srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2567 ปีนี้ผลเสี่ยงทายพระโคกินน้ำ หญ้า เหล้า พระยาแรกนาเสี่ยงทายผ้านุ่งได้ผ้า 5 คืบ

 







ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2567 ปีนี้ ผลเสี่ยงทาย ของกิน 7 สิ่งของพระโคพอ พระโคเพียง พระโคกินน้ำ หญ้า เหล้า ขณะที่พระยาแรกนาเสี่ยงทายผ้านุ่ง ได้ผ้า 5 คืบ ทำนายว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี "กินเหล้า" การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง

ประชาชนจำนวนมากวิ่งกรูเข้ามาเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว และต้นไม้ 

กล้วย อ้อย หลังจากพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเสร็จสิ้น โดยเก็บกลับไปเพื่อความเป็นสิริมงคล







วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

วันพืชมงคล เป็นวันพระราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีเก่าแก่มีมาแต่โบราณที่สร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตกรของชาติ

 




วันพืชมงคล  เป็นวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีเก่าแก่มาแต่โบราณที่เสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย โดยมีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ สืบต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  พิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัย และให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี


พิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ถึงฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณ

ประชาชน เกษตรกร ถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญ ฤกษ์ดี ในการทำนา จึงได้พากันลงทำนาหว่านข้าวและไถกลบข้าวที่หว่านลงในแปลงนาในวันนี้ เมื่อเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไว้ได้รับความชื่นจากฝนก็จะงอกงาม ออกมาเป็นต้นข้าวให้กับชาวนา ได้ดูแลใส่ปู๋ยบำรุงให้เจริญเติบโตต่อไป












ชาวบ้านหนองแล้ง ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอสำโรงทาบ จุดบั้งไฟเซ่นปู่ตา เพื่อขอฝนให้ตกตามฤดูกาล ประจำปี 2567







 นายสมบัติ   วิวาสุข        นายกเทศมนตรีเทศบาลสำโรงทาบ  จุดบั้งไฟบั้งเซ่นปู่ตาเพื่อขอฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาล และทำให้พืชผลงอกงามเต็มเม็ดเต็มหน่วย ให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขรักใคร่สมัครสมานสามัคคีกัน

วันที่ 9 พ.ค.67 เวลา11.30น.ทึ่บริเวณทุ่งนาบ้านหนองแล้ง ต.หนองไผ่ล้อม  อ.สำโรงทาบจ.สุรินทร์  นายสมบัติ  วิวาสุข นายกเทศมนตรีเทศบาลสำโรงทาบ เป็นประธานเปิดงานประเพณีบุญบั้งไฟเซ่นปู่ตา โดยนายนพรัตน์  สายรัตน์  ปลัดเทศบาลสำโรงทาบได้กล่าว รายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในครั้งนี้  

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งภาคอีสานของไทย  การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน  ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาลและมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมากหากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้

ผู้นำท้องถิ่นบ้านหนองแล้ง คณะกรรมการหมู่บ้านพร้อมทั้งชาวบ้านในชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญของประเพณีดังกล่าวจึงจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้       เป็นการเซ่นปู่ตาเพื่อขอฟ้าขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล.                         เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไปเป็นการสร้างความรักสามัคคีในหมู่บ้าน

ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในครั้งนี้ได้มีนายสมบัติ วิวาสุข นายก.          เทศมนตรีเทศบาลสำโรงทาบ ได้เดินทางมาเป็นประธาน ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการพ่อค้าประชาชนต่างได้เดินทางมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก










วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

นายก อบจ.สุรินทร์ นายพรชัย มุ่งเจริญพร เปิดฟ้าขอฝนโดยการจุดบั้งไฟบั้งแรกของฤดูกาลนี้ของจังหวัดสุรินทร์






 นายกพรชัย  มุ่งเจริญพร เปิดฟ้าขอฝนโดยการจุดบั้งไฟบั้งแรกของจังหวัดสุรินทร์ ในฤดูกาลนี้

วันที่ 8 พ.ค.67 เวลา10.30น.ทึ่บริเวณทุ่งนาบ้านจังเอิด ม..9ต.หนองไผ่ล้อม  อ.สำโรงทาบจ.สุรินทร์  นายพรชัย  มุ่งเจริญพร นายก อบจ.สุรินทร์ เป็นประธานเปิดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของหมู่บ้านจังเอิด โดยนาย สมคิด สุขเมือง ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าว รายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟแสนในครั้งนี้  

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งภาคอีสานของไทย  การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน  ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาลและมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมากหากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้

ผู้นำท้องถิ่นบ้านจังเอิด  คณะกรรมการหมู่บ้านพร้อมทั้งชาวบ้านในชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญของประเพณีดังกล่าวจึงจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟแสนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้       เป็นการขอฟ้าขอฝนเป็นการบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬมณีบนสวรรค์  เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีให้คงอยู่ต่อไปเป็นการสร้างความรักสามัคคีในหมู่บ้าน

ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟแสนในครั้งนี้ได้มีนายพรชัย มุ่งเจริญพร นายกอบจ.สุรินทร์ได้เดินทางมาเป็นประธานพร้อมกับ สจ.ในเขตพื้นที่  จังหวัดสุรินทร์ ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการพ่อค้าประชาชนต่างได้เดินทางมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก








โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี







 โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

  ประจำปีงบประมาณ 2567

โดยมี นายกู้เกียรติ นิ่มเนียน ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

นายธวัชชัย เลี้ยงประเสริฐ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น

นายนิกร ดีสุยา ผู้อำนวยการสาธารณสุขท้องถิ่น

นายกิติชัย เกตุวงษา        ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์

นางสาวสูงสุด คุ้มภัย

ท้องถิ่นอำเภอศีขรภูมิ

นายสัตวแพทย์จรูญวิทย์ นะพรรัมย์

นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ จังหวัดสุรินทร์

ร้อยตรีบุญมาก วิบูลย์อรรถ

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนารุ่ง

และเจ้าหน้าที่วิชาการ ของหน่วยงานท้องถิ่น เข้าร่วมประชุม

การดำเนินงาน

  1 การดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในภาพรวม                    การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า

-  ผลการดำเนินงานตามโครงการความร่วมมือรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน  วรขัตติยราชนารี โดยกำหนดให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ดำเนินการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคพิษสุนัขบ้า ในสุนัขและแมวพร้อมกันทั้งประเทศในระหว่างวันที่ 1 มีนาคมถึง 31 สิงหาคม 2567 จังหวัดสุรินทร์ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นงวดที่ 1/2567 จำนวนเงิน8,145,786 บาท แกเป็นไง

  1  ค่าวัคซีน 7,405,260 บาท

  2. ค่าการสำรวจ และขึ้นทะเบียนสัตว์  740,526 บาท

-  องค์การบริหารส่วนตำบลนารุ่ง อำเภอศีขรภูมิ ได้รับ จัดสรรงบประมาณงวดที่ 1/2567 จำนวน 19,503 บาท สุนัขและแมวในพื้นที่จำนวน 591 ตัว (ข้อมูลจากระบบRabies One Data ปี 2566รอบที่ 2/2566

ผลการจัดซื้อวัคซีนข้อมูลการฉีดวัคซีนของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่จำนวน 172 แห่ง (ข้อมูลณวันที่ 6 พฤษภาคม 2567)

  1 จัดซื้อวัคซีนแล้วจำนวน 199,859 dose จำนวน 140 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 81%

 2  ดำเนินการฉีดวัคซีนแล้วจำนวน 199,859 โด๊ส จำนวน จำนวน 140 แห่งคิดเป็นร้อยละ 81

3. อยู่ระหว่างการจัดซื้อวัคซีนจำนวน 46,191โด๊ส จำนวน 32 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 19

ผลการดำเนินการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์สัตว์จรจัด ตามแนวทางการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในจังหวัดสุรินทร์ มีสถานสงเคราะห์สัตว์(ศูนย์พักพิงสัตว์) จำนวน 3 แห่ง

1 ศูนย์พักพิงสัตว์ชั่วคราวเทศบาลเมืองสุรินทร์

2  ศูนย์พักพิงสัตว์เทศบาลตำบลศีขรภูมิ

 3 ศูนย์พักพิงสัตว์เทศบาลตำบลสำโรงทาบ

การออกเทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ

เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 172 แห่ง ดำเนินการจัดทำข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ แล้วเสร็จ จำนวน 172 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ขององค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นทั้งหมด












วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ภูมิธรรม นำคณะผู้บริหาร ผู้ส่งออก สื่อมวลชน ตรวจสอบข้าวโครงการรับจำนำ10ปียังหุงกินได้








 "ภูมิธรรม" นำคณะผู้บริหารผู้ส่งออก สื่อมวลชน ตรวจสอบข้าวโครงการรับจำนำไว้ 10 ปี ยังกินได้นำมาหุงกินกับ ไข่เจียว หมูสับ ระบุเจ้าของโกดัง เก็บรักษาไว้อย่างดีรมยาตามมาตรฐาน ปิดโกดังแน่นหนา ไม่มีนกเข้า ไม่เจอฝนรั่ว ที่สุรินทร์ เร่งเปิดประมูลเดือนนี้ ขณะที่ผู้ส่งออกชี้พร้อมเข้าประมูลส่งออก

วันที่ 6 พ.ค.2567 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบข้าวสารในสต็อกของรัฐบาล ตามโครงการรับจำนำ ที่ โกดังกิตติชัย หลังที่ 2  ต.กันแอน

อ.ปราสาท และ บจก.พูนผลเทรดดิ้ง หลังที่ 4 ต.เฉลียง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ โดยนำข้าวที่เก็บอยู่ในโกดังมาหุงและรับประทานร่วมกับสื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้อง และจากนี้จะมีการตรวจสอบก่อนประกาศประมูลข้าวสารในสต๊อกของรัฐเป็นการทั่วไป


นายภูมิธรรม กล่าวว่า หลังจากที่เคยได้ลองชิมข้าวกับท่านผู้กำกับเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา แต่มีเสียงทักท้วงว่าข้าว 10 ปีกินไม่ได้ เหมือนเล่นละคร ข้าวปีหนึ่งก็เน่าแล้ว 5 ปีก็เน่าแล้ว ปัญหาอยู่ที่การเก็บรักษา ถ้าเก็บรักษาดีก็สามารถดูแลได้ ถ้าเก็บไม่ดีไม่ต้องถึง 5 ปี หนึ่งปีก็เน่าแล้ว ครั้งนี้อยากทำให้เกิดข้อสรุปที่ชัดเจนสิ้นข้อสงสัย จึงเชิญสื่อมวลชนทุกแขนง เจ้าของโรงสี ผู้ส่งออก ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้การจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นสักขีพยาน ตนทำกับข้าว ผัดกระเพราไข่เจียวหมูสับ มาให้ด้วย และจะเป็นผู้ รับประทานคนแรกพร้อม เจ้าของโกดัง เจ้าของโรงสีผู้ส่งออก และสื่อมวลชนลองทานดู  มีเจ้าหน้าที่เซอร์เวย์เยอร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนก็ร่วมรับประทานด้วย


สำหรับที่โกดังกิตติชัยมีข้าวจำนวน 112,711 กระสอบ และที่พูนผลเทรดดิ้ง 32,879 กระสอบ รวมประมาณ 150,000 กระสอบ เป็นข้าวปี 56/57 ถึงวันนี้ก็ 10 ปีพอดี เป็นข้าวที่เก็บรักษาอย่างดี เจ้าของโรงสี เจ้าของโกดังรมยาตามมาตรฐาน ปิดโกดังแน่นหนา ไม่มีนกเข้า ไม่มีฝนตกที่ทำให้ข้าวเสีย ที่มีปัญหาข้าวบูดเน่าคือการเก็บรักษาที่ไม่ดี โรงสีทั้งสองถือว่ามีการเก็บรักษาที่ดี โรงสีกิตติชัยรมยาทุก 2 เดือน โรงสีพูนผลรมยาทุกเดือน ซึ่งผู้ถือกุญแจทั้ง 3 ส่วน ถือกุญแจคนละดอกมาเปิดต่อหน้า อยากเจาะกระสอบไหนชี้เลย จะได้เอาข้าวออกมาไปหุงชิมทั้งสองโรง

จากนี้เร็วที่สุด ภายในสิ้นเดือนนี้น่าจะสามารถเปิดประมูลได้ จะทำให้เร็วที่สุด ตนพิสูจน์ขั้นต้นให้แล้ว จะประมูลเหมากองเอาไปทั้งหมดขายทั้งหมด เอาเงินเข้ารัฐจ่ายคืนเจ้าของโกดัง ตามความเหมาะสม เป็น 2 โกดังสุดท้ายของโครงการจำนำข้าวซึ่งจะได้พิสูจน์ว่าข้าว 10 ปียังทานได้ เป็นข้าว 2 โกดังสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ ตนมาเป็นรัฐมนตรีฯให้พิสูจน์กันไปเลยจัดการให้จบ ไม่ต้องการให้เรื่องคั่งค้าง” นายภูมิธรรมกล่าว


โดยในช่วงเช้านายภูมิธรรม พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน บริษัทเซอร์เวย์ผู้ตรวจสอบคุณภาพและรับข้าวสารเข้าคลัง สมาคมโรงสี ผู้ส่งออกข้าว อาทิ บริษัท ธนสรร ไรซ์ จำกัด บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด บริษัท เจ.พี.ไรซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล(1998)จำกัด คณะผู้สื่อข่าวร่วมเปิดโกดังที่คลังกิตติชัย หลัง 2 อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ และเก็บตัวอย่างข้าว รวม 9 ตัวอย่าง มาดูลักษณะทางกายภาพและนำมาหุงให้กับบรรดาสื่อมวลชนที่ร่วมลงพื้นที่ ร่วมกันชิมข้าวสวยที่ได้จากข้าวสารในโกดังทั้ง 2 แห่ง กับกะเพราไก่ ไข่เจียว








ทั้งนี้ข้อมูลจากองค์การคลังสินค้า(อคส.) ระบุว่า โครงการรับจำนำฯปี 2556/57 จ.สุรินทร์ 1.คลังกิตติชัย หลัง 2 (ข้าวหอมมะลิ 100%) รับมอบข้าวสารตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2557 ถึง 10 มีนาคม 2557 เก็บข้าวแล้ว 10 ปี 2 เดือน รวมปริมาณทั้งสิ้น 26,094 ตัน หรือ 258,106 กระสอบจาก 24 โรงสี และได้มีการระบายข้าวสารแล้ว 3 ครั้ง คงเหลือ 11,656 ตัน หรือ 112,711 กระสอบ


2.คลัง บจก.พูนผลเทรดดิ้ง หลัง 4 (ข้าวหอมมะลิ 100%) รับมอบข้าวสารตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2557 ถึง 29 เมษายน 2557 เก็บข้าวแล้ว 10 ปี 7 วัน มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 9,567 ตัน หรือ 94,637 กระสอบ จาก 6 โรงสี ซึ่งระบายข้าวสารแล้ว 4 ครั้ง คงเหลือ 3,356 ตัน หรือ 32,879 กระสอบ


ด้าน น.ส.ทิชาภา อ่าวพัฒนา เจ้าของโกดังกิตติชัย กล่าวว่า โกดังได้ปฏิบัติตามที่ อคส. (องค์การคลังสินค้า) สร้างมาตรฐานไว้ โดย


1.ดูความเรียบร้อยของคลังไม่ให้เกิดน้ำรั่ว ถ้าเกิดน้ำรั่วจะทำให้ข้าวเน่าเสีย

2.ต้องรมยาทุก 2 เดือน

3.จำนวนกระสอบห้ามหาย ซึ่งมีการประมูลมาแล้ว ปกติมีข้าวประมาณ 400,000 กระสอบ ตอนนี้เหลือ 110,000 กระสอบ ประมูลมาแล้วเกิน 2 ครั้งจะเป็นหน้าที่ของ อคส.กับผู้ประมูล


ที่ผ่านมาการประมูลในแต่ละรอบราคาก็คือข้าวบริโภคเลย ซึ่งข้าวในโกดังมีการคัดกรองให้ได้ข้าวหอมมะลิคุณภาพตามมาตรฐาน เมื่อเดือนที่แล้วได้มีการเปิดคลังทดลองชิมไปเรียบร้อยยังบริโภคได้

และนายศุภชัย วรอภิญญาภรณ์ ผู้แทนจากบริษัท ธนสรร ไรซ์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ กล่าวว่า ที่ตนมาร่วมพิสูจน์ข้าวในวันนี้เพราะลูกค้าในแอฟริกาสนใจซื้อข้าวเก่า เพราะหุงขึ้นหม้อหากคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้าบริษัทก็พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูล