srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

โรงพยาบาลบัวเชด ออกพื้นที่คัดกรองสุขภาพและประเมินความสามมรถในผู้สูงวัย

โรงพยาบาลบัวเชด นำเจ้าหน้าที่ออกพื้นที่คัดกรองสุขภาพและประเมินความสามารถให้กับผู้สูงวัย วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 โรงพยาบาลบัวเชด นำทีมโดย นส.ประกายดาว แก้วดี พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ นส.มุกดา ศรีพิมพ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ นส.พชรภา สาเทียน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ได้ออกพื้นที่ จัดทำโครงการคัดกรองสุขภาพและประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(ADL)ในผู้สูงอายุวัย ต.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ณ. ที่ศาลาประชาคมบ้านหมื่นสังข์

นายอำเภอสังขะนำจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ

นายอำเภอสังขะนำจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ร่วมกันกำจัดวัชพืช แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงภูมิทัศน์ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11.00 น. นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ นายอภิวัฒน์ พัวภัทรพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ อบต.ดม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ตำรวจ สภ.ดม และประชาชนจิตอาสาตำบลดม จำนวน 120 คน ได้ร่วมกันกำจัดวัชพืชบริเวณสระปรือ หมู่ที่ 5 ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้ความสำคัญในการดำเนินการกำจัดวัชพืช เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม นับวันจะมีปัญหาเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะปัญหาวัชพืชชนิดต่างๆตามแหล่งน้ำ ที่ทำให้น้ำเน่าเสีย กีดขวางการสัญจรการไหลระบายของน้ำ และทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน กระทรวงมหาดไทยได้มอบนโยบายการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยย้ำว่า ทุกหน่วยงานจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะวัชพืชในน้ำเป็นปัญหาสำคัญมีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาวัชพืชชนิดต่างๆนั้น จึงมิใช่เพียงการดำเนินการให้แล้วเสร็จเท่านั้น แต่ต้องมีการติดตามแก้ไขอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยอาศัยกลไกในพื้นที่ คือท้องถิ่นบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน โดยมีภาครัฐทำหน้าที่ให้การสนับสนุนเสริมศักยภาพความพร้อมในการดำเนินการ นายอภิวัฒน์ พัวภัทรพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดม กล่าวว่า ภายในบริเวณสระปรือได้ประสบปัญหาคือจำนวนของวัชพืชต่างๆเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำเพื่อใช้น้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลดมได้บูรณาการการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ชุมชน หมู่บ้าน จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา “กำจัดวัชพืช” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำสาธารณะ เพื่อลดปัญหาน้ำดิบไม่สะอาดและการเน่าเสียของน้ำลดปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขินเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ ร่วมทั้งการเพื่อฟื้นฟูและการอนุรักษ์แหล่งน้ำ

ผลการประกวดรอบคัดเลือกศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี 2566

ผลการประกวดรอบคัดเลือกศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2566 มีทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ การประกวดศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี 2566 “รวมใจภักดิ์ 5 ทศวรรษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ณ.สวน เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (สวนใหม่)อำเภอเมืองสุรินทร์ จำนวน 7 ทีม (เรียงตามลำดับตัวอักษร) ดังนี้ 1. ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 2. ทีมโรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ 3. ทีมโรงเรียนพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 4. ทีมโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 5. ทีมโรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ 6. ทีมโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น 7. ทีมโรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ ☎️สอบถามโทร 0887235944, 044515227

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

วันทหารผ่านศึก ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

วันทหารผ่านศึก ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากเป็นวันที่รัฐบาลได้จัดตั้ง "องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" ขึ้นเพื่อให้เป็นหน่วยงานถาวร ทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ "ทหารผ่านศึก" และครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง โดยมีการร่างพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันทหารผ่านศึกตลอดมา วันทหารผ่านศึก เป็นวันที่ทหารไทยกลับมาจากการรบสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการช่วยเหลือครอบครัวทหาร ที่เสียชีวิตจากการรบ มีการสงเคราะห์โดยผ่านการเห็นจากรัฐบาล มีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2510 องค์การทหารผ่านศึก ได้เปลี่ยนมาเป็นองค์การกุศลของรัฐมาเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย และกระทรวงกลาโหมจะจัดกองทุนรับเงินอุดหนุนขึ้น หน้าที่ของทหารผ่านศึก คือ การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการ เช่น ที่อยู่อาศัย การศึกษาและการจัดหาอวัยวะเทียม และยังมีการสงเคราะห์ด้านอาชีพ โดยฝึกอบรมอาชีพ จัดหางานในต่างประเทศ และการสงเคราะห์ด้านเกษตรกรรม จัดหาที่ดินทำกินให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องมือ และกองทุนต่างๆ จัดหาเงินให้สมาชิก ได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพอีก และยังมีการรักษาพยาบาลฟรี โดยการส่งเสริมของทหารผ่านศึกโดยการขอสิทธิพิเศษด้านต่างๆ เช่น ขอลดค่าโดยสาร เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566

ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติแห่งประเทศไทยครั้งที่ 2 ณ. องค์การบริหารส่วนตำบลแตล อ.ศีขรภูมิ

ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ที่บ้านแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 29 มกราคม 2566 ณ.องค์การบริหารส่วนตำบลแตล โดยมีนาย กิตติชัย เกตุวงษา หัวหน้าท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ประธานเปิดงาน มี นายจิรทีปต์ บุญเหมาะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแตลกล่าวรายงาน วัตถุประสงค์ของงานเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กลไก "บวร"(บ้าน วัด ส่วนราชการ) ตามฝรั่งกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก่อนจัดเทศกาลครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ นำอาคันตุกะศิลปินนานาชาติ จำนวน 150 คน จากประเทศ บังกลาเทศ บัลกาเรีย กัมพูชา อินเดีย อิสราเอล อียิปต์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ลาว เมียนมาร์ เนปาล ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ศรีลังกา เดินทางเป็นคาราวานศิลปินมาร่วมขับเคลื่อนกลไก "บวร" ให้สมบูรณ์ชัดเจน โดยมีกิจกรรมแสดงศิลปินวัฒนธรรมบนเวที นำเสนอและประกาศรับรองเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมนานาชาติและชาติพันธุ์วรรณา ร่วมมือประกาศเขตอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ร่วมบริจาคทาน ทำจากคะ และฝึกปฏิบัติสมาธิตามแบบแผนในวิถีไทยวิถีพุทธ สัมมนาวิชาการและนำเสนอบทความในมหาวิทยาลัย แสดงแบบสาธิตผ้าทอมือ จัดชุมนุมวิชาการแสดงสุนทรพจน์ ประกาศสันติภาพโลก ประกาศเชิดชูเกียรติปราชญ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีพื้นบ้าน จัดค่ายอาสาพัฒนานักเรียนในชนบท ประกาศรับรองหมู่บ้านบวรสันติสุขหรือหมู่บ้านในฝันสันติภาพโลก ลงนาม MOU ความร่วมมือข้ามชาติข้ามวัฒนธรรมและร่วมพัฒนาทักษะความเป็นนานาชาติ การดำเนินงานครั้งนี้ได้รับความสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนตำบลแตล โรงเรียนบ้านแตลศิริวิทยา ผู้นำชุมชนและชาวบ้านตำบลแตล สหกรณ์ออมทรัพย์คุรุสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ชมรมข้าราชการนอกประจำการตำบลแตล ดร.วิลาศ โพธิสาร อาจารย์สุพัฒน์ โพธิสาร ประธานชมรมชาวกุย นายณัฐพล พงษ์ปิยานุรัตน์ ประธานมูลนิธิผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนแงงกวง อำเภอศีขรภูมิ นำนักเรียนมาแสดงศิลปะนานาชาติ

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566

กลุ่มทอผ้าไหมพื้นเมืองอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

กลุ่มทอผ้าไหมพื้นเมืองอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ภาษาพื้นบ้านเรียกว่ากระแซปีร์ ผืนละ 380,000 บาท ผ่านการประกวดระดับประเทศและได้การรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม 5 ดาว อำเภอสังขะพร้อมสนับสนุนและส่งเสริม วันที่ 28 มกราคม 2566 เวลา 11.00 น. นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ นางสงกรานต์ โอฆะพนม ประธานแม่บ้านมหาดไทยอำเภอสังขะ เยี่ยมชมและให้กำลังใจ กลุ่มทอผ้าไหม บ้านด่านเจริญ บ้านหมื่นชัย บ้านโนนสง่า ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ โดยมีนายสมบัติ เพ็ชรกล้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระเทียม นายสหภาพ บุญครอง หัวหน้าสำนักปลัด พร้อมเจ้าหน้าที่และอาจารย์บันเทิง ว่องไว ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมการออกแบบผ้าไหม การทอผ้าไหมแบบพื้นเมือง ซึ่งมีลายผ้าไหมแบบพื้นเมืองที่ชาวบ้านนิยมใส่กันทั่วไป และลายผ้าไหมแบบสมัยใหม่ เพราะปัจจุบันนี้มีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสนใจมาใส่ผ้าไหมเป็นจำนวนมากมากขึ้น มีการนำผ้าไหมไปออกแบบเพื่อโชว์ในงานต่างๆร่วมทั้งมีการนำผ้าไหมให้นักแสดงสวมใส่ในการถ่ายละครเช่นละครเรื่องนาคีจนเป็นที่โด่งดังและมีผู้คนจำนวนมากที่หันมาสนใจผ้าไหม นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของตำบลกระเทียม เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไป เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ผ้าไหมของตำบลกระเทียมถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ร่วมทั้งมีลวดลายที่สวยงามโดดเด่น เป็นศูนย์ร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่นคือ กูย เขมร ลาว ถือเป็นข้อดีที่ตำบลกระเทียมมีปราญชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบผ้าไหม และสิ่งสำคัญคือ การย้อมสีธรรมชาติ ย้อมครั่ง ปะโหด เข คราม และหมักโคลน ถือเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไหมตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ และหน่วยงานต่างๆ พร้อมให้การสนับสนุนและส่งเสริมทุกรูปแบบ สำหรับ บ้านด่านเจริญ บ้านหมื่นชัย บ้านโนนสง่า ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนที่มีการทอผ้าไหมเป็นอาชีพหลัก มีความชำนาญด้านการย้อมไหมด้วยสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ และการทอผ้าปูม ผ้ามัดหมี่ของคนไทยเชื้อสายเขมร และเชื้อสายกูย และผ้าทอเส้นพุ่งแบบสามตะกอ มีลวดลายเด่นชัด มีการพัฒนาลวดลายใหม่ๆให้มีความแปลกและแตกต่าง เพื่อดึงดูดความสนใจของคนรุ่นใหม่และให้สามารถพัฒนาผ้าไหมออกไปสู่ตลาดได้กว้างมากขึ้น โดยอาจารย์บันเทิง ว่องไว ผู้อนุรักษ์การทอผ้าไหมพื้นเมือง ผู้ที่สร้างสรรค์ผ้าไหมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นสวยงาม สร้างชื่อเสียงในการทอผ้าไหมที่ใช้คลุมพระแท่นวัชรอาสน์พระพุทธเจ้าใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นรูปเสือสุพรรณหงส์ และถือเป็นผ้าไหมที่ยาวที่สุดในโลกอีกด้วย สำหรับผ้าไหมที่ตำบลกระเทียม มีคุณลักษณะพิเศษ และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ตามประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผ้าไหมของตำบลกระเทียมเป็นสินค้าส่งออก และเป็นที่สนใจของคนทั่วไป ที่แสดงถึงวัฒนธรรมและเป็นมรดกผ้าที่มีความเกี่ยวพันกับชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย มีการสืบต่อ สืบทอด ในเรื่องราวของภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ผ้าทอแต่ละผืน นอกจากจะเป็นผ้าใช้สอยในชีวิตประจำวันแล้ว ยังสามารถสื่อความหมาย ถึงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566

จับชาวบ้านลักลอบแปรรูปไม้หวงห้าม

จับชาวบ้านลักลอบแปรรูปไม้หวงห้าม วัน 24 ม.ค.66 เวลา 11.50 น. นายสันติ โอฆะพนม นายอำเภอสังขะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอำเภอสังขะร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ สร.1, สภ.สังขะ,ร้อย ตชด.214, ชุด ชปส.กก.สส.จ.สร และร้อย.อส.อ.สังขะ ที่ 8 ได้ร่วมกันจับกุมตัว ผู้ลักลอบตัดทำไม้หวงห้ามฯ ตามที่ได้รับแจ้งจากพลเมืองดี ไม่ประสงค์ออกนาม ดังนี้ 1.นายสมคิด ศรีบาง อายุ 30 ปีอยู่บ้านเลขที่ 26 ม.9 ต.ตาคง อ.สังขะ จ.สุรินทร์ 2.นายรุ่งเรือง จันทสมุทร อายุ 41 ปีอยู่บ้านเลขที่ 7/1 ม.9 ต.ตาคง อ.สังขะ จ.สุรินทร์ พร้อมของกลาง 1.ไม้ประดู่ จำนวน 12 ท่อน 2.เลื่อยโซ่ยนต์ดัดแปลง ยี่ห้อ MAKTEC สีส้ม หมายเลขเครื่อง88503 3.สายไฟยาว 13 เมตร 1 เส้น 4.สายไฟยาว 20 เมตร 1 เส้น 5.ตลับตีเส้น จำนวน 1 ตลับ 6.แกลลอนน้ำมัน จำนวน 1 อัน โดยกล่าวหาว่า”ร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตและร่วมกันแปรรูปไม้หวงห้าม และมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้มีรับอนุญาต” บริเวณท้องที่บ้านหนองเยาะ ม.9 ต.ตาคง อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ผู้ต้องหาทั้งหมดพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตามกฏหมายต่อไป