srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2567

งานเทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิและงานกาชาดชุมพลบุรี ประจำปี 2567

 


##อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ จัดงานเทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ และงานกาชาดชุมพลบุรี ประจำปี 2567



วันที่ 21 ธันวาคม 2567 เวลา 16.30 น. นายชำนาญ ชื่นตา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดงานเทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ และงานกาชาดชุมพลบุรี ประจำปี 2567 โดยมีนายกษิติเดช ทองชู นายอำเภอชุมพลบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คหบดี พ่อค้า และประชาชนชาวอำเภอชุมพลบุรี เข้าร่วมพิธีฯ 






อำเภอชุมพลบุรี ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดสุรินทร์ แบ่งการปกครองเป็น 9 ตำบล 124 หมู่บ้าน ประกอบด้วยเทศบาลตำบล 5 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง พื้นที่แห่งนี้ถูกเรียกขานว่าเป็นดินแดน "ทุ่งกุลาร้องไห้" เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุรินทร์ และประเทศไทยนอกจากนี้สภาพพื้นที่ยังเป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ มีแม่น้ำขนาบทั้งด้านทิศเหนือ คือลำพลับพลา และทิศใต้ คือ แม่น้ำมูล ซึ่งเหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม และการขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด โดยเฉพาะปลาไหลธรรมชาติ เมื่อสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว เป็นช่วงที่ปลาไหลเจริญเติบโตเหมาะแก่การบริโภคเกษตรกรสามารถจับปลาไหลได้ ในปริมาณมากมีลักษณะตัวโตสีเหลือง ลำตัวถึงโคนหางกลมอวบ ไม่มีกลิ่นคาว เป็นที่นิยมบริโภค ด้วยอัตลักษณ์และทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของท้องถิ่นข้างต้น พี่น้องชาวอำเภอ ชุมพลบุรี ได้คิดริเริ่มและร่วมแรงร่วมใจกัน กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมงาน "เทศกาลปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ"ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535


โดยกำหนดเป็นงานประจำปีของอำเภอ สำหรับปีนี้จัดเป็นครั้งที่24 กำหนด 5 วัน ตั้งแต่วันที่20 - 24 ธันวาคม 2567 โดยมีกิจกรรม ขบวนแห่ ประกอบด้วย ขบวนปราสาทตกแต่งด้วยเมล็ดข้าวหอมมะลิขบวนวิถีชีวิตท้องถิ่น ขบวนฟ้อนรำ ขบวนวัฒนธรรมประเพณี ขบวนรณรงค์ และ ขบวนแฟนซี, พิธีสู่ขวัญข้าว, การประกวด ได้แก่ การประกวดข้าวหอมมะลิ การประกวดปลาไหล การประกวดอาหารสูตรเด็ดจากปลาไหล ประกวดสำรับอาหาร ประกวดเทพีเมืองปลาไหล การประกวดผ้าไหม การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง การแข่งขัน ได้แก่ การแข่งขันจับปลาไหล การแข่งขันหุงข้าวแบบโบราณการแข่งขันตำข้าวแบบโบราณ การแข่งขันส้มตำลีลา และกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงนิทรรศการ การออกร้านของหน่วยงานต่างๆ กิจกรรมรำวงย้อนยุค กิจกรรมเดินแบบผ้าไหม งานราตรีสัมพันธ์ รวมทั้งมีมหรสพตลอดงานทุกคืน##










วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567

สำนักงาน ป.ป.ท. ร่วม5 หน่วยงาน ขับเคลื่อนและบูรณาการพร้อมพัฒนาศักยภาพหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

 









##สำนักงาน ป.ป.ท.##

ประธานกรรมการ ป.ป.ท. ร่วมกับ 5 หน่วยงาน ขับเคลื่อนและบูรณาการ พร้อมพัฒนาศักยภาพหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ





วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2567เวลา 08.30 น. นายอำนาจ พวงชมภู ประธานกรรมการ ป.ป.ท. เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของ ปปท. เขต 3 และเสวนาทางวิชาการ หัวชัย “การขับเคลื่อนและบูรณาการแนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริต” ร่วมกับนายวิเชียร จันทรโณทัย กรรมการ ป.ป.ท. นายธันว์ บุณยะตุลานนท์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 6 ช่วยทำงานชั่วคราว ในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 และนายศิริชัย จันทรังษ์ รองอธิบดี อัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตภาค 3 โดยมีเจ้าหน้าที่ ปปท. เขต 3 และบุคลากรในสังกัดหน่วยงาน ด้านการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ รวมทั้งสิ้นประมาณ 70 คน เข้าร่วมฯ ณ โรงแรมบีลีฟโฮเทล ต.นอกเมือง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์


ประธานกรรมการ ป.ป.ท. กล่าวว่า การทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาใหญ่ที่สะสมในสังคมมายาวนาน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินงานโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชน อีกทั้งยังส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยขาดความน่าเชื่อถือจากต่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ท. ในฐานะที่เป็นกลไกของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต จึงพร้อมผลักดันขับเคลื่อนและ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาศักยภาพหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายปราบปรามการทุจริต ในภาครัฐ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการผสานพลังของการป้องกันการทุจริตควบคู่ไป กับการปราบปรามการทุจริต ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านคดีให้มีความรวดเร็ มีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินการกับผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตได้โดยเร็ว และลดขั้นตอนการทำงานขอ พนักงาน ป.ป.ท. ในการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงสำนวนคดี จึงเห็นควรจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติกา ร่วมกันระหว่าง 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 สำนักงานค ปราบปรามการทุจริตภาค 3 สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 8 จังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ ปปท เขต 3 สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์ และ ปปท. เขต 3 ทั้งนี้ เพื่อเป็นเ ให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและบุคลากรจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่วข้อง ได้ประสานความร่วมมือ สร้างควา ความเข้าใจในแนวทางการจัดทำสำนวนไต่สวนข้อเท็จจริง อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญ ในการปฏิบัติงานร่วมกัน และนำมากำหนดเป็นแนวทางในการทำสำนวนไต่สวนข้อเท็จจริงในพื้นที่รับผิดชอบ แ เป็นองค์ความรู้ด้านการดำเนินคดีอาญาทุจริต ต่อไป


นางสาวมนัสนันท์ จร้อจรูญพงษ์ ผอ. ปปท. เขต 3 กล่าวว่า การจัดสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประ เพื่อประสานและสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายปราบปรามการทุ ในภาครัฐ สร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการจัดทำสำนวนคดี ตั้งแต่กระบวนการสืบสวนสอบ การพิจารณาสั่งสำนวนของพนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต จนถึงการพิจารณาพิพากษ ในชั้นศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ##















วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567

โครงการ STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต ประจำปีงบประมาณ 2568



 ##โครงการ STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต



โดย นายธีรพงศ์ ยอดกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์       ประธานในพิธีเปิดโครงการ STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต


STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์) กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพสมาชิกชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต                      วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒ ณ โรงแรมทองธารินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์





ท่านประธานชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดสุรินทร์ โค้ช กรรมการ สมาชิก ชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดสุรินทร์ และผู้เข้าร่วมโครงการ 


โครงการ STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต กิจกรรม : แผนงานปฏิบัติการ STRONG - พอเพียงต้านทุจริต (สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุรินทร์) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพสมาชิกชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต ในวันนี้ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ต้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ภาครัฐ ประเด็นที่ ๔๖ มีเป้าหมายที่จะทำให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติ มีขอบ และตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการขับเคลื่อน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งมีแนวทาง ในการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้าน การทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยต้องปลูกและปลุกจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรม สุจริต และการปลูกฝังและหล่อหลอมวัฒนธรรมในทุกช่วงวัย ทุกระดับ มุ่งเน้นการพัฒนาคน โดยการปลูกและปลุกจิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรมสุจริต สามารถแยกได้ว่าสิ่งใดเป็น ประโยชน์ส่วนตน สิ่งใดเป็นประโยชน์ส่วนรวม มีความละอายต่อการกระทำความผิด ไม่เพิกเฉยต่อ การทุจริต และเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต โดยการส่งเสริมวัฒนธรรมสุจริต มีพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต##










ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25มอบบ้านและผ้าห่มกันหนาวให้กับทหารผ่านศึกที่ยากไร้

 






##ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 มอบบ้านและผ้าห่มกันหนาวให้กับทหารผ่านศึกที่ยากไร้  ที่จังหวัดสุรินทร์

ณ.ที่บ้านเลขที่ 178 หมู่ที่ 21 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พลตรี ไชยนคร กิจคณะ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 พร้อมด้วย คุณสายธาร กิจคณะ ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 25 และนางสาวอนัญญา พรหมบุตร รองหัวหน้าสำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสุรินทร์  พร้อมคณะเป็นประธานมอบบ้านให้กับ สิบเอกนันทวัฒน์ โชควรรณทรัพย์ ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 2 อายุ 77 ปี ซึ่งมีฐานะยากจน ประสบปัญหาทางการเงิน และที่อยู่อาศัยชำรุดทรุดโทรม โดยการซ่อมแซม สร้างบ้าน และมอบบ้านในครั้งนี้ เพื่อให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของทหารผ่านศึกดีขึ้น เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเหมาะสม ปลอดภัย 

โดยการมอบบ้านในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสว่าง สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสุรินทร์ และกำลังพลชุดช่างจากร้อยมณฑลทหารบกที่ 25 ในการซ่อมแซม และสร้างบ้านหลังดังกล่าว โดยได้เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 โดยมีผู้มีจิตศรัทธาจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมมอบเครื่องอุปโภคบริโภค และเงินเพื่อเป็นต้นทุนสนับสนุน ปรับปรุงคุณภาพชีวิตเบื้องต้น ต่อไป

ทั้งนี้ สิบเอกนันทวัฒน์ โชควรรณทรัพย์ ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ในกรณีสงตรามเวียดนามส่วนที่ 1 ผลัดที่ 2 (รุ่นเสือดำ รุ่นที่ 1 ) ซึ่งปัจจุบันเป็นทหารผ่านศึกที่สูงวัย มีอาชีพขายผักมีรายได้วันล่ะ 100 – 300 บาท ซึ่งจากรายได้ที่ไม่แน่นอน และที่อยู่อาศัยทรุดโทรม สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสุรินทร์  จึงได้เสนอต่อองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เพื่อพิจารณาปลูกสร้างซ่อมแซมบ้านพักอาศัยให้แก่ สิบเอกนันทวัฒน์ โชควรรณทรัพย์ ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 2  ในการปลูกสร้างบ้าน เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตเบื้องต้น

นอกจากนี้ พลตรี  ไชยนคร กิจคณะ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 พร้อมด้วย คุณสายธาร กิจคณะ ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา มณฑลทหารบกที่ 25 และนางสาวอนัญญา พรหมบุตร รองหัวหน้าสำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสุรินทร์  ได้ร่วมมอบผ้าห่มกันหนาว ช้าวสาร อาหารแห้งแก่สมาชขิกทหารผ่านศึกที่เข้าร่วมอีก จำนวน 20 ราย##


วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567

อุบัติเหตุรถตู้แดนช์เซอร์ลำใยไหทองคำชนกับรถกระบะตรงสี่แยกบ้านข่าหนองผืออำเภอศีขรภูมิ เมื่อคืนวันที่15 ธันวาคม 67

 



##อุบัติเหตุรถตู้แดนซ์เซอร์ไหทองคำเดินทางจะมาแสดงคอนเสิรต์งานงิ้วศีขรภูมิชนกับรถกระบะได้รับบาดเจ็บ7รายสี่แยกบ้านข่า-หนองผือ ต.ช่างปี่ อ..ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์##






วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567

นายพัฒนา แสงเทพ อดีตกำนันตำบลระเวียง ยื่นหนังสือร้องเรียนถึงผู้สื่อข่าวทาง อบต.จัดทำโครงการไม่โปร่งใส

 ##อดีตกำนันร่วมกับชาวบ้านยื่นหนังสือถึงนักข่าวเมืองช้างตรวจสอบโครงการขุดลอกหนองหินและโครงการก่อสร้างถนนดินลงหินคลุก


วนที่ 14 ธ.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า นายพัฒนา แสงเทพ อายุ63ปี อดีตกำนัน ต.ระเวียง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์ได้ทำหนังสือร้องถึงผู้สื่อข่าวว่า  ทางอบต.ระเวียง  จัดทำโครงการขุดลอกหนองหิน หมู่ที่11ต.ระเวียง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์ ส่อไปในทางทุจริตโดยได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานต่างๆให้เข้ามาตรวจสอบก็ไม่มีการลงมาตรวจสอบ ใช้เวลามาเนิ่นนานจนถึงปีงบ ประมาณ 2568 จะลงมาอีกครั้ง นายก อบต. ยังจัดทำโครงการขุดลอกหนองหินลงมาทับซ้อนที่เดืมอีกเพื่ออะไร

หนังสือตอบรับจากหน่วยงานก็ยังไม่มีคำตอบและดำเนินการอะไรจึงได้พาชาวบ้านทำหนังสือร้องเรียนมายังผู้สื่อข่าวให้ติดตามและดำเนินการให้พร้อมกับลงไปตรวจสอบในพื้นที่




โดย นายพัฒนา กล่าวว่าโครงการดังกล่าวไม่ดำเนินการตามแบบปริมาตรและคุณภาพตามที่กำหนดและการขุดลอกโครงการดังกล่าวซึ่งการขุดลอกในครั้งนี้จากการดูป้ายติดประกาศโครงการก่อสร้างองค์การบริหารส่วนตำบลระเวียง(จ่ายขาดเงินสะสม)ปีงบประมาณ2564ชื่อโครงการขุดลอกหนองหินม.11ต.ระเวียงอ.โนนนาราณ์ จ.สุรินทร์ 

จากการตรวจสอบแล้วปริมาณดินและการขุดดินความลึกไม่เกิน 1 เมตร 50 ซม.ในแผนโครงการความลึก 5 เมตร ขุดได้แค่นี้  ชาวบ้านต้องนำเงินกองทุนประปาของหมู่บ้านนำมาปรับปรุงขุดลอกจนกระทั่งชาวบ้านได้มีน้ำใช้สอยมาจนถึงทุกวันนี้ซึ่งตนเองได้ทำหนังสือร้องไปหลายหน่วยงานแต่ไม่มีการเข้ามาตรวจสอบอะไรเลยตนเองและพี่น้องชาวบ้านมองเห็นแล้วการจัดทำโครงการดังกล่าวส่อไปในทางทุจริตซึ่งเงินจำนวนสามแสนกว่าบาทน่าจะขุดให้ลึกลงไปมากกว่านี้ทำแบบนี้เท่ากลับนำเงินภาษีพี่น้องประชาชนมาละลายลงแม่น้ำเพราะไม่มีประโยชน์อะไรพอถึงช่วงหน้าแล้งก็กลับมาแล้งเหมือนเดิมไม่มีที่กักเก็บน้ำตนเองมองแล้วมันไม่ใช่โครงการมันเป็นเพียงการนำรถแบคโครมาขูดดินออกไปง่ายๆแล้วก็ทำการเบิกจ่ายเงินไปใช้แบบสบายๆเลย






หลังจากนั้นชาวบ้านได้พาเข้าตรวจสอบโครงการก่อสร้างถนนดินลงหินคลุกม.6จากหน้าวัดบ้านโนนน้อยสามแยกถนนลาดยางบ้านม่วงหวานต.ระเวียง มีข้อพิรุธที่นำไปสู่การทุจริตคือการประมาณการราคาโครงการดังกล่าวมีปริมาณดินที่จะเสริมสร้างเข้าไปในโครงการแต่ข้อเท็จจริงมิได้ดำเนินการแต่อย่างใดเพียงเอารถมาเกรดแล้วเอาหินคลุกไปลงในเส้นทางที่จะดำเนินการและมีการปรับเกรดเฉลี่ยหินคลุกเท่านั้น




อย่างไรก็ตามในขณะที่ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบยังได้พบสมา       ชิก อบต.ระเวียงได้บอกว่าอยากให้เข้ามาตรวจสอบงบจ่ายขาดเงินสะสมปี2564 อย่างจริงจัง ชาวบ้านก็ได้ยื่นหนังสือเวียนไปหลายหน่วยงานแต่เรื่องก็เงียบตนเองไม่รู้จะไปพึ่งใครหวังเพียงยื่นหนังสือผ่านสื่อมวลชนฝากเป็นกระบอกเสียงแทนชาวบ้านด้วย ##



 

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567

เปิดวันโอนเงินให้เกษตรกร รับไร่ละ 1,000 บาท


เปิดวันโอนเงิน เกษตรกร รับ ไร่ละ 1,000 แจก 5 วัน เช็กด่วนชาวนาภาคใดได้เงินวันไหน เริ่มวันแรก 16 ธ.ค. จากผู้ปลูกข้าว 4.3 ล้านรายเศษ


เมื่อเวลา 12.50 น. วันที่ 11 ธ.ค.67 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความคืบหน้าการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ว่า


หลังจากมติครม. เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีการดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งวันนี้ธนาคารมีความพร้อมที่จะเป็นผู้ออกเงินให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 4.3 ล้านรายเศษ งบประมาณทั้งสิ้น 35,000 ล้านบาท



นายจุลพันธ์ กล่าวว่า โดยจะเริ่มวันจันทร์ที่ 16 ธ.ค. และใช้เวลา 5 วันดำเนินการให้ครบถ้วน แยกเป็น


วันที่ 16 ธ.ค. เป็นการโอนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภาคเหนือ

วันที่ 17 ธ.ค. เป็นการโอนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภาคกลาง และภาคตะวันออก

วันที่ 18 ธ.ค. เป็นการโอนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภาคอีสานตอนบน

วันที่ 19 ธ.ค. เป็นการโอนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภาคอีสานตอนล่าง

วันที่ 20 ธ.ค. เป็นการโอนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภาคตะวันตก และภาคใต้