เป็นบล็อกสื่อสารถึง ข่าวสาร วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น การกีฬา สร้างสรรสิ่งดีๆให้สังคม
srikho tv
ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2565
มูลนิธิไต่ฮงกงสุรินทร์มอบถุงยังชีพ ให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
มูลนิธิไต่ฮงกง สุรินทร์ มอบถุงยังชีพช่วยเหลือ ราษฎร ที่ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัย พายุนูโร อำเภอศีขรภูมิ และอำเภอสำโรงทาบ วันที่ 11 ต.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิไต่ฮงกงสุรินทร์ นำโดยนายไกรเทพ เรืองผลวิมิมจ์ ประธานมูลนิธิไต่ ฮงกง พร้อมด้วยรองประธานและกรรมการมูลนิธิร่วมกันมอบถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือ ราษฎรบ้านตะแบก ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยพายุนูโร และมอบถุงยังชีพน้ำดื่ม ข้าวสาร น้ำมันพืช น้ำปลา อาหารกล่อง บะหมี่ สำเร็จรูป และยารักษาโรค ให้กับผู้ประสบอุทกภัยในเขต ตำบลประดู่ อำเภอสำโรงทาบ
โดยมีนายประเดิม เทพวงษ์ นายก อบต.ประดู่รับมอบสิ่งของจากมูลนิธิ และ นายนฤริต ซ่อมแก้ว ผู้ใหญ่บ้านตะแบก ต.จารพัต อ.ศีขรภูมิ
รับ มอบเครื่อง อุปโภคบริโภค เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในครั้งนี้
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ตักบาตรเทโวโรหณะ
ทำบุญ"ตักบาตรเทโว โรหณะ " ในวันออกพรรษา
วันนี้ 11 ต.ค.2565 เวลา07.00น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศพิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เนื่องในวันออกพรรษา ประจำปี 2565 ได้จัดทำบุญตักบาตรเทโว พระสงฆ์ สามเณร รวม 80 รูป โดยมีพุทธศาสนิกชนคนในชุมชนเทศบาลตำบลศีขรภูมิร่วมพิธี เป็นจำนวนมาก ประชาชน คนในชุมชนตลาดศีขรภูมิเดินทางมาร่วมกัน ทำบุญตักบาตร เทโวโรหณะกันอย่างหนาแน่น ต่างพาครอบครัวมาร่วมทำบุญตักบาตร ได้นำข้าวสารอาหารแห้งร่วมตักบาตรเทโวกันตั้งแต่เช้า
ซึ่งมี นายอนุชา วัชระศีขร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลศีขรภูมินายนนทวัฒน์ ประภาศัย ปลัดอาวุโสอำเภอศีขรภูมิ เป็นประธานในพิธีตักบาตรเทโวโดยมีพระอาจารย์มหาเจริญสุข คุณวีโร เจ้าอาวาสวัดศรีวิหารเจริญ เป็นประธานสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้มาร่วมพิธี
ประเพณีตักบาตรเทโว ถือว่าเป็นการทำบุญตักบาตรในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงเทวโลกใน วันมหาปวารณา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันออกพรรษา คำว่า เทโว เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลกเพื่อเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เสด็จ หลังจากที่พระองค์แสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน และกลับจากเทวโลกพอออกพรรษา พระพุทธเจ้าก็จะเสด็จลงจากเทวโลกกลับมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั่น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วยการตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าจึงได้ปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมาเป็นประเพณีจนถึงเมืองไทย จึงเรียกประเพณีนี้ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ นิยมสั้นๆ ว่า การตักบาตรเทโว มาจนถึงปัจจุบันพิธีปฏิบัติในการตักบาตรเทโว
ขบวนพระสงฆ์ก็จะเดินตามเรียงเป็นแถวงดงาม พุทธศาสนิกชนก็จะนั่งเรียงเป็นแถว หรือยืน การตักบาตรเทโวชาวบ้านได้จัดเตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ คือ ข้าวสารอาหารแห้ง นมกล่อง น้ำดื่ม วันที่11ตุลาคม 65 พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เพื่อให้ประชาชนได้ตักบาตร ประชาชนจะนั่งหรือยืนรอบลานอนุเสาวรีย์หลวงชัยสุริยง ทางลงจากสถานีรภไฟ ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีมัคทายก เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์หลังจากตักบาตรแล้ว มีการอาราธนาศีล สมาทานศีล และรักษาศีลฟังธรรมและทำสมาธิตามโอกาส เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสแผ่เมตตา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับ และสรรพสัตว์
เทศบาลตำบลสังขะทำพิธีกวนข้าวมธุปายา
เทศบาลตําบลสังขะ สืบสานประเพณี #กวนข้าวมธุปายา#
1 ปี มีเพียงแค่ครั้งเดียว ชาวบ้านแห่ร่วมงานคับคั่ง
วันที่ 10 ตุลาคม 2565 นางกิ่งกาญจน์ พัวไพฑูรย์ นายกเทศมนตรีตำบลสังขะ คณะผู้บริหาร และสมาชิกสภาเทศบาล ร่วมกับชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสังขะ จัดประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประจำปี 2565 ณ วัดโพธาราม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งชาวบ้านจะทำในเทศกาลออกพรรษา ถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นการสักการบูชา ซึ่งถือเป็นสิริมงคล การกวนข้าวทิพย์ต้องอาศัยความสามัคคีจากชาวบ้านจึงจะสำเร็จลงได้
ตามประเพณีจะให้เด็กสาวพรหมจรรย์กวนกระทะในช่วงแรกก่อน หลังจากข้าวทิพย์เสร็จ ท่านนายกจะนำข้าวทิพย์ไปมอบให้หัวหน้าส่วนราชการเพื่อเป็นสิริมงคล
ทั้งนี้ นางกิ่งกาญจน์ พัวไพฑูรย์ นายกเทศมนตรีตำบลสังขะได้นำข้าวทิพย์ไปมอบให้นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายกิติชัย เกตุวงษา ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์
ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นพระราชพิธีที่กระทำกันในเดือน 10 ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี และได้รับการฟื้นฟูครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 1 และมาละเว้นเลิกรา ไปในสมัยรัชกาล ที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แล้วมาได้รับการฟื้นฟู อีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา แต่ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะจัดกันในเดือน 12 บางแห่งก็เดือนหนึ่ง ซึ่งคงจะถือเอาระยะที่ข้าวกล้า ในท้องนามีรวงขาวเป็นน้ำนม ของแต่ละปี และชาวบ้านก็มีความพร้อมเพรียงกัน
อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ยังคงรักษาประเพณีกวนข้าวทิพย์ ยังคงรักษาประเพณี และมีความเชื่อถือ อย่างมั่นคง เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งแฝงด้วยจริยธรรมและคติธรรมอยู่มาก ที่สมควรนำมากล่าวถึงคือ ความพร้อมเพรียงของ ชาวบ้านทั้งที่ทำนา และไม่ได้ทำนาถึงเวลาก็มาร่วมจัดทำและ ช่วยเหลือโดยยึดถือ ความสามัคคีเป็นหลัก
ความสำคัญ
พิธีกวนข้าวทิพย์ได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในหมู่ของชาวพุทธทั่วไป เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหตุการณ์ที่นางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ในวันขึ้น 14 ค่ำ แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ 1 วัน โดยถือว่ามีผลานิสงฆ์มาก ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงพร้อมใจกันกวนข้าวทิพย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เทิดทูนพระเกียรติคุณด้วยความกตัญญูกตเวทิตาธรรม
ข้าวทิพย์ หรือเรียกอีกอย่างว่า มธุปายาสนี้เชื่อกันว่า เมื่อทำครบถ้วนตามพิธีแล้ว จะเป็นสิริมงคลแด่ผู้ทำและผู้บริโภค สมควรจะเซ่นสรวงเทพารักษ์ ผู้ที่ได้บริโภคข้าวทิพย์แล้ว จะประสบโชคลาภต่างๆ นานา ปราศจากโรคาพยาธิ ภัยพิบัติ ประสบสิ่งที่เป็นมงคล
พิธีกรรม
พิธีรำบวงสรวงบูชาพระธาตุพนม
พิธีรำบวงสรวงบูชาพระธาตุพนม ในวันออกพรรษา ตามประเพณีโบราณ
วันที่ 10 ตุลาคม 2565
ประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาว ไทย และ สปป.ลาว แห่ชื่นชมความอลังการพิธีศักดิ์สิทธิ์โบราณ รำบูชาพระธาตุพนม จากสาวงาม 8 ชนเผ่า สืบทอดกันมา ยาวนานกว่า 35 ปี
บริเวณหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม การรำบวงสรวงบูชาพระธาตุพนม ตามประเพณีโบราณที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปี 2530 เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาต่อองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า อายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี
พิธีรำบวงสรวงบูชาองค์พระธาตุพนม มีชนเผ่าต่างๆ ของ จ.นครพนม รวม 8 ชนเผ่า มาฟ้อนรำ มีการแสดงทั้งหมด 6 ชุด ได้แก่
1. ชุดรำตำนานพระธาตุพนมและชุดรำชนเผ่านครพนม โดย อ.ธาตุพนม
2. ชุดรำศรีโคตรบูรณ์ โดย อ.ปลาปาก และ อ.ศรีสงคราม
3. ชุดรำผู้ไท โดย อ.เรณูนคร และ อ.บ้านแพง
4. ชุดรำหางนกยูง โดย อ.เมือง และ อ.นาทม
5. ชุดรำไทญ้อ โดย อ.ท่าอุเทน อ.นาหว้า และ อ.โพนสวรรค์
6. ชุดรำขันหมากเบ็ง โดย อ.นาแก และ และวังยาง
นอกจากนี้ยังมีชุดการรำพิเศษเป็นการรวมชุดรำทั้ง 6 ชุด ในเพลงอีสานบ้านเฮา และเปิดโอกาส ให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้ร่วมรำถวายต่อองค์พระธาตุพนม เป็นสิริมงคล แก่ประชาชน นักท่องเที่ยว
กิจกรรมนี้ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นทุกปีในวันออกพรรษา เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ในพื้นที่ กลับมาคึกคัก หลังโควิดส่งผลกระทบช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งในช่วงเย็นจะมีการจัดประกวดไหลเรือไฟ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม มากกว่า 12 ลำ อีกด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ผู้ว่าสุรินทร์ ลงพื้นที่รุดช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ
ผู้ว่าสุรินทร์ ลงพื้นที่ รุดช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
วันนี้ 6 ต.ค. 65 นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และนางนุชจรินทร์ บุญทัน นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วย นายกิตติ สัตย์ซื่อ นายอำเภอศีขรภูมิ หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ นายกเทศมนตรีตำบลผักไหม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลระแงง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ จิตอาสาพระราชทาน ฯลฯ ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือและมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุอุทกภัย ในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ดังนี้
เดินสำรวจดูมวลน้ำบริเวณตลาดเขียว บ้านยางเตี้ย ตำบลระแงง จากนั้นเดินทางต่อไปยังบริเวณสะพานบ้านทุ่งราม ตำบลผักไหม
โดยได้ร่วมกันมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน จำนวน 100 ฟ่อน ถุงยังชีพ จำนวน 90 ชุด ยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 68 ชุด น้ำดื่ม จำนวน 110 แพค กระเป๋าเวชภัณฑ์รักษาสัตว์ จำนวน 3 ชุด ชุดเวชภัณฑ์รักษาสัตว์เบื้องต้น จำนวน 10 ชุด และวิทยุแบบพกพา จำนวน 4 เครื่อง แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ตลอดจนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอาสาปศุสัตว์ สำหรับนำไปแจกจ่ายแก่ประชาชนและใช้ในการรักษาสัตว์เลี้ยงของเกษตรกร ในพื้นที่
โดยอำเภอศีขรภูมินำร่องบำบัดทุกข์บำรุงสุข
โรงเรียนโอทะลันจัดการแข่งขันกีฬาสี ประจำปี 2565
โรงเรียนโอทะลัน จัดการแข่งขันกีฬาสี ประจำปี2565
วันที่ 6 ตุลาคม 2565
นายบรรจง เลาหพงษ์ นายกฯ อบต.จรัส มอบหมายให้นายวันชัย เทพศิริ รองนายกฯ อบต.จรัส เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาสีของโรงเรียนโอทะลัน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองการศึกษา และคณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนของหมู่บ้านในการแข่งขัน กีฬาสีภายในโรงเรียนบ้านโอทะลัน หมู่ที่ 3 ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ โดยได้แบ่งการแข่งขัน ออก จำนวน 3 สีคือ 1 สีชมพู 2 สีฟ้า 3 สีม่วง มีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และกีฬาฟุตบอลสำหรับผู้ปกครอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการเล่นกีฬา ไม่มั่วสุมและหันไปพึ่งยาเสพติด เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรักและสามัคคีให้เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลที่ให้มีการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง เพื่อเป็นการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานในท้องถิ่นในการส่งเสริมการกีฬาและสนับสนุนให้เยาวชนในท้องถิ่นได้แสดงออกอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตร แพทย์ สมาชิกสภาฯ นายกฯ รอรงนายกฯอบต. ส.อบต. อสม. ประชาชนในพื้นที่
กต.ตร.สภ.บัว
เชด ร่วมสนับสนุนกีฬาโรงเรียนบ้านโอทะลัน เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย สนับสนุนการเล่นกีฬาให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด
พ.ต.อ.เฉลิมศักดิ์ ไชยณรงค์ศักดิ์ ผู้กำกับ สภ.บัวเชด นายชนะชล มูลจันทร์ ประธาน กต.ตร.และคณะกรรมการ กต.ตร.สภ.บัวเชด ได้ร่วมสนับสนุนชุดกีฬาจำนวน 30 ชุด เพื่อร่วมสนับสนุนและส่งเสริมการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาในกลุ่มเยาวชน เพื่อให้เยาวชนหันมาสนใจเล่นกีฬามากขึ้น เพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติด และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชน อีกทั้งเป็นสร้างเครือข่ายชุมชน เพื่อชุมชนยั่งยืนและเข้มแข็งห่างไกลจากยาเสพติด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)