srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567

FRIENSHIP BIKE 2024 THAILAND-CAMBODIA 8 JUNE 2024 การปั่นจักรยานสองแผ่นดิน









 วันที่ 8 มิถุนายน 2567 เวลา 06.30 น.  นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน FRIENSHIP BIKE 2024 THAILAND-CAMBODIA 8 JUNE 2024  ณ  ด่านถาวรช่องจอม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายอุย โซเพี๊ยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประธานร่วมฝ่ายกัมพูชา และ นางปทิตา ตันติรัตนานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุรินทร์ เขต 8 , พล.ต.ณัฏฐ์ ศรีอินทร์ ผบ.กองกำลังสุรนารี, นายอำเภอกาบเชิง นายสุทธิโรจน์ เจริญธนะศักดิ์, หัวหน้าส่วนราชการ, หัวหน้าหน่วยกองกำลังในพื้นที่, นายก อบต.ด่าน นายศิริชัย ตันติรัตนานนท์ ได้มาร่วมพิธีกันอย่างพร้อมเพรียง

     การปั่นครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 2 เส้นทางการปั่นจากด่านถาวรช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ - อำเภอกรุงสำโรง จังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา - อำเภออลงเวง จังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา ไปสิ้นสุดที่ ช่องสงัม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 149 กม. โดยมีนักปั่นจากประเทศไทยมาจากทุกจังหวัด, นักปั่นจากประเทศกัมพูชา และจากต่างประเทศ ประมาณ 1,000 คน เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว.










วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ตม.จังหวัดสุรินทร์ บูรณาการหน่วยงานความมั่งคงในพื้นที่ตรวจแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ

 







ตม.จว.สุรินทร์ บูรณาการหน่วยความมั่นคงในพื้นที่ตรวจแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ


วันที่ 31 พฤษภาคม 2567  ตั้งแต่เวลาประมาณ 09.00 น. เป็นต้นมา ภายใต้การอำนวยการของ  พ.ต.อ.ธนวัฒน์  พูลสวัสดิ์  ผกก.ตม.จว.สุรินทร์  สั่งการให้เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนปราบปราม ตม.จว.สุรินทร์ บูรณาการร่วมกับแรงงานจังหวัดสุรินทร์,จัดหางานจังหวัดสุรินทร์,กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุรินทร์,ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์,ฝ่ายปกครองจังหวัดสุรินทร์,ประกันสังคมจังหวัดสุรินทร์,สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์  บูรณาการร่วมออกตรวจสอบสถานประกอบการที่มีการใช้แรงงานต่างด้าว  เพื่อป้องกันการใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายและสุ่มเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ (พื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอสังขะ) ซึ่งเป็นสถานประกอบการประเภทค้าปลีกค้าส่ง จำนวน 2 แห่ง สถานที่ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ จำนวน 2 แห่ง และสถานที่ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง จำนวน 1 แห่ง รวมทั้งสิ้น  5 แห่ง

จากการตรวจสอบแรงงานพบว่าเป็นแรงงานไทยจำนวน 17 คน และแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา จำนวน 14 คน แรงงานต่างด้าวที่ตรวจพบทุกคนเป็นแรงงานตามฤดูกาล มีเอกสารเดินทางและมีใบอนุญาตทำงานครบถ้วน ไม่พบการกระทำที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2567 ปีนี้ผลเสี่ยงทายพระโคกินน้ำ หญ้า เหล้า พระยาแรกนาเสี่ยงทายผ้านุ่งได้ผ้า 5 คืบ

 







ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2567 ปีนี้ ผลเสี่ยงทาย ของกิน 7 สิ่งของพระโคพอ พระโคเพียง พระโคกินน้ำ หญ้า เหล้า ขณะที่พระยาแรกนาเสี่ยงทายผ้านุ่ง ได้ผ้า 5 คืบ ทำนายว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี "กินเหล้า" การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง

ประชาชนจำนวนมากวิ่งกรูเข้ามาเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว และต้นไม้ 

กล้วย อ้อย หลังจากพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเสร็จสิ้น โดยเก็บกลับไปเพื่อความเป็นสิริมงคล







วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

วันพืชมงคล เป็นวันพระราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีเก่าแก่มีมาแต่โบราณที่สร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตกรของชาติ

 




วันพืชมงคล  เป็นวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีเก่าแก่มาแต่โบราณที่เสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย โดยมีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ สืบต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  พิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัย และให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี


พิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ถึงฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณ

ประชาชน เกษตรกร ถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญ ฤกษ์ดี ในการทำนา จึงได้พากันลงทำนาหว่านข้าวและไถกลบข้าวที่หว่านลงในแปลงนาในวันนี้ เมื่อเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไว้ได้รับความชื่นจากฝนก็จะงอกงาม ออกมาเป็นต้นข้าวให้กับชาวนา ได้ดูแลใส่ปู๋ยบำรุงให้เจริญเติบโตต่อไป












ชาวบ้านหนองแล้ง ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอสำโรงทาบ จุดบั้งไฟเซ่นปู่ตา เพื่อขอฝนให้ตกตามฤดูกาล ประจำปี 2567







 นายสมบัติ   วิวาสุข        นายกเทศมนตรีเทศบาลสำโรงทาบ  จุดบั้งไฟบั้งเซ่นปู่ตาเพื่อขอฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาล และทำให้พืชผลงอกงามเต็มเม็ดเต็มหน่วย ให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขรักใคร่สมัครสมานสามัคคีกัน

วันที่ 9 พ.ค.67 เวลา11.30น.ทึ่บริเวณทุ่งนาบ้านหนองแล้ง ต.หนองไผ่ล้อม  อ.สำโรงทาบจ.สุรินทร์  นายสมบัติ  วิวาสุข นายกเทศมนตรีเทศบาลสำโรงทาบ เป็นประธานเปิดงานประเพณีบุญบั้งไฟเซ่นปู่ตา โดยนายนพรัตน์  สายรัตน์  ปลัดเทศบาลสำโรงทาบได้กล่าว รายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในครั้งนี้  

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งภาคอีสานของไทย  การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน  ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาลและมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมากหากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้

ผู้นำท้องถิ่นบ้านหนองแล้ง คณะกรรมการหมู่บ้านพร้อมทั้งชาวบ้านในชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญของประเพณีดังกล่าวจึงจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้       เป็นการเซ่นปู่ตาเพื่อขอฟ้าขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล.                         เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไปเป็นการสร้างความรักสามัคคีในหมู่บ้าน

ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในครั้งนี้ได้มีนายสมบัติ วิวาสุข นายก.          เทศมนตรีเทศบาลสำโรงทาบ ได้เดินทางมาเป็นประธาน ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการพ่อค้าประชาชนต่างได้เดินทางมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก










วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

นายก อบจ.สุรินทร์ นายพรชัย มุ่งเจริญพร เปิดฟ้าขอฝนโดยการจุดบั้งไฟบั้งแรกของฤดูกาลนี้ของจังหวัดสุรินทร์






 นายกพรชัย  มุ่งเจริญพร เปิดฟ้าขอฝนโดยการจุดบั้งไฟบั้งแรกของจังหวัดสุรินทร์ ในฤดูกาลนี้

วันที่ 8 พ.ค.67 เวลา10.30น.ทึ่บริเวณทุ่งนาบ้านจังเอิด ม..9ต.หนองไผ่ล้อม  อ.สำโรงทาบจ.สุรินทร์  นายพรชัย  มุ่งเจริญพร นายก อบจ.สุรินทร์ เป็นประธานเปิดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของหมู่บ้านจังเอิด โดยนาย สมคิด สุขเมือง ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าว รายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟแสนในครั้งนี้  

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งภาคอีสานของไทย  การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน  ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาลและมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมากหากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้

ผู้นำท้องถิ่นบ้านจังเอิด  คณะกรรมการหมู่บ้านพร้อมทั้งชาวบ้านในชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญของประเพณีดังกล่าวจึงจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟแสนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้       เป็นการขอฟ้าขอฝนเป็นการบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬมณีบนสวรรค์  เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีให้คงอยู่ต่อไปเป็นการสร้างความรักสามัคคีในหมู่บ้าน

ในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟแสนในครั้งนี้ได้มีนายพรชัย มุ่งเจริญพร นายกอบจ.สุรินทร์ได้เดินทางมาเป็นประธานพร้อมกับ สจ.ในเขตพื้นที่  จังหวัดสุรินทร์ ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการพ่อค้าประชาชนต่างได้เดินทางมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก