เป็นบล็อกสื่อสารถึง ข่าวสาร วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น การกีฬา สร้างสรรสิ่งดีๆให้สังคม
srikho tv
ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ทริปตะลอนทัวร์อีสานใต้ เที่ยวสุรินทร์เมืองช้าง เมืองรองต้องไม่พลาด เป็นอีกเมืองหนึ่งที่น่าเที่ยว เพราะมีเรื่องราวกับผ้าไหมที่สวยงามที่สุดในโลกและก็แพงที่สุดเช่นกัน
หมุดหมายแรกของทริปท่องเที่ยวตะลอนทัวร์อีสานใต้คราวนี้ ตั้งเข็มมุ่งตรงไปที่บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือของตัวจังหวัดประมาณ 10 กิโลเมตร เพื่อไปชมความงามของผ้าไหมสุรินทร์ อันเลื่องชื่อ โดยเฉพาะแหล่งผลิตทอและตัดเย็มชุดฉลองพระองค์ถวายแด่เจ้านายทุกพระองค์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่ผ่านมา การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทเชื้อสายกูย ระบุว่า ผ้าไหมทุกผืนที่ใช้สำหรับฉลองพระองค์งานพระราชพิธีล้วนทอโดยชาวบ้านจากจังหวัดสุรินทร์ โดยฉลองพระองค์รัชกาลที่ 10 ปักโดยช่างฝีมือหมู่บ้านท่าสว่าง นั้นเป็นแรงบันดาลใจให้เดินทางมาไกลถึงขนาดนี้ ซึ่งคุ้มค่ามากๆกับการได้มาชมความงามของผ้าไหมยกทองชอง กลุ่มทอผ้าจันทร์โสมา ที่มี อ.วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ครูศิลปของแผ่นดินด้านผ้าทอไหมยกทอง เป็นหัวหน้ากลุ่ม
![]() |
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
สำหรับงานทอผ้าไหมที่บ้านท่าสว่างนี้ จะเรียกว่าเป็นอะเมซิ่งไทยแลนด์ก็ว่าได้ เพราะกี่ที่ใช้ทอผ้านั้นไม่ธรรมดาใช้คนทอแต่ละผืนประมาณ 4-5 คน ได้รับการขนานนามในการทอผ้าว่า เป็นแหล่งทอผ้าไหม 1,416 ตะกอ ในการทอผ้าไหมแต่ละผืนทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามลำดับตะกอที่เก็บลายไว้ ผิดไม่ได้แม้แต่เส้นเดียวและต่อวันจะทอได้แค่ 5-7 เซนติเมตรเท่านั้น โดยผ้าผืนที่ยาวขนาด 2 เมตร จะใช้เวลาทอประมาณ 2 เดือน ส่วนไหมที่นำมาทอนั้น ก็ละเอี่ยดนุ่มนวลย้อมสีธรรมชาติ ด้วยแม่สีสามสี คือ สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นแก หรือแก่นขนุน สีครามจากเมล็ดคราม ราคาผ้าไหมถ้าทอแบบ 700-800 ตะกอ ราคาจะอยู่ที่เมตรละ 30,000 บาท ถ้าทอ 1,000 ตะกอขึ้นไป ราคาต่อเมตรอยู่ที่ 150,000-200,000 บาท ซึ่งต้องบอกว่าคนอย่างเราๆสูงเกินเอื้อมที่จะได้ใช้ ออกจากบ้านท่าสว่างดูผ้าไหมเสร็จแล้วที่พลาดไม่ได้คือ หมู่บ้านเครื่องเงินเขวาสินรินทร์ หรือกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินบ้านโชค เป็น หมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการผลิตลูกประคำที่ทำด้วยเงิน เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านที่เรียกกันว่า ลูกประเกีอม ซึ่งมีลักษณะกลมๆคล้ายลูกประคำของไทย เพียงแต่ลูกประเกือมจะทำมาจากเม็ดเงินมีรูปทรงกลมและมีหลายขนาด เป็นภูมิปัญญาของชาวกัมพูชาที่ตกทอดกันมากว่า 200 ปี ส่วนใหญ่นิยมนำประเกือมมาร้อยเป็นเครื่องประดับ เช่นสร้อยคอ สร้อยข้อมือโดยมีลายหลากหลายรูปแบบ นอกจากมีผ้าไหม เครื่องเงินแล้วจังหวัดสุรินทรยังมีแหล่งท่องเที่ยวในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีกมากมาย คือวนอุทยานพนมสวายสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ร่องรอยอารยธรรมของชาวขอมโบราณหลอมรวมกลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น คำว่า"พนมสวาย"เป็นภาษาพื้นเมืองของสุรินทร์มีความหมายว่าภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกที่หนึ่งของสุรินทร์ เขาสวายเป็นภูเขาเตี้ยๆประกอบด้วยเขาสามลูก เขาชายหรือเขาพนมเปราะ มีบันไดก่ออิฐถือปูนยาวเหยียดขึ้นไปถึงด้านบนยอดเขาระหว่างทางขึ้นเป็นบันไดนั้นมีระฆัง 1,080 ใบแขวนอยู่ตลอดสองข้างทางขึ้นภูเขา ส่วนเขาอีกลูกหนึ่งคือ เขาหญิง หรือเขาพนมสรัย เป็นที่ตั้งของวัดพนมศิลารามซึ่งประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคลพระพุทธรูปปางประทานพรประจำเมืองสุรินทร์ สวนยอดเขาดอก หรือเขาพนมรอล เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองซึ่งย้ายมาจากยอดเขาชายบริเวณใก้ลกันมีสถูป สถานที่เก็บอัฐิธาตุพระราชวุฒาจารย์ หรือที่รู้จักในชื่อ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล พระเกจิชื่อดังสายวิปัสสนา
![]() |
ระฆัง 1,080 ใบ |
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
หนึ่งเดียวในโลกตักบาตรพระสงฆ์ 40 รูปนั่งบนหลังช้าง40เชือก
ของจังหวัดสุรินทร์นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติแห่ทำบุญตักบาตรบนหลังช้าง ในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต
วันที่ 16 กรกฎาคม 2562 เวลา07.00 น. ณ.บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นประธานฝ่ายฆราวาสประกอบพิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างในวันอาสาฬหบูชา โดยมีพระธรรมโมลี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11และอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จากนั้นอธิบดีกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมด้วยนายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และนายกิติเมศวร์ รุ่งธนิเกียรติ นายก อบจ.จังหวัดสุรินทร์ นำหัวหน้าส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียนนักศึกษาและพุทธศาสนิกชน นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและคนต่างชาติหลายพันคนร่วมกันประกอบพิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างแห่งเดียวในโลกที่พระสงฆ์ 40รูปนั่งบนหลังช้าง 40 เชือกมารับบิณฑบาตรกับประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์และนักท่องเที่ยว
พิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดสุรินทร์นั่งบนหลังช้างออกรับบิณฑบาตรจากประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยมีพระธรรมโมลีที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค11 อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ และพระราชวิสุทธิมุนี(หลวงตาเยื้อน ขันติพะโล)เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ฝ่ายธรรมยุตย์นั่งช้างออกรับบิณฑบาตรจากประชาชนที่ยืนบนอัฒจรรย์รอบบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีฯท่ามกลางประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นไปบนอัฒจรรย์เพื่อร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
ของจังหวัดสุรินทร์นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติแห่ทำบุญตักบาตรบนหลังช้าง ในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต
วันที่ 16 กรกฎาคม 2562 เวลา07.00 น. ณ.บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นประธานฝ่ายฆราวาสประกอบพิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างในวันอาสาฬหบูชา โดยมีพระธรรมโมลี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11และอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จากนั้นอธิบดีกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมด้วยนายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และนายกิติเมศวร์ รุ่งธนิเกียรติ นายก อบจ.จังหวัดสุรินทร์ นำหัวหน้าส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียนนักศึกษาและพุทธศาสนิกชน นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและคนต่างชาติหลายพันคนร่วมกันประกอบพิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างแห่งเดียวในโลกที่พระสงฆ์ 40รูปนั่งบนหลังช้าง 40 เชือกมารับบิณฑบาตรกับประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์และนักท่องเที่ยว
พิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดสุรินทร์นั่งบนหลังช้างออกรับบิณฑบาตรจากประชาชนและนักท่องเที่ยวโดยมีพระธรรมโมลีที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค11 อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ และพระราชวิสุทธิมุนี(หลวงตาเยื้อน ขันติพะโล)เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ฝ่ายธรรมยุตย์นั่งช้างออกรับบิณฑบาตรจากประชาชนที่ยืนบนอัฒจรรย์รอบบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีฯท่ามกลางประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นไปบนอัฒจรรย์เพื่อร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)