srikho tv

ข่าวสาร ทั่วไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561

บุญข้าวประดับดิน

บุญข้าวประดับดิน

 บุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีทางภาคอีสาน ที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และสันว์นรกหรือเปรต ในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า
  ประเพณีบุญข้าวประดับดิน  บุญเดือนเก้าเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาในภาคอีสาน  โดยบุญข้าวประดับดินจะจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้าของทุกๆปี ในปี 2561 ประเพณีบุญข้าวประดับดินจะตรงกับวันที่ 9 กัยยายน ของเดือนเก้า แรม 14 ค่ำ   การทำบุญข้าวประดับดินนั้นชาวบ้านจะนำข้าวปลา  อาหาร คาวหวาน  ผลไม้ หมากพลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็กๆ ในช่วงเช้ามืดประมาณตีห้าก็จะพากันออกไปที่วัดนำไปวางตามต้นไม้ใหญ่ หรือตามพื้นดินรอบเจดีย์ที่บรรจุอัฐิของญาติตนเองที่ล่วงลับไปแล้ว  รวมทั้งอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรต บุญข้าวประดับดินยังถือเป็นการให้ทานกับผู้ยากไร้ที่ต้องหิวอดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปี  รวมทั้งสัตว์ไม่มีเจ้าของ การที่ตั้งอาหารไว้กับพื้นดินทำให้สัตว์เหล่านั้นเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่
     
     ความเป็นมาของบุญข้าวประดับดิน

การทำบุญข้าวประดับดินนั้น  เกิดจากความเชื่อตามนิทานธรรมบทที่ว่า  ญาติของพระพุทธเจ้าพิมพิสาร ได้ยักยอกเงินวัดไปเป็นของตนเอง ครั้นตายไปแล้วได้ไปเกิดเป็นเปรตในนรก  เมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้ว  มิได้อุทิศกุศลผลบุญให้กับญาติที่ตาย  พอตกกลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียงร้องน่ากลัวให้ปรากฎใก้ลกับพระราชนิเวศน์  พอรุ้งเช้าได้ไปฑูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ฑูลเหตุให้ทราบ  พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีก แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้  ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จึงได้รับส่วนกุศลนั้น  ด้วยเหตุนี้การทำบุญข้าวประดับดิน  คือการทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ตายไปแล้ว  ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี  ต้องทำเป็นประจำทุกๆปีสืบไป



วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วันนี้ 24 สิงหาคม 2561
ทีมนักยกน้ำหญิงไทย รัตนวรรณ์ วามะลุน คว้าเหรีญทองแดงมาได้สำเร็จในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์


วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ที่เดียวในโลกจังหวัดสุรินทร์ เปิดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา และตักบาตรบนหลังช้าง ประจำปี 2561

งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง ประจำปี 2561 จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์  เทศบาลเมืองสุรินทร์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดสุรินทร์  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25- 27 กรกฎาคม 2561  เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยให้คงอยู่สืบไป และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์  

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2561  นายอรรถพร  สิงหวิชัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์  เป็นประธานเปิดงานมหกรรมแห่เทียนเข้าพรรษาและตักบาตรบนหลังช้างประจำปี 2561  ท่ามกลางชาวสุรินทร์ที่สวมใส่ผ้าไหมพื้นเมืองสุรินทร์อย่างสวยงาม  มีนักท่องเที่ยวร่วมงานจำนวนมาก
    ขมการประกวดขบวนแห่เทียนเข้าพรรษา จาก 12  ตุ้มวัด ที่ประดับตกแต่งเที่ยนและขบวนรถแห่เที่ยนอย่างสวยงาม  รวมทั้งขบวนฟ้อนรำตามแบบศิลปวัฒนธรรมประเพณี 3 ชนเผ่า  เขรม  ลาว  กูย  พร้อมขบวนแห่เที่ยนพรรษาและขบวนแห่ช้างที่ประดับตกแต่งไฟหลากสีต่างๆตามตัวช้างจำนวน 67 เชือก
    ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 เวลา 07.00 น. พิธีตักบาตรบนหลังช้าง หนึ่งเดียวในโลก โดยมีพระชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดสุรินทร์นั่งบนหลังช้างออกรับบิณฑบาตรจากพุทธศาสนิกชน และประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ รวมทั้งนักท่องเที่ยวด้วย













วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

จังหวัดสุรินทร์ จัดงานประเพณีบวชนาคช้าง ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประจำปี 2561 

   วันที่ 28 เมษายน 61 นายพรพจน์  บัณฑิตยานุรักษ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิญวัฒนธรรม ประเพณีบวชนาคช้าง ประจำปี 2561 โดยมีนายกิติเมศวร์  รุ่งธนิเกียรติ  นายกองค์การบริหารส่วงจังหวัดสุรินทร์ กล่าวรายงาน ณ ศูนย์คชศึกษา บ้านตากลาง ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์  โดยมีการประกอบพิธีเซ่นศาลปะกำ จากนั้นเริ่มขบวนแห่นาคช้างไปยังวังทะลุ ประกอบด้วยขบวนศาสนา ขบวนพระมหากษัตริย์ ขบวนแห่นาคด้วยช้าง 40 เชือก พร้อมนาค 14 นาค ที่นั่งบนหลังช้างและพระสงฆ์ มีผู้ร่วมขบวนจำนวนมากแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองและการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่นชาวสุรินทร์ แห่มารวมกันที่วังทะลุ (ดอนบวช) เพื่อทำพิธีเซ่นไหว้ศาลปู่ตา ขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกวยเคารพนับถือมาตั้งแต่โบราณ ณ ศาลปู่ตาบริเวณวังทะลุ ในวันที่ 29 เมษายน 61 จะมีพิธีอุปสมบทหมู่ตามแบบชาวกวยโบราณ ที่วัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

   งานประเพณีบวชนาคช้าง ประจำปี 2561  จังหวัดสุรินทร์  โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์  สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทยสำนักงานจังหวัดสุรินทร์  องค์การบริหารส่วนตำบลกะโพ  โรงเรียนช้างบุญวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันดำเนินการ ระหว่างวันที่ 27-29  เมษายน 61  เพื่อสืบสานประเพณีที่ชาวสุรินทร์ ทั้งเขมร  ลาว  กวย  ที่นับถือศาสนาพุทธ เมื่อลูกชายอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก่อนจะมีเหย้ามีเรือน พ่อแม่ต้องจัดการให้ลูกชายบวชเพื่อศึกษาธรรมวินัยเสียก่อน ชายชาวกวยในตำบลกะโพที่อายุครบบวช จะนัดกันไปบวชที่วัดแจ้งสว่าง และก่อนวันบวช 1 วัน นาคของแต่ละหมู่บ้านจะจัดขบวนแห่ที่มีช้างร่วมขบวน โดยเชื้อกันว่า การบวชนี้ถ้าจะให้มีชื่อเสียงหรือได้บุญมากจะต้องนั่งช้างร่วมขบวนแห่ไปเป็นระยะทางไกลๆและมีผู้คนมาร่วมขบวนแห่นาคเป็นจำนวนมาก แห่มารวมกันที่บริเวณกันวังทะลุแม่น้ำชี เพื่อทำพิธีเซ่นไหว้ศาลปู่ตา ขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ พร้อมประกอบพิธี บริเวณดอนบวช ซึ่งเป็นเนินดินกลางแม่น้ำ ที่เกิดจากน้ำลำน้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูลเป็นดอนกลางแม่น้ำ  การบวชจะจัดขึ้นในช่วงระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือนหก ของทุกปี