srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2567

ชาวอำเภอศีขรภูมิแห่ต้อนรับวีรบุรุษเหรียญเงินโอลิมปิก 2024 นายวีรพล วิชุมา

 










##วันที่7 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 14.30 น. ณ.ลานอนุเสาวรีย์หลวงชัยสุริยง พ่อเมืองคนแรกของอำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์ นายวีรพล วิชุมา และคณะได้มาสักการะอนุเสาวรีย์หลวงชัยสุริยง จากนั้นเดินทางไปสักการะเซ่นไหว้ที่ปราสาทศีขรภูมิ และเดินทางต่อไปยังโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย ที่หอประชุมโรงเรียนฯศีขรภูมิพิสัยโดยมีนายพิศาล  เค้ากล้า นายอำเภอศีขรภูมิ  นายสมปอง  พวงบุญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดหวาย นายทวีทรัพย์ โล้เจริญรัตน์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลศีขรภูมิ นายบุญศักดิ์ บุญจูง ผู้อำนวยการโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย  รองนงเยาว์ ผาสุก รองผู้อำนวยการโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย  และอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย อาจารย์ที่เคยสอนอยู่ที่ศีขรภูมิพิสัย และศิษย์เก่าโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน คหบดี พ่อค้า นักเรียนจากโรงเรียนแงงกวง โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย และประชาชนอำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์  ได้ร่วมให้การต้อนรับ นายวีรพล วิชุมา (เวฟ) นักกีฬาทีมชาติไทย ที่ได้รับเหรียญเงินจากการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก รุ่น 73 กิโลกรัม ในรายการกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 33 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ผ่านมา

      สำหรับความสำเร็จของนายวีรพล วิชุมา นักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย ที่มีเชื้อสายเป็นลูกหลานชาวอำเภอศีขรภูมิ ตำบลกุดหวายจังหวัดสุรินทร์ ได้สร้างความประทับใจและเป็นที่ชื่นชมของคนไทยทั้งประเทศ นับเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของวงการกีฬาไทยและเป็นคนที่สองของโรงเรียนศีขรภูมิพิสัยหลังจาก(ไก่) ปวีณา ทองสุข ได้เหรียญทองโอลิมปิก เว้นระยะมาอีก20 ปี น้องเวฟ วีระพล วิชุมา จึงมาคว้าเหรียญเงินโอลิมปิกที่กรุงปารีส  เห็นอย่างชัดเจนถึงความสามารถของนักกีฬาจากโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย อำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์ที่สร้างคนพัฒนาคน โดดเด่นในระดับภูมิภาคเท่านั้น แต่ได้ก้าวขึ้นสู่ระดับโลกอย่างแท้จริง ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงความภาคภูมิใจให้กับโรงเรียนศีขรภูมิพิสัยและ จังหวัดสุรินทร์ รวมทั้งประเทศไทย ของเราเป็นอย่างยิ่ง ##


















   





































วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567

พล.อ.อ.อิทธิศักดิ์ ศรีสังฆ์ ประจำพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 ผู้แทนพระองค์ อัญเชิญหนังสือ ธรรมวาจา "วัง" เครื่องไทยธรรม ชุดเครื่องเขียน ภัตตาหาร และน้ำปานะ ถวายแด่คณะสงฆ์ จังหวัดสุรินทร์

 








พล.อ.อ.อิทธิศักดิ์  ศรีสังฆ์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 ผู้แทนพระองค์ อัญเชิญหนังสือ ธรรมวาจา “ วัง “ เครื่องไทยธรรม ชุดเครื่องเขียน ภัตตาหาร และน้ำปานะ ถวายแด่คณะสงฆ์ จังหวัดสุรินทร์


ผู้แทนพระองค์อัญเชิญหนังสือ ธรรมวาจา “ วัง “ เครื่องไทยธรรม ชุดเครื่องเขียน ภัตตาหาร และน้ำปานะ ถวายแด่คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์


วันที่ 3 ก.ย.2567 ที่วัดเขาศาลาอดุลฐานะจาโร อ.บัวเช็ด จ.สุรินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.อ.อิทธิศักดิ์  ศรีสังฆ์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10  อัญเชิญหนังสือ ธรรมวาจา “ วัง “ เครื่องไทยธรรม ชุดเครื่องเขียน ภัตตาหาร และน้ำปานะ ถวายแด่คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์  โดยมีนายสันทัศ  แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นำคณะข้าราชการ และประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ ให้การต้อนรับ


โดยเมื่อ พล.อ.อ.อิทธิศักดิ์  ศรีสังฆ์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10  เดินทางมาถึง และเข้าไปยังอุโบสถวัดเขาศาลาอดุลฐานะจาโร   ได้จุดเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย     พร้อมเปิดกรวยถวายราชสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

 พระธรรมวชิรญาณโกศล เยื้อน ขันติพโล) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ฝ่ายธรรมยุต) ประธานสงฆ์ให้ศีล


 ประธานกล่าวถวายสังฆทาน จากนั้นประเคนหนังสือธรรมวาจา “ วัง “ เครืองไทยธรรม และชุดเครื่องเขียนแด่พระธรรมวชิรญาณโกศล (เยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร และพระสงฆ์ จำนวน 700 รูป ประธานกรวดน้ำ พระสงฆ์สมณศักดิ์ อนุโมทนา ถวายอดิเรก เสร็จแล้ว


พล.อ.อ.อิทธิศักดิ์  ศรีสังฆ์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10  ถวายราชสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบลาประธานสงฆ์ ก่อนจะเดินทางกลับ


ซึ่งในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน โรงทาน อาหาร และเครื่องดื่ม จำนวน 2,000 ชุด ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ที่มาเข้าร่วม ในพิธีอีกด้วย














วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2567

บุญข้าวประดับดิน ประเพณีบุญเดือนเก้าของชาวอีสาน

 





บุญข้าวประดับดิน ประเพณีบุญเดือนเก้าของชาวอีสาน

ในปีนี้ตรงกับวันที่ 2 แรม 14 ค่ำเดือน 9 เดือนกันยายน2567 


บุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ประเพณีภาคอีสาน ที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และสัตว์นรกหรือเปรต ประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมาในภาคอีสาน โดยบุญข้าวประดับดิน เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ของทุก ๆ ปี


ในการทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ น้ำส้มน้ำหวาน หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ที่บรรจุอัฐิของญาติที่ตายไปแล้ว หรือโบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรต


นอกจากนี้ บุญข้าวประดับดิน ยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้ รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิว อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีอีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่

  การทำบุญข้าวประดับดินนี้ เกิดจากความเชื่อตามนิทานธรรมบทว่า ญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ยักยอกเงินวัดไปเป็นของตนเอง ครั้นตายไปแล้วได้ไปเกิดเป็นเปรตในนรก และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วมิได้อุทิศให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียงร้องน่ากลัวปรากฏใกล้พระราชนิเวศน์ รุ่งเช้าได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุุให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีก แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ ญาติที่ตายไปจึงได้รับส่วนกุศล ดังนั้น การทำบุญข้าวประดับดิน คือการทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณีที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี


พิธีกรรมบุญข้าวประดับดิน

วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง หรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสากไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่าง ๆ ซึ่งการวางแบบนี้ เรียกว่า การวางห่อข้าวน้อย แต่หากเป็นการนำไปวางในวัด จะเรียกว่า การยาย (วางเป็นระยะ ๆ ) ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด

หลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน ต่อจากนั้น ชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุก ๆ คน