เป็นบล็อกสื่อสารถึง ข่าวสาร วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น การกีฬา สร้างสรรสิ่งดีๆให้สังคม
srikho tv
ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี
วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566
มูเตลู(Mutulu) สุรินทร์เมืองต้องมนต์
สุรินทร์ มูเตลู (Mutalu)
เมืองต้องมนต์
วันที่ 1 เมษายน 2566 จังหวัดสุรินทร์ได้ทำพิธี ปลุกเสก พระกริ่งจอมสุรินทร์รุ่น 3 โดยมีนายสันทัด แสงทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
พระพรหมวชิรโมลี
(ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ)
พระพรหมวชิรโมลี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ เจ้าอาวาสวัดศาลาลอย พระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในพิธี พระเกจิจารย์อีก 8 รูป ร่วมพิธีนั่ง สมาธิเพ่งกระแสจิต พระสงฆ์อีก 4 รูปสวดพระคาถา
ณ.โดมการกีฬาสนามกีฬาจังหวัดสุรินทร์ โดยนำผงพระพุทธคุณศักดิ์สิทธิ์ใน 17 อำเภอของจังหวัดสุรินทร์มาทำพิธีปลุกเสก รวมทั้งผ้ายันต์แปดทิศ และตะขอบังคับช้างอีกจำนวนมาก ในพิธีมีหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนที่มีจิตร ศรัทธา จองบูชา พระกริ่งจอมสุรินทร์รุ่น 3 เข้าร่วมในพิธี เสริมสิริมงคล ให้กับตนเองและครอบครัว
วันช้างไทย สุรินทร์เปิดงานวันช้างไทย ฉลองเมืองสุรินทร์ 260 ปี
สุดยอด อลังการ พิธีเปิดงาน วันช้างไทย ฉลองเมืองสุรินทร์ 260 ปี โดยมี นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานพิธีเปิดงาน มีรองผู้ว่าราชการ หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนเข้าร่วมงาน ณ.สนามศรีณรงค์สนามแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ ใน 1-10 เม.ย. มีขบวนแห่แต่ละอำเภอ และอบต.แบ่งออกเป็น 6 หัวเมืองใหญ่ในอดีต นิทรรศการ ของดี 17 อำเภอ การแสดงศิลปพื้นเมือง ประกวดกันตรึมชิงถ้วย ร.10 ดนตรี และการแสดงช้างวันที่ 7-8 เม.ย 2566
จังหวัดสุรินทร์ในอดีต ประชากรประกอบด้วยชนชาติต่างๆเช่น ชาวไทยกูย ไทยลาว ไทยเขมร ซึ่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง กับข้าวมามากมาย รวมถึงการเลี้ยงช้างเพื่อช่วยงานเกษตรกรรม ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ได้มีการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวหอม มะลิอินทรีย์ เกษตรกรมีการปลูกข้าวหอมมะลิเป็นพืชหลัก จนมีชื่อเสียง ของชาวสุรินทร์ ดังคำขวัญที่ว่า "ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ หอม ยาว ขาว นุ่ม" สุรินทร์เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมาอย่างยาวนาน และได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม จนเป็นเอกลักษณ์ ของจังหวัดสุรินทร์ จนถึงทุกวันนี้ และจังหวัดสุรินทร์ยังเป็นเมืองเลี้ยงช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีช้างเลี้ยงส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 อำเภอหลักๆ ประกอบไปด้วย อำเภอท่าตูม จำนวน 449 เชือก อำเภอชุมพลบุรี จำนวน 309 เชือก และอำเภอเมืองสุรินทร์จำนวน 60 เชือก ตอนนี้ในพื้นที่อำเภอท่าตูมและอำเภอชุมพลบุรีชนพื้นเมืองชาวกูยจะ นิยมเลี้ยงช้างมาแต่โบราณมีประวัติเล่าขานสืบต่อกันมาว่าชาวกูย ที่เรียกกันว่า "มะ เสตียง สดำ" สมัยก่อนนิยมไปจับช้างป่ามาเลี้ยงใช้งานในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันช้างเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัว และนิยมใช้ช้างซึ่งเป็นสัตว์มงคลในการแห่ตามงานประเพณีและพิธีต่างๆ โดยเฉพาะบ้านตากกลาง ตำบลกระโพ ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างประจำบ้านไว้เป็นจำนวนมากมาย ซึ่งคนทั่วไปจะรู้จัก บ้านตากกลางในนาม "หมู่บ้านเลี้ยงช้างบ้านตากลาง"
จังหวัดสุรินทร์ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อให้การท่องเที่ยวและการบริหารของจังหวัดสุรินทร์ มีศักยภาพในการแข่งขันและการประชาสัมพันธ์ควบคู่กับการส่งเสริมการตลาดเชื่อมโยงกับการดำเนินงาน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในด้านการท่องเที่ยว ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ จึงนำเอาตำนานของคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ มาจัดงานเป็นกิจกรรม การท่องเที่ยวขึ้นเป็นอีกหนึ่งโครงการ เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรายได้และการบริหารให้กับคนสุรินทร์เพิ่มมากขึ้น
จังหวัดสุรินทร์จึงได้จัดกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อให้นักท่องเที่ยว ได้สนุกสนานเพลิดเพลินรวมทั้งชมความน่ารักของช้างสุรินทร์ ชมศิลปวัฒนธรรมประเพณี ผ่านการแสดงแสงสีเสียงงานสืบสานตำนานช้างไทย ภายใต้ กรอบแนวคิด 260 ปี สุรินทร์รุ่งเรือง เมืองมหัศจรรย์
โดยมี องค์การแสดง ฉาก ดังนี้
องค์ที่ 1 ปฐมบทวีรกรรมพระยาสุรินทร์ภักดี
องค์ที่ 2 ฉลองยศ ฉลองเมือง
องค์ที่ 3 รุ่งเรืองเมืองสุรินทร์แผ่นดินวัฒนธรรม
องค์ที่ 4 บุญแคแจต ขึ้นเขาพนมสวาย ตรุษสงกรานต์เมืองสุรินทร์
องค์ที่ 5 260 ปี สุรินทร์รุ่งเรือง เมืองมหัศจรรย์
จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาเที่ยวชมงาน "การแสดงตำนานคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์" ( กิจกรรม แสง สี เสียง) การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชุมชน ในวันที่ 7-8 เมษายน 66 และการจัดกิจกรรมของดี 17 อำเภอจังหวัดสุรินทร์ สินค้า OTOP และการแสดงศิลปะพื้นบ้าน การประกวดร้องเพลงกันตรึมมีตั้งแต่ วันที่ 1-10 เม.ย.66
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566
พายุฤดูร้อนพัดถล่ม อำเภอบัวเชด
พายุฤดูร้อน ถล่ม อำเภอบัวเชด บ้านเรือนประชาชนเสียหาย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม เวลา 15.00 น . ได้เกิดพายุฤดูร้อนมีทั้ง ฝน ลมกระโชกแรง พัดถล่มบ้านเรือนของราษฎร บ้านตระเวง หมู่ที่ 2 ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ที่ผ่านมา ได้เกิดพายุฤดูร้อน ฝนตก ลมกระโชก แรง พัดกระหน่ำ อย่างรุนแรง ทำให้ บ้านเรือนเสียหาย 4 หลังคาเรือน มีบ้านเรือนที่เสียหายมากหลังคาเปิดทั้งหลังของ นาย สมชาย เอ็นดู.ชาว บ้านตระเวนหมู่ที่ 2 ค่าเสียหายประมาณ 70,000 กว่าบาท ส่วนอีก 23 หลังคาเรือน เสียหายเล็กน้อย ฝ่ายปกครอง และ ผกก. พ.ต.อ.รัฐวิชญ์ อนันต์ดิลกฤทธิ์ พร้อมกำลัง ตำรวจ. จิตอาสาพระราชทาน ทหาร นายบรรจง เลาหพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จรัส นายชนะชลมูลจันทร์ ประธาน.กต.ตร.สภ.บัวเชด ประมง จังหวัดสุรินทร์ สาขาบัวเชด และนายถาวร จันทรถาวร ผู้ใหญ่บ้าน ตระเวน ลงพื้นที่ ไปมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนในครั้งนี้ เจ้าที่ทุกภาคส่วน ได้ออกเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจ ช่วยเหลือประชาชน และ จัดหน่วยงานทางราชการเข้ามาประเมิณ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนต่อไป
วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566
กกต.สุรินทร์ จัดประชุมชี้แจงเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในการเลือกตั้งทั่วไป
กกต.สุรินทร์ จัดประชุมขี้แจงเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2566
วันที่ 29 มีนาคม 2566 ที่ห้องรัตนสยาม โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุรินทร์ จัดประชุมชี้แจงเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป พ.ศ.2566 เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และอำนาจในการปฏิบัติงาน โดยมีนายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นเกียรติ
ร้อยตำรวจเอก นิยม เพ็ชรโกมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไป โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศกำหนดให้วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป และกำหนดให้ วันที่ 3-7 เมษายน2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ทั้ง 8 เขต กำหนดสถานที่รับสมัคร ณ ห้องประชุมช้างเผือก อาคาร 41 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้วันที่ 7 พฤษภาคม 2566 เป็นวันออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง โดยลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม ถึงวันที่ 9 เมษายน 2566
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำสั่งที่ 422/2566 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566 แต่งตั้งกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งและผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามกรอบเวลา ขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบกำหนด
สำหรับผู้เข้ารับการประชุม ประกอบด้วย ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง อนุกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลการรับสมัคร ทั้ง 8 เขตเลือกตั้ง รวมทั้งสิ้น 161 คน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)