุรินทร์ ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการ

ดำเนินงานรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้โครงการ TO BE NUMBER

ONE อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ดังนี้

1. ใช้หลัก 3 ก. 3 ย. ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ TO BE NUMBER ONE ในการ

ดำเนินงาน เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและเฝ้าระวังภัย

สุขภาพให้กับเยาวชนอำเภอบัวเชด"สร้างเยาวชน คนบัวเชด เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด "

2. ส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกัน และ

แก้ไขปัญหา ยาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในสถานศึกษา

ในสถานประกอบการ และในชุมชน ในด้านองค์ความรู้และกรอบแนวคิดการดำเนินงาน

โครงการ TO BE NUMBER ONE

3. กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายา

เสพติด TO BE NUMBER ONE และระวังภัยสุขภาพในเยาวชน อำเภอบัวเชด จังหวัด

สุรินทร์

4. กำหนดให้วันพุธ เป็นวันรณรงค์ใส่เสื้อ TO BE NUMBER ONE

5. ส่วนราชการทุกแห่ง สถานประกอบการ ร้านค้า และทุกหมู่บ้าน ชุมชน ติดตรา

สัญลักษณ์ TO BE NUMBER ONE อำเภอบัวเชด และป้ายประชาสัมพันธ์หน่วยงานน้อมนำ

แนวทางโครงการ TO BE NUMBER ONE มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ณ

บริเวณที่ทำการตามความเหมาะสม

๖.การจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน อายุ 6-24 ปี

ให้เพิ่มคำว่า เด็ก เยาวชน เก่งดี TO BE NUMBER ONE และมีติดตราสัญลักษณ์ TO BE

NUMBER ONE ประกอบที่ป้ายทุกครั้ง

บัดนี้ ได้เวลาอันสมควร ผมขอประกาศนโยบายและแนวทางปฏิบัติพิธีลงนามใน

บันทึกข้อตกลงการดำเนินงานรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้โครงการ TO

BE NUMBER ONE อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์











อำเภอบัวเชดจัดโครงการ ตำบล หมู่บ้าน มั่นคง ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ2567

 





อำเภอบัวเชดจัดโครงการตำบล หมู่บ้าน มั่นคง ยั่งยืน

  วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น.                                   นายสมชาย วงศ์จริยะเกษม นายอำเภอบัวเชด เป็นประธานในโครงการตำบล หมู่บ้าน มั่นคง ยั่งยืน (Sustainable-subdisdrict,Village) อำเภอบัวเชด ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ. หอประชุมอำเภอบัวเชด โดยได้มีการประชุมชี้เเจงเเนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ เเจ้ง Time Line เเละตัวชี้วัด ภายใต้บริบท 5 ดี 50 ตัวชี้วัดเเก่หัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอซึ่งเป็นคณะทำงานในระดับอำเภอ คณะทำงานในระดับตำบล ภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี ประกาศเจตนารมณ์ จัดทำบันทึกข้อตกลง MOU ร่วมกันในระดับอำเภอเเละระดับตำบล ทั้ง 6 ตำบล รวมถึงมอบหมายภารกิจเเก่คณะทำงานระดับตำบลเเละหมู่บ้าน ทั้ง 68 หมู่บ้านในอำเภอบัวเชดดำเนินการขับเคลื่อนพร้อมกันตามตัวชี้วัดเเละดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านชนะเลิศในระดับตำบลเสนออำเภอดำเนินการคัดเลือกเเละรายงานจังหวัดสุรินทร์ ต่อไป 


อำเภอบัวเชดจัดโครงการตำบล หมู่บ้าน มั่นคง ยั่งยืน

  วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น.                                   นายสมชาย วงศ์จริยะเกษม นายอำเภอบัวเชด เป็นประธานในโครงการตำบล หมู่บ้าน มั่นคง ยั่งยืน (Sustainable-subdisdrict,Village) อำเภอบัวเชด ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ. หอประชุมอำเภอบัวเชด โดยได้มีการประชุมชี้เเจงเเนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ เเจ้ง Time Line เเละตัวชี้วัด ภายใต้บริบท 5 ดี 50 ตัวชี้วัดเเก่หัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอซึ่งเป็นคณะทำงานในระดับอำเภอ คณะทำงานในระดับตำบล ภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี ประกาศเจตนารมณ์ จัดทำบันทึกข้อตกลง MOU ร่วมกันในระดับอำเภอเเละระดับตำบล ทั้ง 6 ตำบล รวมถึงมอบหมายภารกิจเเก่คณะทำงานระดับตำบลเเละหมู่บ้าน ทั้ง 68 หมู่บ้านในอำเภอบัวเชดดำเนินการขับเคลื่อนพร้อมกันตามตัวชี้วัดเเละดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านชนะเลิศในระดับตำบลเสนออำเภอดำเนินการคัดเลือกเเละรายงานจังหวัดสุรินทร์ ต่อไป