srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2565

นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ออกตรวจพื้นที่ดูสถานการณ์น้ำท่วม

อำเภอสำโรงทาบ จ.สุรินทร์ นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ออกตรวจสถานการณ์น้ำพื้นที่อำเภอสำโรงทาบเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยสถานการน้ำท่วม วันที่ 3 ต.ค.65 เวลา13.20น.นายพิจิตร บุญทัน พร้อมด้วยนายกเหล่ากาชาดและเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องออกดูน้ำจากสถานการณ์อุทกภัยของพายุโนรู ในเขตเทศบาลตำบลสำโรงทาบ โดยว่าที่ร้อยตรีอดิศักดิ์ วิโสรัมย์ นายอำเภอสำโรงทาบ และนายสมบัติ วิวาสุข นายกเทศมนตรีเทศบาลสำโรงทาบ และคณะผู้บริหาร ปลัดอำเภอสมาชิกสภาเทศบาล ผอ.โรงพยาบาลสำโรงทาบ หัวสาธารณสุข หัวหน้าเกษตร ผู้นำชุมชน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ประชาชน และกองทัพบก ร.๒๓ พัน ๓ รอต้อนรับผู้ว่า เพื่อมอบถุงยังชีพ น้ำดื่ม เครื่องอุปโภคบริโภค ช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้น พร้อมสั่งให้เจ้าหน้าที่ อำนวยความสะดวกแก่พี่น้องประชาชนและผู้ที่เดินทางไป-มาโรงพยาบาลสำโรงทาบ ให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัย ว่าที่ร้อยตรี อดิศักดิ์ วิโสรัมย์ นายอำเภอสำโรงทาบกล่าวรายงาน ว่าตามที่เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันอันเนื่องมาจากอิทธิพลของพายุนูโร ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2555 เป็นต้นมาเป็นเหตุให้เกิดอุทกภัยสร้างความเสียหายต่อที่อยู่อาศัยสิ่งสาธารณะประโยชน์และพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย เป็นจำนวนมาก โดยอำเภอสำโรงทาบมีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 7 ตำบล 55 หมู่บ้านราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,488 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะได้รับความเสียหายจำนวน 15,534 ไร่ หมู่บ้านที่ถูกน้ำตัดขาดการคมนาคมจำนวน 5 ตำบล 9 หมู่บ้าน 573 ครัวเรือน ประกอบไปด้วย ตำบลเกาะแก้ว บ้านป่าเวยหมู่ที่ 8 จำนวน 45 ครัวเรือน ตำบลประดู่ บ้านพอกหมู่ที่ 6 จำนวน 80 ครัวเรือน บ้านหนองพญาหมู่ที่ 7 จำนวน 83 ครัวเรือน บ้านศรีราชาหมู่ที่ 8 จำนวน 57 ครัวเรือน บ้านโนนสำราญหมู่ที่ 10 จำนวน 50 ครัวเรือน ตำบลกะออม บ้านหนองหมีหมู่ที่ 5 จำนวน 60 ครัวเรือน ตำบลสะโน บ้านแขมหมู่ที่ 5 จำนวน 97 ครัวเรือน บ้านกอไผ่น้อยหมู่ที่ 9 จำนวน 30 ครัวเรือน ตำบลหมื่นศรี บ้านศรีพัฒนาหมู่ 8 จำนวน 71 ครัวเรือน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบในเขตเทศบาลตำบลสำโรงทาบอีกจำนวน 340 ครัวเรือน การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นอำเภอสำโรงทาบได้ดำเนินการดังนี้ 1 จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัยอำเภอสำโรงทาบ 2 ขอการสนับสนุนจากหน่วยงานระดับจังหวัดในการระดมสภาพกำลัง เครื่องจักร เครื่องมือ เช่นเรือท้องแบนรถบรรทุกได้เสื้อชูชีพ จากทุกภาคส่วนเพื่อช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในทุกพื้นที่ของอำเภอสำโรงทาบ 3 ประสานเจ้าหน้าที่ทหารบก ร ๒๓ พัน ๓ ในการดำเนินการอำนวยความสะดวกและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์นำส่งและลำเลียงผู้ป่วยของโรงพยาบาล 4 มอบหมายสาธารณสุขอำเภอ รพ. สต ในพื้นที่ให้ความรู้การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำและแจกจ่ายยาสามัญประจำบ้าน 5 การช่วยเหลือด้านปศุสัตว์ ได้จัดสถานที่ในการอพยพสัตว์เลี้ยงของประชาชน และให้ได้รับยาอาหารสัตว์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ถวายงานโดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 2,000 กิโลกรัม พร้อมถุงยังชีพจำนวน 20 ชุด 6 ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ แจกจ่ายถุงยังชีพจำนวน 1,357 ชุด และยังมีถุงยังชีพของคณะสงฆ์ เอกชน มูลนิธิองค์กรต่างๆ จากหมู่บ้านตำบลต่างๆในพื้นที่ของอำเภอที่ไม่ประสบอุทกภัย มอบสิ่งของช่วยเหลือและบริจาคตรงไปยังหมู่บ้านที่ประสบอุทกภัยอีกเป็นจำนวนมาก

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เจ้าคณะภาค 11ตั้งชื่อพระพุทธรูปไม้แกะสลักปางสมาธิใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เจ้าคณะภาค 11 เมตตาตั้งชื่อพระพุทธรูปไม้แกะสลักปางสมาธิใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ญาติโยมพร้อมใจถวายการต้อนรับ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 13.30 น. พระธรรมเจดีย์ เจ้าคณะภาค 11 ได้เดินทางมาที่วัดหนองคูพัฒนา บ้านหนองคูพัฒนา ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีท่านพระครูพิทักษ์สังฆกิจ เจ้าคณะอำเภอสังขะ คณะพระสงฆ์ และหลวงปู่ศรี โชติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดหนองคูพัฒนา พร้อมคณะญาติโยมร่วมถวายการต้อนรับ สืบเนื่องจากหลวงปู่ศ
รี โชติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดหนองคูพัฒนา ได้จัดสร้างพระพุทธรูปไม้แกะสลักซึ่งมีความสูง 7 เมตร 49 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 5 เมตร 30 เซนติเมตร ซึ่งแกะสลักมาจากไม้ประดู่ทั้งองค์ โดยใช้ระยะเวลาในการแกะสลักประมาณ 1 ปี 6 เดือน ซึ่งขนาดนี้มีความคืบหน้าในการแกะสลักองค์พระพุทธรูปประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้การแกะสลักพระพุทธรูปปางสมาธิดังกล่าวนี้ มีนายช่างไม้เพียง 1 คน นอกจากนั้นจะมีหลวงปู่ศรีพร้อมทั้งพระลูกวัดและญาติโยมที่เป็นช่างไม้มาช่วยกันสร้าง ญาติโยมผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธาสามารถร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งจะใช้เป็นพระประธานประจำอุโบสถ ซึ่งถือว่าเป็นบุญใหญ่ได้อานิสงส์แรง ร่วมเป็นทำบุญได้ตามศรัทธาที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสังขะ ชื่อบัญชีพระศรี คำเสียง เลขที่บัญชี 045-3-74984-3 หรือโทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วัดหนองคูพัฒนา บ้านหนองคูพัฒนา ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ทั้งนี้ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมทำบุญ กฐินสามัคคี ในวันเสาร์ที่ 5 และวันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2565 ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐิน ซึ่งในปีนี้วัดหนองคูพัฒนามีพระสงฆ์จำพรรษาจำนวน 9 รูป และขอเชิญร่วมบุญถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพโรงทานตามวัดและเวลาดังกล่าว

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565

อิทธิพลของ"พายุโนรู"ทำให้มีผู้ประสบ อุทกภัยไปทั่ว จังหวัดสุรินทร์

อิทธิพลจาก "พายุโนรู" ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ล่าสุดพบผู้ประสบภัยครอบคลุมเขตเทศบาลแล้ว เร่งระบายน้ำออกจากเขตชุมชนโดยเร็วที่สุด วันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น. นายธาตรี สิริรุ่งวนิช นายอำเภอสังขะ นางกิ่งกาญจน์ พัวไพฑูรย์ นายกเทศมนตรีตำบลสังขะ นางสาวเยาวลักษณ์ สมบูรณ์เทอดธนา รองนายกฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานเทศบาลตำบลสังขะ ได้ร่วมกันออกมอบข้าวกล่อง น้ำดื่มและเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือชาวบ้านในเขตเทศบาลตำบลสังขะเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น สืบเนื่องจากอิทธิพลจาก "พายุโนรู" ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่เทศบาลตำบลสังขะ โดยเฉพาะบริเวณถนนด้านหน้าห้างโลตัสสังขะ เกิดน้ำท่วมเป็นระยะทางกว่า 200 เมตร ทำให้รถขนาดเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ สำนักงานเทศบาลตําบลสังขะได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำจากเขตชุมชนลงสู่คลองน้ำตลอด24ชั่วโมง พร้อมกับจัดกระสอบทรายป้องกันน้ำท่วมเขตชุมชนเต็มที่ นางกิ่งกาญจน์ พัวไพฑูรย์ นายกเทศมนตรีตำบลสังขะ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า สำนักงานเทศบาลตำบลสังขะได้จัดทีมป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเพื่อออกตรวจระดับน้ำ และคอยดูแลช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลสังขะตลอด24ชั่วโมง หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือใดๆให้ประสานเข้ามาได้ทันที วันนี้ได้จัดทำข้าวกล่องพร้อมกับน้ำดื่ม ลงมาแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลสังขะ รวมทั้งสอบถามข้อมูลและความต้องการของประชาชนเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป นายธาตรี สิริรุ่งวนิช นายอำเภอสังขะ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า อำเภอสังขะได้ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งให้จัดตั้งชุดเฉพาะกิจเพื่อดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกคอยช่วยเหลือประชาชน อีกทั้งให้เฝ้าระวังระดับน้ำในแต่ละพื้นที่ และพร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนตลอด24ชั่วโมงถ้าได้รับการร้องขอมา

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565

มทบ.25 ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน และมอบถุงยังชีพกองทัพบกให้กับผู้ประสบอุทกภัยในเขต อ.เมืองสุรินทร์ ”

มทบ.25 ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน และมอบถุงยังชีพกองทัพบกให้กับผู้ประสบอุทกภัยในเขต อ.เมืองสุรินทร์ ” มทบ.25 ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน และมอบถุงยังชีพกองทัพบกให้กับผู้ประสบอุทกภัยในเขต อ.เมืองสุรินทร์ ”วันพฤหัสฯที่ 29 ก.ย.65 เวลา 16.00 น. พลตรีสาธิต เกิดโภค ผบ.มทบ.25 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และมอบถุงยังชีพกองทัพบกให้กับผู้ที่ประสบอุทกภัย ณ บ้านจะแกโกน ม.16 ต.สลักได อ.เมืองสุรินทร์ จว.สุรินทร์ โดยมี พ.อ.สุรังค์ วิทยาวงศรุจิ ผอ.รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน ร่วมมอบยาและเวชภัณฑ์ อีกทั้งยังได้จัดกำลังพลจาก ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 25 (ร้อย.มทบ.25) จำนวน 12 นาย เพื่อบรรจุกระสอบทรายกั้นน้ำให้กับประชาชนในชุมชน ทั้งนี้ ผบ.มทบ.25 ยังได้มอบน้ำดื่มและสิ่งของให้กับ กำลังพลและเจ้าหน้าที่จากศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 25 เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในครั้งนี้ #ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่25 #ศันย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่2

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565

อำเภอศีขรภูมิ เป็นอำเภอนำร่อง ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข

จังหวัดสุรินทร์ อำเภอศีขรภูมิ เป็นอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ระดับประเทศ  วันที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 16:00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ นายกิตติ สัตย์ซื่อ นายอำเภอศีขรภูมิ นำส่วนราชการระดับอำเภอและชาวอำเภอศีขรภูมิ  จัดแสดงมหกรรมโครงการรักษ์น้ำ(ใจ) สู่ทฤษฎีใหม่ประยุกต์ เพื่อพลิกชีวิตและความหวัง ผ่านกิจกรรม LIVE ACTION Sustainability Expo 2022 (SX 2022 ) ให้ทั้งประเทศผ่านไลค์สตรีมมิ่ง โดยการสนับสนุนจากทีมงาน สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์  โดยอำเภอศีขรภูมิ เป็น 1 ใน 18 อำเภอต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงมหาดไทย เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และเป็นกลไกในการขับเคลื่อนแผนงานในพื้นที่ ภายใต้โครงการอำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้ออกไปสู่สาธารณชนได้รับรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น การดำเนินโครงการฯ เป็นการตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนการ สร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง 1 หมู่บ้าน 1 ผู้นำฯ สู่ 1 ตำบล 1 สุดยอดผู้นำนักขับเคลื่อนการพัฒนาบำบัดทุกข์ บำรุงสุข จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กระดับครัวเรือน เพื่อขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ ครอบ ครัวชุมชน พัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่ประยุกต์ในระดับหมู่บ้าน จัดตั้งและพัฒนาศูนย์ขยายพันธุ์พืช และสมุนไพร ตามเป้าหมายยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการรวมทั้งการส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน  พัฒนาส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายสินค้า บันทึกข้อตกลงร่วมมือรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร การสร้างตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามเป้าหมายสร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคน และมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน สามารถรับชมกิจกรรม LIVE ACTION Sustainability Expo 2022 (SX 2022 ) ทั้งประเทศ ได้ในระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ กระทรวงมหาดไทย PR

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565

นายอำเภอสังขะลง พื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำ และถวายอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์

นายอำเภอสังขะ ลงพื้นที่ถวายอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ และตรวจสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ วันที่ 27 กันยายน เวลา 10.30 น.นายธาตรี สิริรุ่งวนิช นายอำเภอสังขะ พร้อมด้วยนายพัฒนา พึ่งผล ปลัดอาวุโสฯ และปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคงอำเภอสังขะ กำนันตำบลทับทัน นายก อบต.และเจ้าหน้าที่ อบต.ทับทัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย แพทย์ สารวัตร และสมาชิก อส.ร้อย.อส.อ.สังขะ ที่ 8 ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์น้ำหลาก จากผลของร่องมรสุมพัดผ่าน ทำให้เกิดฝนตกหนักและชุก ทำให้น้ำในลำห้วยทับทันมีปริมาณสูง ไหลท่วมบ้านเรือนและไร่นาของประชาชนตลอดแนวลำห้วยทับทัน โดยได้มอบถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่มฯให้กับพระสงฆ์วัดบ้าน ขามพัฒนา ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม วัดต้องมาพักที่ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ 12 ต.ทับทัน จำนวน 11 รูป มอบถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภคฯ ให้กับประชาชนบ้านลำหาด หมู่ 6 ที่ประสบอุทกภัย และทำให้โรงเรียนบ้านลำหาดไม่สามารถทำการเรียนการสอนได้ตามปกติ ต้องสั่งหยุดเรียนโดยไม่มีกำหนด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายฯ ซึ่ง อบต.ทับทัน ได้จัดถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค และน้ำดื่มช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว สำหรับอำเภอสังขะมีพื้นที่ประสบอุทกภัยในเบื้องต้น จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทับทัน ตำบลบ้านจารย์ ตำบลสะกาด และตำบลกระเทียม ซึ่งอำเภออยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย และได้รายงานภัยให้ ปภ.จังหวัดฯแล้ว ทั้งนี้ นายอำเภอสังขะได้กำชับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้เฝ้าระวัง ช่วยเหลือประชาชนและรายงานเหตุด่วนให้อำเภอ และมีหนังสือแจ้งส่วนราชการให้ดูแลความปลอดภัยด้านสาธารณสุขของประชาชนฯ และแจ้งนายกเทศมนตรีสังขะ และนายก อบต.ทุกแห่ง ให้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลสาธารณภัยออกช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยทันที