srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566

วันช้างไทย สุรินทร์เปิดงานวันช้างไทย ฉลองเมืองสุรินทร์ 260 ปี

สุดยอด อลังการ พิธีเปิดงาน วันช้างไทย ฉลองเมืองสุรินทร์ 260 ปี โดยมี นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานพิธีเปิดงาน มีรองผู้ว่าราชการ หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนเข้าร่วมงาน ณ.สนามศรีณรงค์สนามแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ ใน 1-10 เม.ย. มีขบวนแห่แต่ละอำเภอ และอบต.แบ่งออกเป็น 6 หัวเมืองใหญ่ในอดีต นิทรรศการ ของดี 17 อำเภอ การแสดงศิลปพื้นเมือง ประกวดกันตรึมชิงถ้วย ร.10 ดนตรี และการแสดงช้างวันที่ 7-8 เม.ย 2566 จังหวัดสุรินทร์ในอดีต ประชากรประกอบด้วยชนชาติต่างๆเช่น ชาวไทยกูย ไทยลาว ไทยเขมร ซึ่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง กับข้าวมามากมาย รวมถึงการเลี้ยงช้างเพื่อช่วยงานเกษตรกรรม ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ได้มีการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวหอม มะลิอินทรีย์ เกษตรกรมีการปลูกข้าวหอมมะลิเป็นพืชหลัก จนมีชื่อเสียง ของชาวสุรินทร์ ดังคำขวัญที่ว่า "ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ หอม ยาว ขาว นุ่ม" สุรินทร์เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมาอย่างยาวนาน และได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม จนเป็นเอกลักษณ์ ของจังหวัดสุรินทร์ จนถึงทุกวันนี้ และจังหวัดสุรินทร์ยังเป็นเมืองเลี้ยงช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีช้างเลี้ยงส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 อำเภอหลักๆ ประกอบไปด้วย อำเภอท่าตูม จำนวน 449 เชือก อำเภอชุมพลบุรี จำนวน 309 เชือก และอำเภอเมืองสุรินทร์จำนวน 60 เชือก ตอนนี้ในพื้นที่อำเภอท่าตูมและอำเภอชุมพลบุรีชนพื้นเมืองชาวกูยจะ นิยมเลี้ยงช้างมาแต่โบราณมีประวัติเล่าขานสืบต่อกันมาว่าชาวกูย ที่เรียกกันว่า "มะ เสตียง สดำ" สมัยก่อนนิยมไปจับช้างป่ามาเลี้ยงใช้งานในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันช้างเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัว และนิยมใช้ช้างซึ่งเป็นสัตว์มงคลในการแห่ตามงานประเพณีและพิธีต่างๆ โดยเฉพาะบ้านตากกลาง ตำบลกระโพ ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างประจำบ้านไว้เป็นจำนวนมากมาย ซึ่งคนทั่วไปจะรู้จัก บ้านตากกลางในนาม "หมู่บ้านเลี้ยงช้างบ้านตากลาง" จังหวัดสุรินทร์ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อให้การท่องเที่ยวและการบริหารของจังหวัดสุรินทร์ มีศักยภาพในการแข่งขันและการประชาสัมพันธ์ควบคู่กับการส่งเสริมการตลาดเชื่อมโยงกับการดำเนินงาน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในด้านการท่องเที่ยว ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ จึงนำเอาตำนานของคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ มาจัดงานเป็นกิจกรรม การท่องเที่ยวขึ้นเป็นอีกหนึ่งโครงการ เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรายได้และการบริหารให้กับคนสุรินทร์เพิ่มมากขึ้น จังหวัดสุรินทร์จึงได้จัดกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อให้นักท่องเที่ยว ได้สนุกสนานเพลิดเพลินรวมทั้งชมความน่ารักของช้างสุรินทร์ ชมศิลปวัฒนธรรมประเพณี ผ่านการแสดงแสงสีเสียงงานสืบสานตำนานช้างไทย ภายใต้ กรอบแนวคิด 260 ปี สุรินทร์รุ่งเรือง เมืองมหัศจรรย์ โดยมี องค์การแสดง ฉาก ดังนี้ องค์ที่ 1 ปฐมบทวีรกรรมพระยาสุรินทร์ภักดี องค์ที่ 2 ฉลองยศ ฉลองเมือง องค์ที่ 3 รุ่งเรืองเมืองสุรินทร์แผ่นดินวัฒนธรรม องค์ที่ 4 บุญแคแจต ขึ้นเขาพนมสวาย ตรุษสงกรานต์เมืองสุรินทร์ องค์ที่ 5 260 ปี สุรินทร์รุ่งเรือง เมืองมหัศจรรย์ จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาเที่ยวชมงาน "การแสดงตำนานคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์" ( กิจกรรม แสง สี เสียง) การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชุมชน ในวันที่ 7-8 เมษายน 66 และการจัดกิจกรรมของดี 17 อำเภอจังหวัดสุรินทร์ สินค้า OTOP และการแสดงศิลปะพื้นบ้าน การประกวดร้องเพลงกันตรึมมีตั้งแต่ วันที่ 1-10 เม.ย.66

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น